รีเซต

ศึกชิงดวงจันทร์ปี 2567 ความสำเร็จอินเดีย-ญี่ปุ่น กดดันสหรัฐฯ?

ศึกชิงดวงจันทร์ปี 2567 ความสำเร็จอินเดีย-ญี่ปุ่น กดดันสหรัฐฯ?
TNN ช่อง16
30 มกราคม 2567 ( 17:38 )
58
ศึกชิงดวงจันทร์ปี 2567 ความสำเร็จอินเดีย-ญี่ปุ่น กดดันสหรัฐฯ?

ความล้มเหลวของสหรัฐฯ


9 ม.ค. 2567 บริษัทแอสโทรโบติก บริษัทเอกชนด้านอวกาศของสหรัฐฯ ส่ง “ยานลงจอดเพเรกริน” ออกเดินทางจากพื้นโลกด้วยจรวดนำส่ง "วัลแคน" เดินทางจากพื้นโลกอย่างสวยงาม แต่ไม่นานหลังจากแยกตัวเพเรกรินก็เจอกับปัญหา “การสูญเสียเชื้อเพลิงอย่างรุนแรง” และถูกแรงดึงดูดร่วงกลับสู่โลก ก่อนถูกทำลายทั้งหมดในชั้นบรรยากาศโลก


ตามแผน เพเรกรินมีกำหนดจะลงจอดในวันที่ 23 ก.พ. 2567 บริเวณจุด Bay of Stickiness ของดวงจันทร์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวดวงจันทร์ก่อนวางแผนภารกิจของมนุษย์ในอนาคต นับเป็นการบินครั้งแรกภายใต้โครงการขนส่งดวงจันทร์เชิงพาณิชย์ (CLPS) ของนาซา ที่นาซาออกทุนให้บริษัทเอกชนจัดส่งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ไปยังดวงจันทร์



ปาฏิหาริย์ของญี่ปุ่น


19 ม.ค. 2567 องค์การอวกาศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการนำยานสำรวจดวงจันทร์ SLIM ลงจอดบริเวณใกล้กับหลุมอุกกาบาตแถบเส้นศูนย์สูตรของดวงจันทร์ได้สำเร็จ แม้ในภายหลังจะพบว่า ยาน SLIM ลงจอดแบบผิดแผน ในลักษณะกลับหัว และเป็นปัญหาต่อระบบแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ จนต้องรอความหวังว่า เมื่อยานหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตน์อีกครั้ง มันจะคืนชีพได้


แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นในวันที่ 29 ม.ค. 2567 องค์การอวกาศญี่ปุ่นเผยภาพที่ได้รับจากยาน SLIM ที่คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง เป็นรูปถ่ายของหินที่มีรูปทรงดูคล้ายสุนัขพันธุ์พุดเดิลทอย บนผิวดวงจันทร์ ทำให้ญี่ปุ่นกลับมาเชื่อมต่อกับยานได้อีกครั้ง และยานก็จะเริ่มทำงาน ในภารกิจสำรวจดวงจันทร์ได้ตามปกติ



แผนการเดินทางของจีน


ภายในเดือน มิ.ย. 2567 องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ยืนยันว่า “ฉางเอ๋อ-6” ยานอวกาศสำรวจดวงจันทร์ของจีน มีกำหนดถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งส่วนประกอบสำหรับยานฉางเอ๋อ-6 ถูกส่งไปถึงศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชาง ในมณฑลไห่หนาน ทางตอนใต้ของจีนแล้ว เพื่อทดสอบก่อนการปล่อยยานจริง


ฉางเอ๋อ-6 คือ ภารกิจส่งตัวอย่างจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับมายังโลก ซึ่งหากสำเร็จจะทำให้มนุษย์มีตัวอย่างดวงจันทร์จากด้านไกลเป็นครั้งแรก หลังฉางเอ๋อ-5 และเก็บตัวอย่างดินจากด้านใกล้ของดวงจันทร์กลับมายังโลก 1,731 กรัมเมื่อปี 2563



ความสำเร็จของอินเดีย


23 ส.ค. 2566 คือวันที่โลกตกตะลึงกับความสำเร็จของ "จันทรายาน-3" ที่ลงจอดบนขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ นับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย โดยจันทรายาน-3 นำยานลงจอดวิกรม ส่งรถสำรวจปรัชญาณ ทำงานนาน 2 สัปดาห์ตามเวลาบนโลก ส่งภาพถ่ายบรรยากาศบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์อย่างชัดเจน และเก็บบันทึกข้อมูลแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์เอาไว้ได้ 


แม้หลังจากนั้นยานจะต้องเข้าสู่โหมดนอนหลับ (Sleep Mode) แต่ก็ถือเป็นการสำรวจที่สำคัญ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างภายในดวงจันทร์ และตอนนี้ วิกรมและปรัชญาณได้กลายเป็นเหมือนทูตประจำดวงจันทร์ของอินเดีย  



โลกรอคอยอาร์ทิมิส 2


ปี 2567 เป็นกำหนดเดิมของภารกิจอาร์เทมิส 2 ที่องค์การนาซากำหนดปล่อยตัวยานในภารกิจส่งนักบินอวกาศไปเดินทางวนรอบดวงจันทร์ แต่เพิ่งจะประกาศเลื่อนออกไปเป็นเดือนกันยายน 2568 ซึ่งก็หมายถึงเลื่อนออกไปอีก 1 ปี โดยมีเหตุผลคือเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะภารกิจอาร์ทิมิส คือ การพามนุษย์หวนคืนสู่ดวงจันทร์อีกครั้ง ไม่ใช่เพียงการส่งยานหรือ หุ่นยนต์ไปสำรวจเท่านั้น


การเลื่อนอาร์ทิมิส 2 หมายความว่า อาร์เทมิส 3 ที่จะส่งมนุษย์ไปลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ ต้องเลื่อนออกไปอีก 1 ปี ไปเป็นเดือนกันยายน 2569 เป็นความท้าทายสำคัญของนาซา ที่มนุษยชาติเฝ้ารอคอย


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง