รีเซต

ขั้นตอนรับ “ชุดตรวจโควิด-19” Antigen Test Kit (ATK) ฟรี! คนละ 2 ชุด ผ่าน “เป๋าตัง”

ขั้นตอนรับ “ชุดตรวจโควิด-19” Antigen Test Kit (ATK) ฟรี! คนละ 2 ชุด ผ่าน “เป๋าตัง”
Ingonn
16 กันยายน 2564 ( 08:13 )
8.7K
2

เป็นเรื่องที่ต้องรู้ไว้เลย เมื่อทาง สปสช. จะเตรียมแจกชุดตรวจโควิด-19 แบบ Antigen Test Kit (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด หลังจากที่มีประเด็นถกเถียงกันถึงประสิทธิภาพมานาน จนล่าสุดองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้ลงนามจัดซื้อชุดตรวจโควิดแล้ว โดยจะเริ่มแจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนแออัด และประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป พื้นที่สีแดงผ่านหน่วยบริการและร้านยา

 

 


เบื้องต้นประชาชนจะได้รับชุดตรวจโควิด-19 แบบ Antigen Test Kit (ATK) คนละ 2 ชุด เว้นระยะตรวจห่างกัน 5 วันโดยการกระจายในชุมชนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีจำนวน 2,000 ชุมชน ได้กำหนดแจก ATK ชุมชนละ 1,008 ชุด รวมเป็นจำนวน 2 ล้านชุด

 

 


สำหรับชุมชน กทม. จะกระจายส่งผ่านศูนย์บริการสาธารณสุข โดยการดูแลของสำนักอนามัย กทม. ทีมแพทย์อาสาวินิจฉัย และให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ผู้นำชุมชน หรือผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้นำไปแจกในชุมชน 

 

 

 

การแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 2 รูปแบบ ดังนี้

 

รูปแบบที่ 1 แจก ATK ณ ชุมชนแออัดและตลาด


ผู้ประสานงานที่ชุมชนกำหนด หรือ อสม., อสส. ลงทะเบียนรับ ATK กับศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) กรณีอยู่ในพื้นที่ กทม. ส่วนต่างจังหวัด ผู้นำชุมชนลงทะเบียนรับ ATK กับหน่วยบริการในพื้นที่ เช่น รพ.สต. หรือ รพ.ใกล้ชุมชน
  


รูปแบบที่ 2 แจกที่หน่วยบริการ (รพ. รพ.สต. รวมถึง คลินิก และร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ)

 

ในพื้นที่สีแดง ผ่านแอปเป๋าตัง เมนู ฟรี ชุดตรวจโควิด (ระบบจะขึ้นวันที่ 16 ก.ย.64)

 

 

 

ใครได้รับชุดตรวจโควิด ATK ฟรีบ้าง

 

1.ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค (ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด)

2.ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อ (มีไข้ ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจหอบ หายใจลำบาก)

3.ผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ติดเชื้อโควิด

4.ผู้ที่ทำงานประสานงานในชุมชน

 

 

 

ขั้นตอนรับชุดตรวจ ATK ฟรี ผ่าน “เป๋าตัง”

 

1.ผู้ประสานงานที่ชุมชนกำหนดฯ แจก ATK ให้กลุ่มเป้าหมายคนละ 2 ชุด

 

 

2.ประชาชนที่ได้รับแจก ยืนยันตัวตนผ่านแอปเป๋าตัง กรณีไม่มีสมาร์ทโฟน ทางผู้ประสานงานฯ จะยืนยันตัวตนให้

 

 

3.กลับไปตรวจโควิดด้วยตนเองที่บ้าน

 

 

4.แจ้งผลตรวจให้ผู้ประสานงานฯ รับทราบ หากผลเป็นลบ แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 และตรวจซ้ำอีกครั้งห่างกันครั้งละ 5 วัน

 

 

5.หากผลเป็นบวก (ติดเชื้อโควิด-19) ผู้ประสานงานจะลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน ผู้ติดเชื้อจะได้รับการจับคู่กับหน่วยบริการใกล้บ้านเพื่อดูแลรักษาที่บ้านตามมาตรฐาน กรณีจังหวัดนั้นยังไม่มีระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน จะเข้าสู่ระบบการรักษากับหน่วยบริการต่อไป

 

 

6.กรณีมีอาการ แพทย์พิจารณาสั่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ประสานงานฯ นำไปส่งให้ผู้ติดเชื้อในชุมชน

 

 

 

ไม่มีสมาร์ทโฟน ไม่มี “เป๋าตัง” ทำตามนี้


สำหรับประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน จะมีการกระจายชุดตรวจ ATK เชิงรุกในชุมชนพื้นที่สีแดงใน กทม. ซึ่งกำหนดไว้ 2,000 ชุมชน โดยกระจายผ่านทางผู้นำชุมชน และ อสส. เพื่อกระจายให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อให้สามารถครอบคลุมการแจกจ่ายได้อย่างทั่วถึง รวมถึงเป็นการอำนวยความสะดวก และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อด้วย

 

 

กรณีที่ไม่มีมือถือสมาร์ทโฟน ให้นำบัตรประชาชนไปรับที่โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) ส่วนในพื้นที่กทม. รับที่ศูนย์บริการสาธารณสุขทางเจ้าหน้าที่จะทำการคัดกรองและยืนยันตัวตนให้ 

 

 

* กรณีไปขอรับที่คลินิกและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น 

 

 

สามารถดูคลิปวีดีโอแนะนำการใช้ชุดตรวจ ATK ตรวจโควิดด้วยตนเองได้ที่ 

 

 

ข้อมูลจาก สปสช.

 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง