รีเซต

อัปเดตคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีส้ม งานโยธาแซงหน้างานลงทุนแล้ว?

อัปเดตคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีส้ม งานโยธาแซงหน้างานลงทุนแล้ว?
TNN ช่อง16
5 พฤศจิกายน 2563 ( 10:55 )
361
อัปเดตคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีส้ม งานโยธาแซงหน้างานลงทุนแล้ว?

        เป็นประเด็นยืดเยื้อมาสักพัก กับการยื่นซองประมูลโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)  ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) .ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานีและสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)  ซึ่งตามแผนมีกำหนดเปิดให้บริการ 2 ส่วน โดยส่วนตะวันออก เดือน มี.ค.67 และส่วนตะวันตก เดือน ก.ย.69 


cr:fb โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

        แต่ช่วงที่ผ่านมาโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม กลับต้องมีเหตุให้ต้องยืดเยื้อ ที่ออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมลงทุนตั้งแต่ วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โดยมีกำหนดยื่นซองข้อเสนอใน วันที่ 23 กันยายน 2563 และได้ปิดขายซองประมูลไปร่วม 2 เดือน แต่ไม่นานก็ได้มีการพิจารณาเห็นชอบ ให้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว จากรูปแบบเดิม ที่จะพิจารณาซองข้อเสนอด้านการเงิน และผลตอบแทนการลงทุนจากบริษัทเอกชนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคแล้วเท่านั้น  จนหลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะต้องล้มการประมูลรถไฟฟ้าสายนี้ไปหรือไม่?


cr:fb โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

        ล่าสุด รฟม. ได้แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ที่ประชุมได้หารือกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการประกาศใช้เอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเกณฑ์ใหม่ที่กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน  โดยกรณีนี้ฝ่ายกฎหมาย รฟม. พิจารณาแล้วพบว่าเป็นคำสั่งที่ทุเลาการใช้เกณฑ์ใหม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอประกวดราคา ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.63  ตามเดิม 


cr:fb โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

        ขณะเดียวกันในการประชุมคณะกรรมการ ม.36 ครั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้หารือว่าจะต้องล้มประมูลโครงการฯ หรือไม่ โดยขอพิจารณาทีละขั้นตอน รวมทั้งจะขอรอฟังผลการอุทธรณ์จากศาลฯ ด้วย

         และแม้ว่าจะไม่มีการพิจารณาประเด็นล้มประมูล แต่การเปิดรับข้อเสนอจากเอกชนในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะไม่มีผลกระทบใดๆ กับเอกชนไม่ว่าสุดท้ายแล้วจะใช้เกณฑ์เก่า หรือเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาตัดสินผู้ชนะประมูล  เพราะในการยื่นข้อเสนอนั้นเป็นข้อมูลคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมือนเดิมทุกอย่าง  และเชื่อว่าเอกชนต้องชูข้อเสนอที่ดีที่สุดมาให้พิจารณาอยู่แล้ว 


cr:fb โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

        ขณะที่ ความคืบหน้าโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ล่าสุด(ข้อมูล ณ เดือน ก.ย. 2563)  ภาพรวมโครงการก้าวหน้าไปแล้วกว่า  69.82% เร็วกว่าแผนที่วางไว้ 2.77%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 นับถอยหลัง 5 ปี!คนกรุงจะมีรถไฟฟ้าใช้ 13 สายแล้วนะ!!

 ฝั่งธนฯพร้อมไหม?เปิดความคืบหน้า"รถไฟฟ้าสายสีทอง"เกือบได้ใช้แล้ว!

 เปิดปม รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ส่อแววสะดุด?

 เช็กเส้นทางรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ เปิดเพิ่มอีกกี่สถานี วิ่งถึงไหน?

 ส่อง รถไฟฟ้ารางเบา ภูเก็ต ความหวังฟื้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว

        ในส่วนของงานก่อสร้างสถานียกระดับ คืบหน้ามาถึงที่ สถานีสัมมากร และสถานีเคหะรามคำแหง โดย สถานีสัมมากร เป็นสถานียกระดับสถานีแรก บนถนนรามคำแหง เชื่อมมาจากสถานี  ใต้ดินที่สถานีคลองบ้านม้า ซึ่งมีความแตกต่างจากสถานียกระดับอื่นๆ เนื่องจากช่วงทางวิ่งเป็นลัษณะใต่ระดับสู่เหนือดิน เพื่อเข้ามายังสถานียกระดับแห่งนี้  ทำให้ตัวสถานีมีระดับสูงไม่มาก การออกแบบห้องออกบัตรโดยสารจะตั้งอยู่ใกล้กับทางขึ้น-ลง ซึ่งอยู่ในชั้นเดียวกับชั้นชานชาลา ในขณะที่สถานีอื่นๆยังคงเป็นรูปแบบที่มีชั้นออกบัตรโดยสารคนละชั้นกับชั้นชานชาลา   

        ความคืบหน้าของสถานีสัมมากรนี้ อยู่ระหว่างการทำพื้นโครงสร้างชั้นชานชาลาและชั้นจำหน่ายตั๋ว งานติดตั้งโครงสร้างหลังคาสถานี งานติดตั้งลิฟต์และงานบันได ขณะที่ในส่วนของสถานีเคหะรามคำแหง  ถือว่ามีความคืบหน้ามากที่สุด  โดยอยู่ระหว่างติดตั้งหลังคาสถานี ที่ออกแบบให้ล้ำสมัย ดูโปร่ง

        ส่วนความคืบหน้างานก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ และสถานียกระดับที่เหลืออีก 5 สถานีได้แก่  1) สถานีน้อมเกล้า  2) สถานีราษฎร์พัฒนา 3) สถานีมีนพัฒนา 4) สถานีมีนบุรี และ 5) สถานีสุวินทวงศ์ 

 cr:fb โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

         แม้ว่างานสรรหาเอกชนมาร่วมลงทุนโครงการนี้ จะสุ่มเสี่ยงว่าจะยืดเยื้อไปช่วงหนึ่ง แต่ในเนื้องานโยธาเรียกได้ว่าคืบหน้าไปเกินครึ่งแล้ว หากในขั้นตอนเลือกเอกชนที่ร่วมลงทุนสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ความชัดเจนที่โครงการจะแล้วเสร็จตามแผนก็น่าจะเป็นไปได้ 


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHผู้AILAND.com
facebook : TNNONLINEสรรหาเอก
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง