รีเซต

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : โตชิบา (TOSHIBA) นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : โตชิบา (TOSHIBA) นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต
TNN ช่อง16
9 กรกฎาคม 2566 ( 08:00 )
101
คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : โตชิบา (TOSHIBA) นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต

“โตชิบา” ไม่ได้เป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับต้นๆ เท่านั้นแต่ยังเป็นองค์กรที่ใส่ใจเรื่องของการพัฒนาประเทศ ที่มีความเชื่อว่าการพัฒนาประเทศ เป็นหน้าที่พลเมืองของทุกองค์กรและทุกคนต้องทำ เพื่อนำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับสังคม


โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งโตชิบาถือเป็นองค์กรที่มีแนวคิดสุดโต่งในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ทุกกิจกรรมที่ทำต้องได้ประโยชน์ที่สุด ต้องทำด้วยใจ ถึงประสิทธิภาพที่สุด วันนี้ TNN จะพาไปรู้จักโตชิบาในแบบที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน


"ไม่อยากได้ยินว่าเราขอรัฐบาล เราคิดว่าเราต้องสอนให้คนเข้มแข็ง รวมถึงตัวเราเข้มแข็ง เค้าก็วางรากฐานไว้เลยว่า คำว่านำสิ่งที่ดีสุดชีวิต ไม่ใช่สโลแกนขายของเหมือนเป็นอุดมการณ์ เราเชื่อ และเราก็คิดว่า การดูแลคนมันไม่ใช่เรื่องเฉพาะรัฐบาล รัฐทำก็ทำแต่ว่าเรามาอยู่จนถึงทุกวันนี้ได้เพราะคนไทยช่วยกันเอง" นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าว



 



นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าวว่า เรายึดถือหลักการที่จะนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต เราคิดว่าเราทำทุรกิจไม่ใช่แค่การทำกำไร แต่ว่าเราต้องการนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต เพราะฉะนั้นหากเราประสบความสำเร็จการทำธุรกิจก็หมายความว่าเราต้องทำให้คน 5 ส่วนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปกับเราได้ อันแรกก็คือ ตัวเราเอง , พนักงานเรา , คนที่ถัดออกไปยกตัวอย่างเช่น โรงงาน ซัพพลายเออร์ , คนที่ซื้อสินค้าเรา และ เป็นหน้าที่พลเมือง อันนี้สำคัญสุดอาจจะไม่เคยซื้อสินค้าเราเลย และต่อไปทั้งชีวิตอาจจะไม่ซื้อสินค้าเราก็ได้ แต่เราถือว่าเป็นหน้าที่ ที่เราจะต้องนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตแก่เค้า นั่นก็คือประชาชน


ดูแลทุกคนไม่ใช่แค่ลูกค้า


เราจะต้องหาทางที่จะทำให้วันนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เราอยากให้ประเทศไทยเติบโตอย่างไรเป็นหน้าที่เรา ที่เราจะต้องมีส่วนร่วมในการที่จะทำให้คนส่วนอื่นๆ เติบโตไปกับเราด้วย เหมือนพูดง่าย พอจะทำจริงๆเราก็ต้องมีกลยุทธ์ที่จะทำให้มันประสบความสำเร็จ และกลยุทธ์ในการที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ อันนี้ถือว่ามาจากประสบการณ์ของเราเลย อันแรกคือ เราต้องเลือกมันมีเยอะมากที่เราควรจะทำ แต่เราทำทุกอย่างไม่ได้ ถ้าเราทำแบบสะเปะสะปะ มันก็จะไม่เกิดผลมันจะเป็นอีเว้นท์


เลือกสิ่งที่ต้องทำ เพื่อประสิทธิผลที่ดีที่สุด


เราเลือกเรื่องศิลปะ เราเชื่อว่าเราขายฮาร์ดแวร์ เราขายวัตถุ จริงๆที่สิ่งที่มนุษย์ต้องการคือทางด้านซอฟต์แวร์มากกว่า คือทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เราคิดว่าอันนี้วัตถุให้ไม่ได้ และเงินก็ให้ไม่ได้ สิ่งที่จะให้ได้ก็คือ อะไรที่ดีต่อจิตวิญญาณคนก็คือ ศิลปะ เราคิดว่าศิลปะพัฒนาคน ไม่มีอะไรที่แบบว่ากดนิ้วแล้วจะดีเลย และจะดีไปตลอดชีวิตมันไม่มี จะต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง



 



ลงมือทำจากข้างในเพื่อสังคมที่ดี


ประธานกรรมการบริหาร โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าวว่า เราให้คนของเราทำด้วย เพราะคิดว่ามันต้องมาจากใจ ถ้าคนของเราได้มามีส่วนร่วมในการทำ เค้าจะมีความรู้สึกว่า เค้าจะดึงอะไรที่มันดีที่สุด ที่เราจะสามารถให้ได้ อย่างผู้บริหารต่างชาติที่มา แรกๆคือไม่เข้าใจ เราต้องเป็นตัวตนของเราด้วย ถ้าเกิดคนของเราไม่ทำด้วยมือเองบางทีไม่เข้าใจ ไม่รู้สึกอะไรเลย ถ้าพวกคุณเห็นคน ไปสัมผัสกับคน คุณจะได้เข้าใจ


ยังจำได้มีญี่ปุ่นคนนึงไปยืนร้องไห้ว่าเด็กเนี่ยมีคนมาตัดผมให้ แล้วเราบอกต้องรอให้เด็กตัดผมเสร็จก่อน เค้าถามทำไมต้องตัดผม เราก็บอกว่าเค้าไม่มีเงินตัดผม เค้าตกใจมากเลย ถึงเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า เวลาคนเค้าลำบากเนี่ยหมายถึงอย่างไง เหมือนเป็นการพัฒนาพนักงานเราเองด้วย ยิ่งสมัยนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เวลาเรา recruit เค้าโหยหาเรื่องการที่เค้าได้มีส่วนร่วมที่จะทำให้สังคมดีขึ้นได้


การให้ไม่ต้องใช้เงิน


เคยได้ยินคนพูดเค้าบอกว่า ไว้รวยก่อนค่อยทำ ที่จริงการให้เนี่ยให้ได้ทุกลมหายใจ อาจจะเริ่มคิดแล้วเราให้แล้วเราคุ้มไหม การให้คือต้องให้ด้วยจิตใจที่เชื่อว่าเราอยากให้ ยกตัวอย่างเช่น บางคนบอกว่าไม่ใช้เงินได้ยังไง เราให้ความรู้คนอื่นได้ไหม เราช่วยคนข้ามถนนได้ไหม เราเป็นคนดีได้ไหม การเป็นคนดีไม่โกงภาษี ซื่อสัตย์ นี่ก็ให้แล้วนะ ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกและก็เดินหน้าชีวิต คนเนี่ยก็ต้องบอกว่า เราไม่ได้เป็นคนที่จ่ายเงินเดือนสูงสุด ไม่ได้มีสวัสดิการสูงสุดเพราะว่าไม่สามารถ และถ้าเราครองใจคนด้วยเงินพรุ่งนี้ก็จะมีคนให้ได้มากกว่าเรา เพราะฉะนั้นเนี่ยสิ่งสำคัญที่จะไปนั่งในใจเค้า ก็คือทำอย่างไรที่เราเข้าใจเค้า ให้เค้ารู้สึกว่าเนี่ยคือบ้านของเค้าด้วย เพราะฉะนั้นให้เค้ามีส่วนร่วมในที่จะนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตเป็นต้น



 



การดูแลผู้คนไม่ใช่แค่เรื่องของรัฐบาล


เรามีวันนี้ได้เพราะต้องมีคนทำให้เรามาก่อน เพราะฉะนั้นก็คิดว่าพอถึงเวลาที่เรารับมาแล้ว โตมาแล้วเราก็ต้องทำต่อ และคิดว่าการดูแลคนมันไม่ใช่เฉพาะรัฐบาล บางคนบอกรัฐต้องทำโน้นทำนี่ แต่ไม่เชื่อแบบนั้นเลย รัฐทำก็ทำ แต่ว่าเรามาอยู่จนถึงทุกวันนี้ได้เพราะคนไทยช่วยกันเอง ภาคธุรกิจช่วยกันเอง ตรงนี้จะยั่งยืนเพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านสอนเสมอในการที่จะยืนบนขาของตัวเอง เศรษฐกิจพอเพียง ตัวเองเนี่ยเป็นประธานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของหอการค้ามานานมากแล้วเป็นตำแหน่งที่ยังยึดอยู่


หอการค้าเชื่อว่า ศาสน์กษัตริย์ ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นสัจจะเลย ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ภาคเกษตรแต่จริงๆเป็นเรื่องของทุกคน โดยเฉพาะคนทำธุรกิจว่าเราจะต้องหาสมดุลยังไง ทำธุรกิจแต่เราต้องคำนึงถึงคนและสิ่งแวดล้อมซึ่งพวกนี้เวิร์คมากๆ



 



ผู้นำ คือ ต้นแบบ


คิดว่ากฎระเบียบทุกองค์กรน่าจะมี มีอยู่แล้ว แต่สิ่งคัญคือทำอย่างไร เค้าต้องรู้สึกว่าเข้ามาในองค์กรที่เชื่อเรื่องนี้จริงๆ ผู้นำคือเราต้องเป็นต้นแบบ ตอนมาทำงานใหม่ๆจำได้คุณแม่บอก มาเริ่มทำงานไปได้สักพัก เซลล์เมเนเจอร์ก็เดินมาคุยบอกว่าทำธุรกิจอย่างนี้ไม่เจริญนะ ซึ่งเรามีบัญชีเดียวมาโดยตลอดไม่เคยมีสองบัญชี จ่ายภาษีตรงตลอด คุณแม่ก็เลยบอกว่าฉันเลือกที่จะเดินเส้นทางนี้ อยากจะพิสูจน์ให้คนเห็นว่าการทำธุรกิจบนความถูกต้องเจริญได้ รู้ว่ามันยากกว่า ใช้เวลามากกว่า แต่ว่ามันเป็นหน้าที่ ที่ต้องทำ


ดังนั้นต้องเริ่มจากผู้นำ ไม่ใช่กฎเข้ม ทุกคนมีกฎหมด ประเทศก็มีกฎเยอะเราต้องทำเป็นตัวอย่างว่าเราเชื่อและเราทำ ถ้าหอการค้าเราจะอยู่ในกระบวนการสุจริต เราต้องชมรมจรรยาบรรณ เป็นประธานชมรมคนแรกและยังมีการให้รางวัลบริษัทซึ่งตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้องทุกปี และเมื่อรับรางวัลแล้วก็ต้องมารวมกลุ่มกันเพื่อที่จะไปอินสไปร์คนอื่นต่อ ให้คนมาดูงานว่าคุณทำได้อย่างไร


"ชีวิตที่แท้จริงมันไม่ใช่โชค ชีวิตที่แท้จริงคือวิกฤตปัญหาที่เราจะต้องก้าวข้ามผ่านไปด้วยกัน"



 


 







ข่าวที่เกี่ยวข้อง