รีเซต

พ่อแม่ต้องรู้! เลี้ยงเด็กพิเศษอย่างไรให้ปลออดภัยจากโควิด-19

พ่อแม่ต้องรู้! เลี้ยงเด็กพิเศษอย่างไรให้ปลออดภัยจากโควิด-19
Ingonn
13 พฤษภาคม 2564 ( 19:31 )
310
พ่อแม่ต้องรู้! เลี้ยงเด็กพิเศษอย่างไรให้ปลออดภัยจากโควิด-19

บ้านใครที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษจะเข้าใจดีว่าการดูแลและความเอาใจใส่เป็นสิ่งสำคัญต่อเด็กพิเศษเป็นอย่างมาก แต่ด้วยสถานการณ์ที่โควิด-19 เข้ามามีบทบาทกับสังคมและครอบครัวมากขึ้น ทำให้การเลี้ยงดูพวกเขาอาจต้องมีระยะห่างเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อ

 

 

วันนี้ True ID ได้รวบรวมแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือครอบครัวที่มีเด็กพิเศษ เป็นคู่มือในการดูแลและสร้างความเข้าใจในยุคโควิด-19

 

 


เด็กพิเศษคืออะไร


เด็กที่มีความต้องการพิเศษในการดูแลและส่งเสริมในด้านต่างๆ มากกว่าเด็กปกติทั่วไป พ่อแม่และโรงเรียนจำเป็นต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความพิเศษของเขา และไม่ต้องการความสงสารจากคนรอบข้าง แต่ต้องการพื้นที่ในการเพิ่มโอกาสและแสดงความสามารถ เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องการการยอมรับ รวมทั้งต้องการความเข้าใจจากคนรอบข้างมากพอที่จะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่เขาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการดูแลเด็กพิเศษในช่วงสถานการณ์ที่โควิด-19 ระบาดหนักยิ่งเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น

 

 

กรมอนามัย ระบุว่าในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 กลุ่มเด็กพิเศษจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ และผู้ดูแลเด็กเนื่องจากเด็กอาจมีพฤติกรรมถดถอย เช่น ดื้อ โกรธ ต่อต้าน หรืออาจมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร การใช้ภาษาไม่เข้าใจการสื่อสารที่เป็นนามธรรม ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจคำสั่ง ปรับตัวได้ช้า ทำให้ขาดทักษะในการป้องกันระวังการติดเชื้อด้วยตัวเอง และถ้าเด็กอยู่บ้าน คนที่ดูแลหรืออยู่ใกล้ชิดกับเด็กต้องระมัดระวังตนเอง เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะนำเชื้อไปติดเด็กได้

 

 

วิธีการดูแลเด็กพิเศษสามารถปฏิบัติ


1. สื่อสาร ให้ข้อมูลที่ง่ายเหมาะสมกับอายุและระดับความเข้าใจของเด็กด้วยตนเอง 


2. สอนด้วยวิธีที่เด็กสนใจ เช่น ใช้ภาพหรือนิทานประกอบ 


3. เด็ก ๆ อาจมีการเล่นหรือพูดถึงเรื่องที่น่ากลัวในกระบวนการทำความเข้าใจข้อมูล ผู้ปกครองควรอยู่ใกล้ชิด เพื่อทำให้รู้สึกมั่นใจ และคอยตอบคำถาม


4. คอยติดตามและสื่อสารข้อมูลกับครู พี่เลี้ยง และผู้ดูแลอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง 


5. คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรือสัญญาณของความเครียดเด็ก ๆ อาจต้องการความช่วยเหลือ หากมีความเครียดหรือกังวล 


6. คอยเป็นที่ปรึกษา สร้างความมั่นใจให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและผ่านสถานการณ์ไปได้


7. ในกรณีที่จะให้เด็กสวมหน้ากาก ถ้าเด็กไม่คุ้น อาจจะสร้างความคุ้นเคยให้เด็ก โดยให้ผู้ดูแลเด็กสวมให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือใส่ให้ตุ๊กตาที่เด็กเล่นอยู่ เพราะหน้ากากมีลักษณะที่ทำให้เด็กคุ้นเคยได้ง่าย วัสดุสร้างสัมผัสที่เด็กไม่รำคาญ หรือมีการให้แรงเสริมทางบวกถ้าเด็กใส่หน้ากากได้ อาจจะเป็นคำชมเชย ให้รางวัล


8. ในช่วงการระบาด เด็กพิเศษที่ต้องมารับการฝึกหรือบำบัดต่อเนื่องอาจถูกงดไป ทำให้ขาดช่วงการบำบัดไป แนะนำให้ผู้ดูแลฝึกที่บ้านก่อน

 

 

 

การปฏิบัติตนเมื่อต้องเลี้ยงดูเด็ก (กรณีไม่ได้เป็นครอบครัวเดียวกัน)

 

1.ก่อนรับเด็กเข้ามาดูแล ควรล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้า ใส่หน้ากากอนามัย ประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงหรือไม่


2.ทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ที่นอนเด็ก ห้องน้ำห้องส้วม ของเล่นเด็ก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งที่มีการใช้งาน


3.ก่อนรับเด็กจากผู้ปกครอง ควรสอบถามประวัติความเสี่ยงของผู้ปกครอง และเด็ก


4.เมื่อนำเด็กเข้ามาในสถานที่ดูแลเด็กควรให้เด็กล้างมือ และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่


5.ดูแลเด็กทั้งเรื่องอาหาร สุขอนามัยต่างๆ เน้นเป็นรายบุคคล การจัดกิจกรรมเสริมพัฒนาการ เป็นกลุ่มไม่เกิน 5 คน


6.สอบถามผู้ปกครอง และเด็ก หากเด็กมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ให้หยุดนำเด็กมารับบริการ


7.ให้คำแนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับ แนวปฏิบัติในการป้องกันโรคโควิด 19

 

 


เด็กพิเศษติดโควิดทำอย่างไร


หากเด็กพิเศษป่วยเป็นโควิด-19 จำเป็นต้องดูแลตามเด็กแต่ละคนอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กพิเศษมีระดับการดูแลตัวเองที่แตกต่างกัน ต้องการผู้ดูแลที่แตกต่างกันด้วย หากเป็นเด็กพิเศษที่ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีผู้ดูแลที่ทำหน้าที่ได้โดยเฉพาะ และเข้าไปดูแลได้บางเวลาในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกัน 

 

นอกจากนี้ควรมีการปรึกษาทีมสหวิชาชีพ เช่น จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยา ในการดูแลเด็กร่วมกันทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สำหรับเด็กพิเศษที่มีอาการด้านจิตเวชรุนแรง ก้าวร้าวรุนแรง อาการของโรคไม่สงบ ควรได้รับการดูแลในโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมอนามัย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง