รีเซต

ปรากฎการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม” ภัยคุกคามทะเลไทย

ปรากฎการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม”   ภัยคุกคามทะเลไทย
TNN ช่อง16
12 กันยายน 2566 ( 17:07 )
169
ปรากฎการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม”   ภัยคุกคามทะเลไทย

ปรากฎการณ์ แพลงก์ตอนบลูม ปีนี้เกิดขึ้นถี่และรุนแรง สัปดาห์ที่ผ่านมา พบปลานานาชนิดตายเกลื่อนหาดบางแสน มีข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชี้เป็นสัญญานอันตรายเริ่มคุกคามระบบนิเวศทะเลไทย



เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์ แพลงก์ตอนบลูม ที่ทำให้น้ำทะเลบางแสน ชลบุรี กลายเป็นสีเขียว รวมถึงเกิดตามชายหาดหลายแห่งบริเวณชายฝั่งจังหวัดชลบุรี นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลระบุตรงกันว่า อาจไม่ใช่แค่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ  เนื่องจากในช่วงหลังมานี้ เกิดบ่อยครั้งขึ้นแรงรุนแรงขึ้นเรื่อย แม้ปรากฎการณ์นี้จะไม่เป็นอันตรายยังคงสามารถกินอาหารทะเลได้ แต่มันคือสัญญาณจากธรรมชาติที่ชี้ว่าโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง และกำลังจะเป็นภัยคุมคามต่อระบบนิเวศทางทะเลและส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปสู่มนุษย์หรือไม่ 



โดยปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือ แพลงก์ตอนบลูม เกิดมาจากหลายปัจจัย  แต่ปัจจัยที่สำคัญคือ 

1.การเพิ่มปริมาณสารอาหารลงทะเลบริเวณชายฝั่ง เมื่อมีสารอาหารปริมาณมาก แพลงก์ตอนก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีจำนวนมหาศาลจนกลายเป็นสีเขียว


2.จากกิจกรรมของมนุษย์  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สารอาหาร หรือ ธาตุอาหารชะล้างลงทะเลในช่วงฤดูฝน ทำให้แพลงก์พืชขยายพันธุ์ โดยสารอาหารที่ถูกชะล้างลงทะเล จะมีทั้งจากน้ำทิ้งในชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม เป็นต้น


3.สภาพอากาศ การไหลของกระแสน้ำ สภาพอากาศ เช่น พายุ หรือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เกิดแพลงก์ตอนบลูม เพราะช่วยปั่นกระแสน้ำและน้ำสารอาหารขึ้นมาสู่ผิวน้ำ


นอกจากนี้ยังมี แสงแดดจัด เพราะแพลงก์ตอนต้องการแสงแดดสังเคราะห์แสง  และอากาศร้อน 

เนื่องจากแพลงก์ตอนชอบอากาศที่อบอุ่นมากกว่าอากาศเย็น จึงพบปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมในเดือนที่มีอากาศร้อน



สำหรับ ผลกระทบจากแพลงก์ตอนบลูม

- ผลเสียต่อระบบนิเวศ สัตว์น้ำ 

แม้การเกิดขึ้นอย่างมหาศาลของแพลงก์ตอนบลูมจะไม่มีพิษ ยังคงกินอาหารทะเลได้ตามปกติ แต่จะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศ เนื่องจากออกซิเจนจะลดลง ทำลายระบบนิเวศใต้ท้องทะเล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สัตว์น้ำตายลอยเกลือนชายหาดบางแสน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจานี้ยังส่งผลต่อการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงอีกด้วย


-ผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์

สารพิษที่ออกมาจากแพลงก์ตอนบลูม อาจทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้น้ำ สัมผัสน้ำ เกิดผื่นคันที่ผิวหนัง เกิดปัญหาทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร



การที่เกิดแพลงก์ตอนบลูมถี่ขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็ชี้ได้ว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลกำลังเพิ่มขึ้นและสภาพอากาศกำลังปั่นป่วนจากภาวะโลกร้อน การเกิดแพลงก์ตอนบลูมก็ชี้ได้ว่าธรรมชาติกำลังเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาคการเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์


โดยมีข้อมูลจาก ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า จากการวิเคราะห์ร่วมกัน ระหว่างคณะประมง ม.เกษตรฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)  พบจะบอกได้ว่าน้ำเขียวแถวบางแสน ศรีราชา จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม หมายความว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิการยน น้ำจะดีขึ้น และดีต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคมในปีต่อไป สอดคล้องกับ ลมมรสุมที่พัดน้ำเขียวมาสู่ชายฝั่ง 



และจากปรากฎการณ์เอลนีโญ รวมถึงภาวะโลกร้อน เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมถี่ขึ้น

และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามรุนแรงทั้งต่อ การประมง การเพาะเลี้ยง และการท่องเที่ยวอีกด้วย


ข้อมูลจาก อาจารย์ ธรณ์ ยังออกด้วยว่า ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ตามแนวชายฝั่งแถวจังหวัดชบบุรี ก็ยังคงมีลมมรสุมค่อนข้างแรง จึงยังคงมีน้ำทะเลเขียนจากแพลงก์ตอนบลูมต่อเนื่อง และสถานการณ์เช่นนี้จะเป็นไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม จากนั้นก็จะเป็นช่วงที่ทะเลบางแสน น้ำจะใส สามารถลงเล่นน้ำได้




เรียบเรียงโดย

มัชรี ศรีหาวงศ์


ภาพ

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์


ผู้สื่อข่าว ภูมิภาค จ.ชลบุรี


ข่าวที่เกี่ยวข้อง