รีเซต

เปิดสาเหตุ ทำไม "เงินเยียวยาประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ถึงไม่เข้าพร้อมเพย์

เปิดสาเหตุ ทำไม "เงินเยียวยาประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ถึงไม่เข้าพร้อมเพย์
Ingonn
6 สิงหาคม 2564 ( 09:09 )
8.5K
เปิดสาเหตุ ทำไม "เงินเยียวยาประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ถึงไม่เข้าพร้อมเพย์

 

ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานเริ่มโอนเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วแต่กลับมีเสียงส่วนหนึ่งไม่ได้รับเงินเยียวยาเหมือนคนอื่นๆ ทำให้มีการตั้งคำถามว่าทำไมยังไม่ได้ หรือทำไม่ต้องได้ช้ากว่า คนอื่น วันนี้ TrueID สรุปสาเหตุทั้งหมดมาให้แล้ว

 

กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม จะเริ่มโอนเงินเยียวยาเข้าพร้อมเพย์ หมายเลขบัตรประชาชนให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) ใน 9 กลุ่มกิจการ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ พื้นที่สีแดงเข้ม จำนวน 10 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 4-6 สิงหาคม จากนั้นจะเริ่มโอนให้อีก 3 จังหวัดที่เพิ่มเติมภายในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ 

 

 

 

เปิดสาเหตุที่ทำไมไม่ได้รับเงินเยียวยา

 

 

สาเหตุที่ 1 ผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยาต้องอยู่ในพื้นที่ ดังต่อไปนี้


กรุงเทพมหานครนครปฐม นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ส่วนจังหวัดที่เพิ่มเติมมา คือ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี และฉะเชิงเทรา

 

 

ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานจะโอนเงิน โดยเรียงตามลำดับหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก โดยเรียงตามหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และโอนได้วันละ 1 ล้านรายเท่านั้น ดังนี้  

 

 

วันที่ 4 ส.ค.2564


โอนเงินเข้าเลขบัตรประจำตัวประชาชน 1 0242 00112 97 1- 1 6204 00023 50 7 โอนเงิน 1 ล้านบัญชี จำนวน 2,500 ล้านบาท

 


วันที่ 5 ส.ค.2564


โอนเงินเข้าเลขบัตรประจำตัวประชาชน 1 6204 00023 96 5-3 4607 00773 03 8 โอนเงิน 1 ล้านบัญชี จำนวน 2,500 ล้านบาท

 


วันที่ 6 ส.ค.64


โอนเงินเข้าเลขบัตรประจำตัวประชาชน 3 4607 00774 41 7- 8 9609 00002 24 4 โอนเงินบัญชีที่เหลือทั้งหมด 

 


วันที่ 9 ส.ค.64


โอนเงินให้ผู้ประกันตน สำหรับ 3 จังหวัด ใน 9 สาขากิจการ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา

 

 

ดังนั้น ผู้ที่เช็กบัญชีธนาคารแล้ว แต่พบว่ายังไม่ได้เงินเยียวยา แนะนำให้รอถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ก่อนเพื่อดูว่าเงินเข้าบัญชียกเว้นผู้ประกันตนของนายจ้างที่สำนักเงินสมทบแจ้งให้ส่งรายชื่อว่า ไม่มีการแจ้งสาขา และนายจ้างที่มีรหัสประเภทกิจการมากกว่า 1 รหัสที่ไม่ได้อยู่ใน 9 รหัส และผู้ที่ตรวจสิทธิ์แล้วได้จะโอนตามเลขที่บัตรประชาชน

 

 


สาเหตุที่ 2 ผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยาต้องอยู่ใน 9 กลุ่มกิจการ ดังต่อไปนี้

 

1.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ได้แก่


โรงแรม, รีสอร์ท, เกสต์เฮ้าส์, ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท, การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร, การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด, การบริการด้านการจัดเลี้ยง, การบริการด้านเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน

 

 

2.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ได้แก่


การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทาง ระหว่างกรุงเทพกับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด, การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง, การขนส่งสินค้าแช่เย็น หรือแช่แข็งทางถนน, การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน

 

 

3.การขายส่งและการขายปลีกการซ่อมยานยนต์ ได้แก่


ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, การขายปลีกสินค้าทั่วไป

 

 

4.กิจกรรมการบริหารและการสนับสนุน ได้แก่


ธุรกิจจัดนำเที่ยว, กิจกรรมของมัคคุเทศก์, กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย, การบริการทำความสะอาด, การจัดการประชุม และการจัดแสดงสินค้า (event)

 

 

5.กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่


กิจกรรมของบริษัทโฆษณา, กิจกรรมออกแบบและตกแต่งภายใน, การตรวจสอบบัญชี, การให้คำปรึกษาด้านภาษี

 

 

6.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ได้แก่


กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์, กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์, กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

 

 

7.การก่อสร้าง ได้แก่


การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย, การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์, การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ำ

 

 

8.กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ ได้แก่


กิจกรรมสปา, กิจกรรมการแต่งผม, กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า, กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

 

 

9.ศิลปะความบันเทิงและสันทนาการ ได้แก่


การดำเนินงานของสถานที่ออกกำลังกาย, กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา, กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค, กิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ

 

 


สาเหตุที่ 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา จากการเช็กผ่าน www.sso.go.th


ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถเข้าตรวจสอบสิทธิ ได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th ด้วยการกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ส่วนนายจ้างให้กรอกเลขบัญชีนายจ้าง 10 หลัก และเลขลำดับที่สาขา 6 หลัก เพื่อตรวจสอบสิทธิ

 


ขั้นตอนการเช็กสิทธิ ม.33


1.เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th

 


2.คลิกข้อความ “ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนมาตรา 33)”

 


3.เข้าสู่หน้า ตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 กรอกเลขบัตรประชาชนและกรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ

 

ข้อความยืนยันสิทธิ

 

ข้อความ “ได้รับสิทธิ”

ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ

 


ขอให้ท่านดำเนินการ เปิดใช้พร้อมเพย์กับบัญชีธนาคารที่ผูกกับเลขที่บัตรประชาชนให้เรียบร้อย สปส.จะโอนเงินให้ท่านผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขที่บัตรประชาชนเท่านั้น

 

 

ขึ้นข้อความ “ไม่ได้รับสิทธิ”

ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 10 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ

 

 


สาเหตุที่ 4 ไม่ได้สมัครพร้อมเพย์


ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง ที่ประกอบอาชีพใน 9 กลุ่มกิจการ และอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ จะต้องสมัครพร้อมเพย์ด้วยเลขบัญชีบัตรประชาชนเท่านั้น เนื่องจากทางประกันสังคมจะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ที่มีการผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชนแล้ว เพื่อความถูกต้อง

 

หากใครไม่ได้สมัครไว้ ทางกระทรวงแรงงาน ประกันสังคมจะโอนเงินไม่ได้ และยอดเงินจะถูกเด้งกลับ 

 

 

 

ช่องทางติดต่อประกันสังคม


หากทำตามสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น แต่ยังไม่สามารถรับเงินเยียวยาได้ ให้ติดต่อประกันสังคมได้ตามช่องทางนี้


1.เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th


2.อีเมล์ Info@sso1506.com


3.Live Chat


4.โทร 1506 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง


6.Facebook สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

 

 

 


ขั้นตอนการจ่ายเงิน


1.ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ที่มีการผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชนแล้ว


2.นายจ้าง ที่เป็นบุคคลธรรมดา จะได้รับผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ที่มีการผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชนแล้ว


3.นายจ้าง ที่เป็น "นิติบุคคล" สำนักงานประกันสังคม จะโอนเงินเข้าบัญชีตามที่แจ้งไว้

 

 

 

สรุป


ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง ที่ประกอบอาชีพใน 9 กลุ่มกิจการ และอยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัดแรกที่ประกาศ "ล็อกดาวน์" เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จะได้รับเงินเยียวยา โดยลูกจ้างสัญชาติไทยได้รับเยียวยา 2,500 บาท นายจ้างได้รับตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท แต่ไม่กิน 200 หัว สำหรับลูกจ้าง ม.33 เงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น ส่วนนายจ้างเข้าบัญชีพร้อมเพย์ หรือ บัญชีนิติบุคคล

 

 

 


ข้อมูลจาก ประกันสังคม

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง