รีเซต

สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนรับ “ชุดตรวจโควิด” ATK ฟรี จาก สปสช.

สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนรับ “ชุดตรวจโควิด” ATK ฟรี จาก สปสช.
Ingonn
20 กันยายน 2564 ( 13:59 )
306

หลังจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจกชุดตรวจ ATK ฟรี กระจาย 8.5 ล้านชิ้น ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา ตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อป้องกันโรค รู้โดยแจกคนละ 2 ชุด ห่างกัน 5 วัน ตั้งแต่เมื่อ 16 ก.ย.2564 ที่ผ่านมา ปัจจุบันแจกไปกว่า แสนชิ้นแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยถึงเงื่อนไข ช่องทาง และกลุ่มเป้าหมายการรับชุดตรวจ ATK ฟรี ว่ามีอะไรบ้าง หรือแม้กระทั่งตรวจเจอผลบวก ที่แปลว่าติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร วันนี้ TrueID ได้รวบรวมสิ่งที่ควรรู้ ก่อนรับ “ชุดตรวจโควิด” ATK ฟรี จาก สปสช. มาให้แล้ว

 


ช่องทางการแจกชุดตรวจ ATK


รูปแบบที่ 1 แจก ATK ณ ชุมชนแออัดและตลาด รวมถึง ขนส่งสาธารณะ ร้านเสริมสวย ร้านนวด สปา ครู อาจารย์
ผู้ประสานงานที่ชุมชนกำหนด หรือ อสม., อสส. ลงทะเบียนรับ ATK กับศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) กรณีอยู่ในพื้นที่ กทม. ส่วนต่างจังหวัด ผู้นำชุมชนลงทะเบียนรับ ATK กับหน่วยบริการในพื้นที่ เช่น รพ.สต. หรือ รพ.ใกล้ชุมชน 

 

รูปแบบที่ 2 แจกที่หน่วยบริการ (รพ. รพ.สต. รวมถึง คลินิก และร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ) ในพื้นที่สีแดง

 

 

 

กลุ่มเป้าหมาย รับชุดตรวจ ATK ฟรี

 

1.ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค (ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด)

 


2.ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อ (มีไข้ ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจหอบ หายใจลำบาก)

 


3.ผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ติดเชื้อโควิด

 


4.ผู้ที่ทำงานประสานงานในชุมชน 

 

 

กรณีไม่มีมือถือสมาร์ทโฟน สามารถไปขอรับได้ที่ รพ., รพ.สต. ทางเจ้าหน้าที่จะทำการคัดกรองและยืนยันตัวตนให้ 

 

กรณีไปขอรับที่คลินิกและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น

 

 


สิ่งที่ควรรู้ ก่อนรับ “ชุดตรวจโควิด” ATK ฟรี จาก สปสช. มาให้แล้ว

 

1. หากต้องการขอรับชุดตรวจ ATK ต้องทำอย่างไรบ้าง?


คำตอบ 1) ทำแบบประเมินความเสี่ยงผ่านแอพเป๋าตังก่อนหากผลมีความเสี่ยงจึงเริ่มค้นหาหน่วยบริการใกล้ฉัน

 

2) ไปรับชุดตรวจ ATK ภายในวันนั้นเนื่องจากแบบประเมนิมีอายุ 1 วัน

 

 

2. ต้องการค้นหาหน่วยบริการแจก ATK จะทำได้อย่างไร?


คำตอบ  ค้นหาหน่วยบริการโดยใช้เมนูหน่วยบริการใกล้ฉันเพื่อโทรศัพท์สอบถามชุดตรวจคงเหลือหรือการเดินทาง

 

 

3. ค้นหาหน่วยบริการได้ไกลแค่ไหน?


คำตอบ  ระยะทางการค้นหาอยู่ที่ 50 กิโลเมตร แสดงผลตามลำดับจากใกล้สุดก่อน

 

 

4. ถ้าหากไม่มีมือถือสมาร์ทโฟนต้องทำอย่างไร?


คำตอบ 1) กรณีอยู่ในชุมชนสอบถามจาก อสม. หรือ อสส.

 

2) ไปขอรับได้ที่ รพ. และ รพ.สต. ที่เข้าร่วมโครงการ  สามารถเช็ครายชื่อหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่  https://www.nhso.go.th/page/atk หรือสังเกตจากสติกเกอร์หน้าร้านที่ระบุว่าเป็นชุดแจก ATK ฟรีให้ประชาชนตรวจโควิดด้วยตนเอง

 

*หมายเหตุ หากไปขอรับแจก ATK ที่คลินิกและร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการเฉพาะผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น

 

 

5. ได้รับชุดตรวจแล้วต้องทำอย่างไร?
คำตอบ 1) นำชุดตรวจที่ได้รับกลับมาตรวจที่บ้านด้วยตนเอง


2) โดยศึกษาการใช้งานได้จากเมนูวิธีใช้ชุดตรวจและเมนูวิธีการอ่านผลตรวทก่อนเพื่อความถูกต้องในการตรวจ


3) บันทึกผลการตรวจทันทีผ่านเมนู บันทึกผลตรวจ

 

 

6. หากได้ชุดตรวจ 2 ชิ้นควรใช้อย่างไร?


คำตอบ  เนื่องจากผู้ขอรับชุดตรวจมีความเสี่ยงเมื่อกลับถึงบ้าน ควรตรวจทันที หากผลเป็นลบไม่พบเชื้อควรเว้นระยะ 5 วันเพื่อตรวจซ้ำด้วยชุดตรวจที่เหลือ แต่หากผลตรวจเป็นบวก(ติดเชื้อโควิด19) ให้บันทึกผลผ่านเมนู บันทึกผลตรวจ ทันที

 

 

7. การบันทึกผลตรวจจำเป็นหรือไม่?


คำตอบ  การบันทึกผลตรวทเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อทำการตรวจหาเชื้อแล้วควรบันทึกผลทันที และเป็นหนึ่งเงื่อนไข หากไม่บันทึกผล จะไม่สามารถรับชุดตรวจในครั้งถัดไปได้

 

 

8. การขอรับชุดตรวจเพิ่มได้อีกหรือไม่?


คำตอบ  เงื่อนไขคือได้รับครั้งละ 2 ชุดสำหรับใช้ตรวจเว้นระยะ 5 วัน เพื่อตรวจซ้ำและขอรับใหม่ได้ในวันที่ 10 ถัดจากวันที่ขอรับล่าสุด เช่น รับชุดตรวจ 1 ตุลาคม ขอรับได้อีกครั้งในวันที่ 11 ตุลาคม เป็นต้น

 

 

9. หากพบว่าติดเชื้อต้องทำอย่างไร?


คำตอบ  เมื่อกดบันทึกผลแล้ว จะมีข้อมูลแนะนำให้เลือกการลงทะเบียนดูแลที่บ้านหรือ Home isolation ของ สปสช. โดยสามารถเลือกได้ 2 แบบ คือ


1) ลงทะเบียนรักษาตัวที่พักปัจจุบัน


2) ลงทะเบียนรักษาตัวที่ภูมิลำเนา

 

*หมายเหตุ : กรณีจังหวัดที่ท่านพักอาศัยยังไม่มีการจัดบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้าน ระบบจะรวบรวมรายชื่อส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกวัน เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

 

 

10. หลังพบเชื้อสามารถขอรับชุดตรวจได้อีกหรือไม่?


คำตอบ  หลังบันทึกผลว่าพบเชื้อ จะยังไม่สามารถขอรับชุดตรวจได้ จะเว้นระยะที่ 90 วัน นับจากวันที่บันทึกผลตรวจว่าพบเชื้อจึงจะกลับมาขอรับชุดตรวจได้อีกครั้ง การเว้นระยะ 90 วันนั้น มาจากเมื่อหายจากโรคแล้วจะมีภูมิที่ค่อนข้างสูง จึงมีความเสี่ยงน้อยลงที่จะเกิดการติดเชื้อซ้ำในช่วงเวลาดังกล่าว

 

 

11. หากชุดตรวจแปลผลไม่ได้จะทำอย่างไร?


คำตอบ  ไปที่เมนูบันทึกผลตรวจ เลือกแปลผลไม่ได้ และจะยังไม่สามารถนำชุดตรวจที่ใช้แปลผลไม่ได้ไปแลกชุดใหม่ แต่สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงใหม่ เพื่อรอรับชุดตรวจเพิ่มเติมได้อีก 10 วัน ถัดจากการรับครั้งก่อน

 

 

12. วิธีการลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา?

1) ลงทะเบียนรักสาตัวที่พักปัจจุบัน (Home isolation) https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI


2) ลงทะเบียนรักสาตัวที่ภูมิลำเนา https://crmdci.nhso.go.th/


ทั้งนี้ระบบของ สปสช. จะจับคู่หน่วยบริการเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้านหลังบันทึกข้อมูลครบถ้วนสามารถเช็คผลการจับหาหน่วยบริการของท่านได้ที่ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHiSearch โดยใช้เลขประจำตัวประชาชนหรือเลขหนังสือเดินทางไทยและเบอร์โทรผู้ป่วย

 

หมายเหตุ  : กรณีจังหวัดที่ท่านพักอาศัย ยังไม่มีการจัดบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้าน ระบบจะรวบรวมรายชื่อส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกวัน เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

 

 


สอบถามเพิ่มเติมสายด่วน สปสช.  1330 กด 17  (ประชาชนสอบถามการขอรับ ATK ตรวจโควิดด้วยตนเอง)

 

 

ข้อมูลจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง