รีเซต

บัญชี 'IO' คืออะไร ทำไมจึงเป็นประเด็นบนสื่อสังคมออนไลน์

บัญชี 'IO' คืออะไร ทำไมจึงเป็นประเด็นบนสื่อสังคมออนไลน์
TrueID
2 กันยายน 2564 ( 10:25 )
41.1K
บัญชี 'IO' คืออะไร ทำไมจึงเป็นประเด็นบนสื่อสังคมออนไลน์

จากประเด็นที่ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขต 25 พรรคก้าวไกล เปิดโปงปฏิบัติการสงครามข้อมูลข่าวสาร (ไอโอ) ของกองทัพ ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อคืนวันอังคาร (31 ส.ค.) ว่ายังมีการใช้ ปฏิบัติการข่าว (IO) อย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และโจมตีผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองต่างจากรัฐบาล แต่ภายหลังกลับถูกจับได้ว่าใช้เอกสารเท็จ ทำให้หลายๆท่านสงสัยว่า ไอโอ(IO) คืออะไร วันนี้ trueID news จะพาทุกท่านไปไขคำตอบกัน

 

IO คืออะไร?


Information Operations” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า Info, Ops หรือ IO หมายถึง “ปฏิบัติการข่าวสาร” เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ตนเอง ด้วยการทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม ด้วยกลยุทธ์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างอิทธิพลการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม มีทั้งวิธีการทางด้านสังคม และสื่อออนไลน์ ซึ่งในอดีตถูกนำมาใช้ชิงความได้เปรียบในการรบหรือการทำสงคราม และเป็นปฏิบัติการทางจิตวิทยาที่พยายามควบคุมความคิดและความเชื่อของศัตรู บิดเบือนข้อมูลเพื่อสร้างเรื่องราวเท็จในสื่อข่าวที่มีอยู่

 

 

บุคลากรทางทหารของสหรัฐฯ ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกลุ่มปฏิบัติการจิตวิทยาที่ 4

 

Information Operation เป็นวิธีการที่เริ่มใช้มานานแล้ว ออกเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2003 อนุมัติโดย นายโดนัล รัมเฟล (Donald Rumsfeld) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเอกสารที่เปิดเผย (Declassified) ในปี 2006 ขยายผลจากหลักการที่เกี่ยวข้องกับ สงครามสารสนเทศ ในมุมมองของกองทัพสหรัฐฯ

 

ที่สำคัญ ความเชี่ยวชาญการใช้ “สื่อใหม่” หรือ “นิวมีเดีย” ยังสามารถระงับหรือขัดขวางการ “ไอโอ” ของฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย เช่น วิธี report หรือวิธีใช้คนจำนวนมากเข้าไปใช้เว็บ เพจเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรมของฝ่ายตรงข้ามพร้อม ๆ กันจนเว็บหรือเพจล่ม หรือถ้าเป็นระดับมืออาชีพมากกว่านั้นอาจใช้การโจมตีด้วยไวรัสกันเลยทีเดียว

 

 

วิธีการทำ “ไอโอ” ที่ใช้กันทั่วไป

 

หลักสำคัญเริ่มจากการหา “จุดสนใจ” แล้วสร้าง “คีย์เวิร์ด” เพื่อสร้างชุดความคิดทำลายฝ่ายตรงข้าม เช่น โจมตีว่าอีกฝ่ายเป็นเผด็จการ แล้วยกตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย (ความจริงเป็นหรือเปล่า เป็นอีกเรื่อง) ซึ่งหาก “คีย์เวิร์ด” นี้เป็น “หัวใจ” หรือ “จุดอ่อน” หรือที่เรียกภาษาทหารว่า “จุดศูนย์ดุล” หรือ center of gravity ของฝ่ายตรงข้ามพอดี การทำไอโอก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพ โดยใช้ “คีย์เวิร์ด” เดิมเป็นตัวเดินเรื่องพัฒนาชุดความคิดไปเรื่อย ๆ

 

สถานการณ์ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการข่าว บอกว่า บางทีคนทั่วไปที่มีความรอบรู้ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพิเศษ ก็อาจมีความสามารถในการทำ “ไอโอ” เหนือหน่วยงานรัฐบางหน่วยที่ยังมีบุคลากรด้านนี้น้อย หรือบุคลากรไม่พัฒนาตัวเองด้วยซ้ำ  การทำ “ไอโอ” ที่เห็นชัดๆ ในบ้านเราในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา ก็คือการทำสงครามข่าวสารในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งว่ากันว่าเป็นพื้นที่ที่ “ข่าวลือ” ทำงานสำเร็จมากที่สุดพื้นที่หนึ่งของประเทศ

 

 

ตัวอย่างสงครามข้อมูล

 

  • โทรทัศน์ , อินเทอร์เน็ตและวิทยุ ทำให้ติดขัด
  • โทรทัศน์, อินเทอร์เน็ตและการส่งวิทยุ แย่งชิงเพื่อบิดเบือน แคมเปญ
  • ปิดการใช้งานเครือข่ายลอจิสติกส์
  • ปิดการใช้งานหรือปลอมแปลงเครือข่ายการสื่อสารของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะชุมชนสังคมออนไลน์ในยุคปัจจุบัน
  • ธุรกรรมการแลกเปลี่ยนหุ้นสามารถก่อวินาศกรรมได้ ไม่ว่าจะด้วยการแทรกแซงทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการรั่วไหลของข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือโดยการวางข้อมูลที่บิดเบือน
  • การใช้โดรนและหุ่นยนต์เฝ้าระวังหรือเว็บแคมอื่นๆ
  • การจัดการการสื่อสาร

 

 

ฉะนั้นหากฝ่ายไหนครอบครองสื่อได้มากกว่า ก็ถือได้ว่ามีเครื่องมือมากกว่า และมีโอกาสสูงกว่าที่จะชนะในสงครามข่าวสาร ดังสุภาษิตที่กล่าวไว้ว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"

 

 

ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง