รีเซต

พ่อค้า-แม่ค้าขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีอย่างไร?

พ่อค้า-แม่ค้าขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีอย่างไร?
Ingonn
30 มกราคม 2566 ( 14:35 )
478
พ่อค้า-แม่ค้าขายของออนไลน์ ต้องยื่นภาษีอย่างไร?

พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ เคยสงสัยกันไหมว่า เราต้องยื่นภาษีไหม ถ้ายื่นต้องยื่นอย่างไร แตกต่างจากการยื่นภาษีเงินได้ปกติไหม วันนี้ True ID มีคำตอบมาให้แล้ว

ประชาชนผู้มีรายได้จะต้องยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนมกราคม-มีนาคม ของปีถัดไป เช่น ปีภาษี 2565 จะต้องยื่นภาษีภายในเดือนมีนาคม 2566 สำหรับการยื่นเอกสารที่กรมสรรพากร และยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ถึง 31 มี.ค. 66

ผู้เสียภาษีสามารถ "ยื่นแบบภาษีออนไลน์" ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร rd.go.th ผ่านระบบ e-Filing เพื่อลดขั้นตอนการไปติดต่อที่สำนักงานสรรพากร และหากได้รับเงินคืนภาษีก็จะโอนเข้าพร้อมเพย์ตามเลขบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียน

 

ขายของออนไลน์เสียภาษีประเภทไหน


สำหรับธุรกิจออนไลน์นั้นจะต้องเสียภาษีอยู่ 2 ประเภท คือ ภาษีเงินได้ กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยส่วนของภาษีเงินได้ธุรกิจออนไลน์จะเสียตามรูปแบบของธุรกิจ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องตอบให้ได้ก่อนเลย ก็คือ เราเป็นบุคคลธรรมดาที่ขายของออนไลน์ หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว

โดยหากเราเป็นบุคคลธรรมดาที่ขายของออนไลน์ ก็จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว ก็จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั่นเอง

 

ยอดขายเท่าไร ถึงต้องยื่นภาษี


คนที่จะต้อง "ยื่นภาษี" คือคนที่มี "รายได้" หรือ "เงินได้" ตามที่กำหนด สำหรับบุคคลธรรมดาที่ต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาท/ปี 

แต่ในกรณีบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 94 เมื่อมีได้รายเกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) ซึ่งในกรณีที่ทำทั้งงานประจำ และขายของออนไลน์ก็จะต้องยื่นภาษีทั้ง 2 แบบ หากรายได้ถึงตามเกณฑ์ข้างต้น

 

คำนวณภาษียังไง


การขายของออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีวิธีการคำนวณ 2 วิธี คือ

1. (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได
การหักค่าใช้จ่ายในวิธีแรกสามารถทำได้ 2 แบบ
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาๆ ได้ 60% ของรายได้
หักตามจริง

ถ้าใช้วิธีนี้อย่าลืม!! ทำบัญชีรายรับรายจ่าย และเก็บหลักฐานไว้

2.เงินได้ x 0.5% โดยจะใช้วิธีที่ 2 นี้ เมื่อเรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี แล้วนำไปเปรียบเทียบกับวิธีแรก เพื่อเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า ทั้งนี้สามารถคำนวณภาษีอย่างง่าย ภายใน 3 นาที ได้ที่ Plan Your Money

 

เงินได้สุทธิ
(บาท)
ช่วงเงินได้สุทธิ
(บาท)
อัตราภาษีภาษีเต็มในแต่ละขั้น
(บาท)
150,000150,000ยกเว้น-
150,001-300,000150,00057,500
300,001-500,000200,0001020,000
500,001-750,000250,0001537,500
750,001-1,000,000250,0002050,000
1,000,001-2,000,0001,000,00025250,000
2,000,001-5,000,0003,000,00030900,000
5,000,001 บาทขึ้นไป-35-

 


ต้องยื่นภาษีแบบไหน


ผู้ขายของออนไลน์ที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลก็ต้องยื่นภาษี ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการขายของ ซึ่งจะต้องยื่นภาษี 2 รอบ

รอบแรก: สิ้นปี ยื่นช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค. (แบบ ภ.ง.ด. 90) จะเป็นการยื่นสรุปทั้งปีที่ผ่านมา

รอบสอง: กลางปี ยื่นช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. (แบบ ภ.ง.ด. 94) เป็นการยื่นสรุปรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) โดยสามารถใช้ค่าลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่ง เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 จะเหลือ 30,000

ส่วนผู้ขายของออนไลน์ อาจต้องจ่าย "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" ด้วย ในกรณีที่มีรายได้ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT โดยเสียภาษีอยู่ที่ 7% ของรายได้ ที่สำคัญคือจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน หลังจากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท 

 

ต้องรู้จัก "ภาษีอีเพย์เมนต์ e-Payment " 


ส่วนกรณีที่มีการซื้อขายหรือไม่ก็ตาม แต่มีการรับโอนเงินบ่อยครั้ง ข้อมูลในบัญชีนั้นจะถูกส่งให้สรรพากรตรวจสอบตามภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) ได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 62 โดยกำหนดให้ทางสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของร้านค้าให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ เมื่อเข้าเกณฑ์เงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. มีการฝากหรือรับโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดฝากต่อครั้ง หรือยอดรวมทั้งหมดจะเป็นกี่บาทก็ตาม
  2. มีการฝากหรือรับโอนเงินเข้าทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันทั้งหมดตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป

ซึ่งการนับจำนวนครั้งและจำนวนเงิน นับตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. ของทุกปี โดยผู้ที่ส่งข้อมูลจำนวนเงินและจำนวนครั้งในการโอนตามเกณฑ์นี้ให้กับสรรพากร คือ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์

โดยข้อมูลที่ต้องรายงานแก่สรรพากรคือ

  1. ชื่อเจ้าของบัญชี
  2. เลขประจำตัวประชาชน
  3. จำนวนครั้งที่ฝากหรือรับโอน (ยอดรวม)
  4. จำนวนเงินที่ฝากหรือรับโอน (ยอดรวม)

ทั้งนี้การตรวจสอบจะยังไม่ถือว่าเงินในบัญชีที่เข้าเกณฑ์เป็นรายได้ทั้งหมด จะต้องมีการวิเคราะห์กับข้อมูลอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ก่อนว่าเป็นรายได้ประเภทใด หากตรวจสอบพบว่าเป็นรายได้จริง 


3 ขั้นตอนเบื้องต้นรับมือจัดการเรื่องภาษี

ขั้นตอนที่ 1 จดบันทึกรายการซื้อ-ขายสินค้า เพื่อนำมาใช้ในการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการเรื่องเงินได้ง่ายขึ้นมาก

ขั้นตอนที่ 2 เก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน นอกจากจะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีเราแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเมื่อสรรพากรเข้ามาขอตรวจสอบอีกด้วย 

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาและติดตามข่าวสารทางด้านการเงินอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษี ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละปี เพราะหากไม่ได้ติดตามข่าวสารหรือขาดการศึกษาหาความรู้ทางด้านการเงินโดยละเอียดแล้ว อาจทำให้เราพลาดสูญเสียเงินจำนวนมากไปโดยใช่เหตุ อันเกิดจากความไม่รู้ของเรานั่นเอง

 

ข้อมูลจาก Krungsri Guru , กรมสรรพากร , bangkokbiznews

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง