รีเซต

"Stagflation" ควรลงทุนอย่างไร?

"Stagflation" ควรลงทุนอย่างไร?
ทันหุ้น
13 มิถุนายน 2565 ( 15:01 )
158
"Stagflation" ควรลงทุนอย่างไร?

#Stagflation #ทันหุ้น - บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ Stagflation เป็นประเด็นที่นักลงทุนทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจ โดย Stagflation คือ ภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตต่ำหรือติดลบ แต่มีภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเคยเกิดขึ้นในปี 1973-1983 จุดเริ่มต้นมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะงักงันเป็นระยะเวลายาวนาน และถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายอย่างในปัจจุบันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับในปี 1973-1983 แต่ประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันจะไม่ร้ายแรงเหมือนในอดีต 

 

ฝ่ายวิจัยได้ประเมินถึงผลที่จะตามมาจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน คือ 1) อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 2) ราคาสินค้าอาหารและพลังงานมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ และ 3) ค่าแรงขั้นต่ำมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น 

 

แนะนำ BLA,THREL, KBANK, BBL, BANPU, CPF, GFPT, TU และเข้าสะสมทองคำราว 10-15% ของพอร์ตการลงทุนโดยรวม แนะนำกองทุน K-GOLD-A(A)

Stagflation คืออะไร ?? ทำไม่ถึงเกิด Stagflation ในปี 1970 ??

Stagflation คือ สถานการณ์เศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตต่ำ หรือติดลบ แต่มีภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นในตอนที่เงินเฟ้อมาจาก Cost Push Inflation โดย Stagflation เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 1973-1983 จุดเริ่มต้นมาจากในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ภาระหนี้สินทั่วโลกอยู่ในระดับสูงจากนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

 

ต่อมาในปี 1973 กลุ่มประเทศอาหรับผู้ส่งออกน้ำมันมีมติคว่าบาตรเพื่อยุติการซื้อขายน้ำมันดิบกับสหรัฐฯ, แคนาดา, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนอิสราเอล ในสงคราม อียิปต์+ซีเรีย VS อิสราเอล ส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯในปี 1973 ขึ้นมาอยู่ที่ 10.3% และทรงตัวอยู่ในระดับสูงจนเกิด Global Recession ในปี 1982 โดยเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 1973-1983 อยู่ที่ระดับ 11.3% เทียบกับค่าเฉลี่ยปี 1962-1972 ที่ระดับ 3.6% ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกและสหรัฐฯตกต่ำ ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการเกิด Recession 3 ครั้งใน 10 ปี

 

สิ่งที่เหมือน // สิ่งที่ต่าง ระหว่างปี 1973-1983 เทียบกับปัจจุบัน

ในปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกมีหลายปัจจัยที่คล้ายกับปี 1973-1983 ได้แก่ 1) ราคาอาหารและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 2) อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง สะท้อนจากการปรับประมาณการ GDP โลกลงจากหลายหน่วยงาน และ 3) ความอ่อนแอของเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนา โดยเฉพาะภาระหนี้สินที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ / GDP ที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ค่าเงินของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากการดาเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่

 

อย่างไรก็ดี ฝ่ายวิจัยประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันจะไม่รุนแรงเหมือนปี 1973-1983 เนื่องจาก 1) ธนาคารกลางประเทศต่างๆให้ความสาคัญต่อเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น และเปลี่ยนมุมมองต่อ Phillips Curve (เงินเฟ้อสูงจะทาให้มีการจ้างงานมากขึ้น) โดยหันมากาหนดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายแทนที่จะผูกอัตราเงินเฟ้อเข้ากับอัตราการว่างงาน 2) อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันยังคงกระจุกตัวในราคาอาหารและพลังงานเป็นหลัก ขณะที่ในปี 1973-1983 อัตราเงินเฟ้อมีการกระจายไปในหลายกลุ่มสินค้าและบริการ 3) เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตในสินค้าบางชนิดมาชดเชยการขาดแคลนได้ง่ายกว่าในอดีต

ประยุกต์เข้ากับการลงทุนในปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง ??

จากสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ฝ่ายวิจัยประเมินว่าสิ่งที่ตามมาจะมีดังต่อไปนี้ 1) อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นบวกต่อกลุ่ม ประกัน และธนาคาร 2) แนวโน้มราคา Commodities มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ โดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตร เป็นบวกต่อพลังงานต้นน้ำและผู้ผลิตอาหาร และ 3) ค่าแรงขั้นต่ำมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นเป็นลบต่ออุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานจานวนมาก

 

ดังนั้นประเมินว่าหุ้นที่จะ Outperformed ในสถานการณ์ปัจจุบันได้แก่ BLA, THREL, KBANK, BBL, BANPU, CPF, GFPT, TU ขณะที่ทองคำเริ่มมีความน่าสนใจในการเข้าสะสมมากขึ้น เนื่องจากประเมินว่านักลงทุนจะเริ่มมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงสูงขึ้น แนะนำให้นักลงทุนเข้าสะสมทองคำในระดับ 10-15% ของพอร์ตการลงทุนเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุน แนะนา K-GOLD-A(A)

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง