รีเซต

ครบ 50 ปี ‘นิกสัน’ พบ ‘เหมา เจ๋อตุง’ สัมพันธ์ ‘สหรัฐฯ-จีน’ ไปในทิศทางใด?

ครบ 50 ปี ‘นิกสัน’ พบ ‘เหมา เจ๋อตุง’ สัมพันธ์ ‘สหรัฐฯ-จีน’ ไปในทิศทางใด?
TNN ช่อง16
20 กุมภาพันธ์ 2565 ( 17:12 )
81

สำนักข่าว SCMP รายงานข้อมูลในโอกาสครบ 50 ปี ที่สหรัฐฯ เริ่มสานสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เป็นไปตามเป้าหมายที่อดีตประธานาธิบดีนิกสันวางไว้หรือไม่?


---เปิดทางสู่การเชื่อมสัมพันธ์สหรัฐ-จีน---


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ มีการเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่ครั้งที่ส่งผลต่อสมดุลอำนาจโลก หนึ่งในนั้น คือ การเยือนจีนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี 1972 ของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน แห่งสหรัฐฯ 


การเดินทางของสหรัฐฯ สู่การเชื่อมสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่บนพื้นฐานของการคำนวณทางภูมิศาสตร์การเมืองแบบใหม่ ซึ่งท้าทายสหรัฐฯ 


มันจะเป็นโลกที่ปลอดภัยและดีกว่านี้ หากเรามีสหรัฐฯยุโรปสหภาพโซเวียตจีน และญี่ปุ่น ที่แข็งแรง ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็สร้างสมดุลให้กันและกัน” ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Time เมื่อปี 1972 โดยพูดถึงการเดินทางเยือนจีน


ความคิดเห็นดังกล่าว เป็นสัญญาณถึงการก้าวออกจากแนวคิดที่ครอบงำนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ นั่นคือ ทฤษฎีโดมิโน ซึ่งระบุว่า หากประเทศหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศใกล้เคียงก็จะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย 


ตามทฤษฎีดังกล่าว สหรัฐฯ ได้ลงนามในสนธิสัญญาหลายฉบับ รวมถึงสนธิสัญญาแอนซัส (ANZUS) กับนิวซีแลนด์และออสเตรเลียในปี 1951 และสนธิสัญญาความมั่นคงสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น ในอีกหนึ่งปีให้หลัง


การยึดมั่นในทฤษฎีนี้ จึงได้เห็นลัทธิคอมมิวนิสต์เคลื่อนขบวนจากสหภาพโซเวียต ไปยังจีน และเวียดนาม ซึ่งนำสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามกลางเมืองในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำให้ประธานาธิบดีนิกสันต้องปรับเปลี่ยนบทบาทอีกครั้ง


---สหรัฐฯ สานสัมพันธ์จีน หวังยับยั้งรัสเซีย---


ท่ามกลางความวุ่นวายทางสังคมในประเทศ และหมดหวังที่จะหาทางออกจากความขัดแย้งเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบของทฤษฎีโดมิโน ซึ่งจะยุติการขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ ในเอเชีย นิกสันรู้ว่า ความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่ อาจเป็นหลักประกันใหม่ได้ 


นิกสันมองว่า การเชื่อมสัมพันธ์ทางการทูตกับประธานเหมา อาจทำให้สหรัฐฯ มีอิทธิพลเหนืออดีตสหภาพโซเวียต (รัสเซียและทำลายทางตันทางภูมิรัฐศาสตร์กับรัสเซีย ที่ทำให้สหรัฐฯ ผิดหวังมากว่าสองทศวรรษ


นิกสันต้องใช้เวลาในการทำงานร่วมกับเฮนรี คิสซิงเจอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และคนอื่น  ในกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย เพื่อให้ได้บทสรุปในประเด็นดังกล่าว 


เขาต้องละทิ้งภูมิปัญญานโยบายต่างประเทศซึ่งมีอคติกับจีนมากไป ทัศนคตนี้ทำให้การเจรจากับปักกิ่งถูกมองว่า เป็นเพียงการเพิ่มปัญหาให้รุนแรงขึ้นเท่านั้น


ความแตกแยกระหว่างจีนและสหรัฐฯ นั้นบาดลึก จนนักการทูตอเมริกันพยายามแจ้งให้คู่หูชาวจีนทราบถึงความตั้งใจของนิกสันในการเปิดโต๊ะเจรจา กลางงานแฟชันโชว์ Yugoslav ในกรุงวอร์ซอ เมื่อปลายปี 1969 ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่น่าอึดอัดใจและล้มเหลว 


เราเป็นศัตรูกันนานกว่า 22 ปี ชาวอเมริกันต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรงและฝักใฝ่ไต้หวัน” วินสตัน ลอร์ด ผู้ช่วยด้านความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวร่วมกับคิสซิงเจอร์ ซึ่งได้รับมอบหมายให้สร้างโอกาสสำหรับการประชุมระดับสูงระหว่างสหรัฐฯ-จีน


หลาย  คนรู้สึกว่า ชาวจีนมีความสุดโต่งมากกว่าโซเวียต ซึ่งก็เป็นประเด็นอ่อนไหวสำหรับฝ่ายจีนเช่นกัน


---สัมพันธ์ที่พลิกผันของสามชาติมหาอำนาจ---


รัสเซียต้องใช้ทหารจำนวนมาก วางกำลังตลอดแนวพรมแดนของจีน โดยเริ่มตั้งแต่ต้นปี 1969 เพื่อเสริมกำแพงที่ผู้กำหนดนโยบายของทั้งสองฝ่าย สร้างขึ้นหลังจากเหมาประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1946


หลังการปะทะบริเวณชายแดนจีน-โซเวียตเริ่มขึ้น คิสซิงเจอร์ลังเลที่จะมีส่วนร่วมทางการทูตกับจีน เนื่องจากสัมพันธ์สหรัฐฯ-โซเวียตเริ่มผ่อนคลาย และเป็นโอกาสสำหรับการเจรจาเพื่อจำกัดอาวุธเชิงยุทธศาสตร์ (SALT I) แต่เขาค่อย  เอนเอียงไปทางการถ่วงดุลการรุกรานของสหภาพโซเวียต ผ่านการทูตกับจีน


ดังที่คิสซิงเจอร์ระบุไว้ในหนังสือของตัวเอง การศึกษาข่าวกรองโดยละเอียดเกี่ยวกับ “การก่อตัวของโซเวียตอย่างไม่หยุดยั้ง ตลอดแนวพรมแดนจีน 6,440 กิโลเมตร” พิสูจน์ให้เห็นว่า ลักษณะการปะทะบริเวณชายแดนมอสโก ผ่านการบรรยายสรุปหลายครั้งที่โซเวียตส่งนักการทูตไปยังสหรัฐฯ นั้น บิดเบือนสถานการณ์


คิสซิงเจอร์กล่าวว่า “เมื่อหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ เริ่มแข็งแกร่งขึ้น จึงรู้ว่าการปะทะมักเกิดขึ้นใกล้ฐานทัพหลักของสหภาพโซเวียต และห่างไกลจากศูนย์การสื่อสารของจีน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ชี้ว่า โซเวียตเป็นผู้รุกราน


 เวลานั้น สหรัฐฯ ได้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับรัสเซีย ด้านจีนที่รู้สึกว่า โดนดูหมิ่นและถูกทอดทิ้งจากพันธมิตรในสมัยก่อน ความขุ่นเคืองดังกล่าวกระตุ้นให้เหมาต่อต้านสิ่งที่เขามองว่าเป็นการบุกรุกของสหภาพโซเวียต และอาจนำไปสู่การโจมตีด้วยนิวเคลียร์ในท้ายที่สุด ซึ่งคลังแสงนิวเคลียร์ที่เพิ่งตั้งขึ้นของจีนยังไม่พร้อมที่จะยับยั้งสงครามนิวเคลียร์


---อเมริกามุ่งสู่จีนผ่านทางปากีสถาน---


ในตอนนั้น เหมา เจ๋อตุง มองว่าสหภาพโซเวียตเป็นภัยคุกคามร้ายแรงและเป็นลัทธิจักรวรรดินิยม” ฉือ หยินหง ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเหรินหมิน กล่าว 


เมื่อตัดสินใจถอนตัวจากสงครามเวียดนาม หากสหรัฐฯ ไม่คลายความตึงเครียดกับปักกิ่ง จีนจะสามารถเติมเต็มช่องว่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีอำนาจเหนือภูมิภาคแห่งนี้


หลังสหรัฐฯ ล้มเหลวในการเข้าถึงคู่ค้าชาวจีนผ่านบุคคลที่สาม ในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และโรมาเนีย จึงเกิดเส้นทางสู่ยุคใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ผ่านปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับทั้งสองประเทศ และมีส่วนร่วมกับรัสเซียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


ข้อความที่อัคฮา ฮิลาลี เอกอัครราชทูตปากีสถานประจำกรุงวอชิงตันส่งถึงคิสซิงเจอร์ ในเดือนธันวาคม 1969 คือ “เราประเมินว่า ชาวจีนยินดีที่จะเริ่มการเจรจาอีกครั้ง ในระดับเอกอัครราชทูตโดยไม่ยึดติดกับเงื่อนไขเบื้องต้น


การมีส่วนร่วมเริ่มลงตัวและกินเวลาแรมปี จนกระทั่งมีการตัดสินใจว่า คณะผู้แทนจากสหรัฐฯ จะต้องเดินทางไปจีน เพื่อหาวิธีเอาชนะความกังวลเร่งด่วนที่สุดของจีน นั่นคือ ไต้หวัน


ดังที่ วินสตัน ลอร์ด อธิบายไว้ในประวัติศาสตร์คำบอกเล่าที่ตีพิมพ์ในปี 2003 “แรกเริ่มจีน ‘ให้สหรัฐฯ ส่งคนมายังจีนแผ่นดินใหญ่ และต้องแก้ปัญหาในไต้หวันก่อน จีนถึงจะเริ่มดำเนินการขั้นต่อไป’ ”


---“ไต้หวัน” กุญแจสำคัญของสหรัฐฯ---


คิสซิงเจอร์และลอร์ดเดินทางลับ  ไปยังปักกิ่งในปี 1971 และในที่สุดก็เกิดแถลงการณ์ร่วมจีน-สหรัฐฯ หรือ Shanghai Communique เอกสารดังกล่าวซึ่งลงนามในขณะที่นิกสันอยู่ในปักกิ่ง ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ต่าง  ที่จะช่วยเปลี่ยนประเทศที่ยากจนและวุ่นวายของเหมา ให้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ


โรเบิร์ต เดลี ผู้อำนวยการสถาบันคิสซิงเจอร์แห่งประเทศจีนและสหรัฐฯ ที่ศูนย์วิลสัน หน่วยงานด้านความคิดของวอชิงตัน กล่าวว่า แถลงการณ์ ซึ่งรับทราบจุดยืนของแต่ละฝ่ายเกี่ยวกับสถานะของไต้หวัน เป็น “กุญแจที่ไขทางตัน


ข้อตกลงดังกล่าว ได้กำหนด “นโยบายจีนเดียว” โดยมุ่งมั่นให้สหรัฐฯ ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักการ “จีนเดียว” และไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ซึ่งลงนามโดยนิกสันและเผยแพร่ไปทั่วโลก จีนจะมีความได้เปรียบ เมื่อสหรัฐฯ ละทิ้งนโยบายจีนเดียว


การเปลี่ยนทางการทูตอย่างเป็นทางการ ใช้เวลานานกว่า 7 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ จากสิ่งที่ลอร์ดเรียกว่า “ข้อจำกัดทางการเมืองภายในประเทศ” ของทั้งสองฝ่าย ความมุ่งมั่นดังกล่าวได้ถูกอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้ความตึงเครียดทวิภาคีกลายเป็นการกระทำที่เป็นปรปักษ์ และช่วยให้จีน-สหรัฐฯ ละทิ้งแนวคิดที่ขัดแย้งกัน


---รักษาสมดุลการทูตระหว่างชาติ---


เราไม่ได้พยายามแสร้งทำเป็นว่า รัฐบาลทั้งสองประเทศไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมันมีอยู่จริง แถลงการณ์นี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการแสดงความแตกต่างอย่างตรงไปตรงมา แทนที่จะพยายามปิดบังข้อมูลทางการทูต” ตามที่นิกสันอธิบายไว้ในเอกสารถาวร 


เหริน เสี่ยว ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายต่างประเทศของจีน มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น เรียกแถลงการณ์นี้ว่า “เอกสารที่แปลกประหลาดมาก” เพราะเน้นย้ำนโยบาย อุดมการณ์ และจุดยืนที่แตกต่างกัน


เราไม่เคยเห็นเอกสารร่วมกันระหว่างประเทศใรูปแบบนี้” เขากล่าว “โดยปกติ เอกสารจะระบุสิ่งที่ตกลงร่วมกัน แทนที่จะเป็นสิ่งที่ไม่ได้ตกลงกันไว้


เมื่อทั้งสองชาติเห็นด้วยกับข้อตกลงนี้ ความสัมพันธ์ทวิภาคีครั้งใหม่ก็เริ่มเฟื่องฟู นำไปสู่การเจรจาร่วมกันอีก 2 ครั้ง รวมถึงการจัดตั้งการรับรองทางการฑูตอย่างเป็นทางการ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว หลังได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง 


ความเข้าใจนี้ รอดพ้นจากโจมตีของชาวไต้หวันในสหรัฐฯ หลังสหรัฐฯ ผ่านพระราชบัญญัติความสัมพันธ์ไต้หวันปี 1979 ซึ่งอนุญาตให้รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนความสามารถในการป้องกันของเกาะแห่งนี้


---เดินเกมต้านอำนาจจีนแผ่นดินใหญ่---


50 ปีหลังการพบปะของนิกสันและเหมา ผู้นำสหรัฐฯ 2 คน คือ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำคนก่อน ต่างสนับสนุนการติดต่อกับไต้หวัน จนกระตุ้นให้จีนส่งเครื่องบินขับไล่เข้าไปในเขตป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวัน และเตือนว่า ปัญหาดังกล่าวอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางทหาร


เดวิด ไฟร์สไตน์ ประธานมูลนิธิจอร์จ เอชดับเบิลยูบุช เพื่อความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน กล่าวว่า “คำถามที่แถลงการณ์ร่วมจีน-สหรัฐฯ ปี 1972 ไม่เคยพูดถึง คือ ฝ่ายใดถูกต้องและไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนจริงหรือ” 


ไฟร์สไตน์กล่าวว่า ตราบใดที่สหรัฐฯ ยังคงมีสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงปักกิ่ง และหลีกเลี่ยงการรับรองทางการทูตของไต้หวันอย่างเป็นทางการ สหรัฐฯ ก็สามารถตีความนโยบายจีนเดียว “ตามที่เห็นสมควร” ได้


เป็นหน้าที่ของจีนที่จะตัดสินว่า ชอบวิธีที่สหรัฐฯ จัดการกับไต้หวันหรือไม่ และจีนก็สามารถตอบโต้ตามที่เห็นสมควร” เขา กล่าวเสริม 


แต่หากสภาคองเกรสสหรัฐฯ เห็นสมควรที่จะผ่านพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวไต้หวัน หรือฝ่ายบริหารเห็นสมควรที่จะขายอาวุธให้ไต้หวัน ย่อมเป็นสิทธิ์ของสหรัฐฯ ที่จะทำเช่นนั้นเช่นกัน


---สายสัมพันธ์ “สีหม่น”---


ส่วนในประเด็นสิทธิมนุษยชน ฝ่ายบริหารของทรัมป์และไบเดนได้คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวซินเจียงอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่น ประเด็นพิพาททะเลจีนใต้ รวมถึงนโยบายสั่งจำคุกผู้ไม่เห็นด้วยและปราบปรามการต่อต้านทางการเมืองในฮ่องกง


ทั้งสองฝ่ายติดอยู่ในวัฏจักรการต่อต้านซึ่งกันและกัน นำไปสู่สิ่งที่คิสซิงเจอร์ เรียกว่า “เชิงเขาแห่งสงครามเย็น” ในปี 2019


จีนไม่สนใจเสียงเรียกร้องของนานาชาติในประเด็นฮ่องกง กลับย้ำความคิดเห็นของตนว่าปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษปี 1984 จะไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป 


อย่างไรก็ตาม แทนที่จะผลักดันให้มีการเจรจาทางการทหารระดับสูงกับจีน ทรัมป์และไบเดนกลับพยายามสร้างพันธมิตรต่อต้านจีน ซึ่งรวมถึง Quad และ Aukus คล้ายกับการก่อตั้ง Anzus และสนธิสัญญาความมั่นคงอื่น  ในช่วงทศวรรษ 1950


โรเบิร์ต ดาลี กล่าวว่า การประเมินของคิสซิงเจอร์เพิ่งผ่านมาสองปี ทั้งสองฝ่ายอยู่ “ครึ่งทางก่อนถึงจุดสูงสุด” ของภูเขาสงครามเย็น 


---เกมกุมอำนาจสหรัฐฯ-จีน-รัสเซีย---


ความสัมพันธ์ระหว่างจีน รัสเซีย และสหรัฐฯ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้กลับกันกับครั้งที่แล้ว


รัสเซียวางกำลังทหารบริเวณชายแดนยูเครน ทำให้เกิดคำเตือนอย่างร้ายแรงจากไบเดน ซึ่งในเดือนนี้สหรัฐฯ ส่งทหารไปยังยุโรปตะวันออก เพื่อสนับสนุนนาโต ส่วนจีนส่งสัญญาณสนับสนุนประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในการลงคะแนนเสียงของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 


ปูติน และสี จิ้นผิง ได้กล่าวเพิ่มเติมในการประชุมระหว่างโอลิมปิกฤดูหนาวในกรุงปักกิ่ง โดยทั้งสองฝ่ายใช้การประชุม ส่งสัญญาณถึงความพยายามประสานงานเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ


ทั้งนี้ ความเป็นปรปักษ์กำหนดเกือบทุกแง่มุมของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุด อย่างบริษัท Boeing ผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยาน สัญชาติอเมริกัน และเกษตรกรที่พึ่งพาผู้ซื้อถั่วเหลืองและเนื้อวัวจากจีน จึงดูเหมือนเป็นความหวังเดียวที่จะทำให้สัมพันธ์กลับสู่เส้นทางที่นิกสันตั้งไว้


แม้ช่วง 4 ปีในสงครามการค้า เรายังมีการค้าแบบสองทาง มูลค่ากว่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ทางการค้าแบบทวิภาคีที่ใหญ่ที่สุดและเป็นผลสืบเนื่องมากที่สุดในโลก ผมคิดว่ามันจะยังยืนยาวต่อไป” ไฟร์สไตน์ กล่าว


เราอยู่ในช่วงเวลาของการพิจารณาระดับชาติว่า ความสัมพันธ์ทวิภาคีที่สืบเนื่องมากที่สุดในโลก จะไปในทิศทางไหน” เขา กล่าว “เราไม่สามารถเปลี่ยนจีนให้เป็นไปตามเจตจำนงของสหรัฐฯ ได้ ซึ่งอาจทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากรู้สึกผิดหวัง


แต่นั่นคือความจริง และเป็นสิ่งที่ผู้คนเริ่มเข้าใจมากขึ้น” ไฟร์สไตน์ กล่าว

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: XINHUA / AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง