ตรวจสอบสิทธิ "ม.33-ม.39-ม.40" เพื่อรับเงินเยียวยาจาก ประกันสังคม รับเงิน 5,000-10,000 บาท ที่นี่
จากมติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 ที่เห็นชอบมาตรการเยียวยาโควิดระลอกใหม่ล่าสุด เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดฉบับที่ 27 ในพื้นที่ 10 จังหวัด เพื่อลดผลกระทบระยะสั้น สำหรับกลุ่มแรงงาน "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ทั้งในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคม โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นเวลา 1 เดือน ครบคลุม 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1: 9 หมวดกิจการ (เพิ่มเติมจากเดิม 4 หมวด) ประกอบด้วย
- ก่อสร้าง
- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
- กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
- ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
- ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์
- กิจกรรมทางวิชาการ
- ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
กลุ่มที่ 2: 5 กิจการของถุงเงิน (เพิ่มเติมจากเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ประกอบด้วย
- ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- ร้าน OTOP
- ร้านค้าทั่วไป
- ร้านค้าบริการ
- กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
สำหรับรายละเอียดการจ่ายเงินเยียวยาให้กับแรงงานในแต่ละกลุ่มมีดังนี้
ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33
ลูกจ้าง ม.33 ในกิจการหมวด 9
- ประกันสังคมจ่ายชดเซยเยียวยา เหตุสุดวิสัย 50% ของรายไต้ ให้ลูกจ้างโดยตรง (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท)
- รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างในระบบประกันสังคม (สัญชาติไทย) อีก 2,500 บาทต่อคน
นายจ้าง ม.33 ในกิจการหมวด 9
- รัฐบาลจ่ายให้นายจ้างในระบบประกันสังคม ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อหัว (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40
รัฐบาลช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท เป็นเวลา 1 เดือน ผู้ที่อยู่นอกระบบ มาตรา 33 อาชีพอิสระ
- เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. 64
- รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน
ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ที่มีลูกจ้างแต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม
- ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. 64 โดยรัฐจะจ่ายเงินช่วยเหลือดังนี้
- นายจ้างจะได้รับเงิน 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
- ลูกจ้างสัญชาติไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่มีลูกจ้าง
- เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. 64
- รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน
ผู้ประกอบการในระบบ "ถุงเงิน" ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะในปัจจุบันที่มีลูกจ้าง
- ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. 64 โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือดังนี้
- นายจ้างจะได้รับเงิน 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง (สูงสุดไม่เกิน 200 คน)
- ลูกจ้างสัญชาติไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน
ผู้ประกอบการในระบบ "ถุงเงิน" ใน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะในปัจจุบันที่ไม่มีลูกจ้าง
- เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. 64
- รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน
เยียวยารายย่อย“ถุงเงิน”
ผู้ประกอบการในระบบ ถุงเงิน โครงการ คนละครึ่ง และโครงการ เราชนะ ขยายให้ความช่วยเหลือจากเดิมเฉพาะหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็น 5 กลุ่ม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าบริการและกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) กรณีที่มีลูกจ้าง ขอให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาท/คน/สถานประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 200 คนและลูกจ้างสัญชาติไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันสังคม (ม.40) ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อจะได้รับเงินในอัตรา 5,000 บาทต่อคน
สำหรับผู้ประกอบการระบบ ถุงเงิน ที่มีลูกจ้างแต่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนนายจ้างในระบบประกันสังคม พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม ภายในเดือนก.ค. 2564 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือตามหลักการเดียวกันกับแรงงานและนายจ้างที่เพิ่งลงทะเบียนเข้าสู่ระบบประกันสังคม
เช็กสิทธิมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้าง ได้ที่นี่
วิธีลงทะเบียนร่วมมาตรการรับเงินเยียวยาโควิด-19 จากประกันสังคม
สามารถลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ภายในระยะเวลา 30 วันหลังจากถูกเลิกจ้าง โดยขั้นตอนมีวิธีดังต่อไปนี้
ข้อมูล : TNN , ประกันสังคม