นายจ้าง-ลูกจ้าง เช็ก! รัฐเยียวยาเงินเท่าไหร่? หลังประกาศ 'กึ่งล็อกดาวน์' ธุรกิจก่อสร้าง-ร้านอาหาร
นายจ้าง และลูกจ้าง ที่ได่รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เมื่อรัฐออกประกาศ "กึ่งล็อกดาวน์" ให้ปิดแคมป์ก่อนสร้างในทุกเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 30 วัน และงดเคลื่อนย้ายแรงงาน ห้ามนั่งกินอาหาร - เครื่องดื่มในร้าน แต่ให้รับกลับบ้านเท่านั้น เริ่ม 28 มิ.ย.เป็นต้นไป ทั้งนี้ คำถามต่อมาเมื่อรัฐประกาศกึ่งล็อกดาวน์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโควิดแบบนี้ ธุรกิจก่อสร้าง ร้านอาหาร รวมทั้ง นายจ้าง และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลชดเชย หรือเยียวยาอะไรบ้าง? วันนี้ TrueID สรุปข้อมูลมาให้แล้ว
สำหรับมาตรการการเยียวยานั้น นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ได้แถลงข่าว ระบุถึงการประชุมที่มีนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งเป็นประธาน เห็นชอบเยียวยาประชาชน 6 จังหวัด ในกลุ่มก่อสร้าง , สถานบริการ, ร้านอาหาร, กลุ่มศิลปะ บันเทิงและสันทนาการ ซึ่งได้ลงทะเบียน กระทรวงการคลัง ราว 697,315 คน เตรียมงบ 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็นที่รัฐบาลจัดเตรียวไว้ 4,000 ล้านบาท และในส่วนประกันสังคมก็ใช้วงเงินประมาณ 3,500 ล้านบาท
ธุรกิจก่อสร้าง - ร้านอาหาร รัฐชดเชยอย่างไร?
โดยการเยียวยานั้น สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ประกันสังคมจะเยียวยาผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งจะจ่ายให้ 50% ของค่าแรง แต่ไม่เกิน 7,500 บาท รวมทั้ง รัฐบาลจะเพิ่มเงิน 2,000 บาท หากมีคุณสมบัติ สัญชาติ คนไทย แต่สำหรับรายใดไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ต้องลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น "ถุงเงิน" เพื่อเข้าสู่ระบบประกันเสียก่อนจึงจะได้รับเงินชดเชยตามเงื่อนไข ดังนี้
อยู่ในระบบประกันสังคม
ประกันสังคม จ่ายชดเชย 50% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาท
รัฐบาลจ่ายชดเชยเพิ่มเติม :
ลูกจ้างหัวละ 2,000 บาท
นายจ้างจ่าย 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้าง 1 คน (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
ระยะเวลา : 1 เดือน
ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม
ประกันสังคม ไม่จ่าย ค่าชดเชยการว่างงานฉุกเฉินในสัดส่วน 50% และในจำนวนนี้แรงงานจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือการว่างงานสุดวิสัยเนื่องจากยังจ่ายสมทบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือนตามกฎหมายประกันสังคม
รัฐบาลจ่ายชดเชยเพิ่มเติม :
ลูกจ้างหัวละ 2,000 บาท
นายจ้างจ่าย 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้าง 1 คน (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
ในกรณีที่ผู้ประกอบการและแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบก็ให้เข้ามาอยู่ในระบบเพื่อรับสิทธิโยชน์ในส่วนนี้ได้ โดยต้องดำเนินการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” เพื่อเข้าอยู่ในระบบประกันสังคมก่อน
ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม (ไม่มีลูกจ้าง)
ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมไม่ได้ ในหมวด "ร้านอาหารและเครื่องดื่ม" ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เพราะไม่มีลูกจ้าง โดยจะต้องขึ้นทะเบียนเข้าสู่แอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” ได้ภายใน 1 เดือนนี้ก่อนถึงจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ ลูกจ้างที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ต้องลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” เพื่อให้มีชื่ออยู่ในระบบสังคมเสียก่อน และรอรับสิทธิประโยชน์ รับเงินเยียวยาจากมาตรการของรัฐที่จะช่วยต่อลมหายใจได้ต่อไปอีกนิด
TrueID ขอส่งกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน
ข่าวเกี่ยวข้อง :