รีเซต

เปิดภาพ "นกแก้วโม่ง" สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ฝูงสุดท้าย โผล่ จ. นนทบุรี

เปิดภาพ "นกแก้วโม่ง" สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ฝูงสุดท้าย โผล่ จ. นนทบุรี
TNN ช่อง16
16 กรกฎาคม 2564 ( 10:23 )
654
เปิดภาพ "นกแก้วโม่ง" สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ฝูงสุดท้าย โผล่ จ. นนทบุรี

แฟนเพจ นกแก้วโม่ง ฝูงสุดท้าย ได้โพสต์ภาพฝูงนกสุดน่ารัก นกแก้วโม่ง หรือ นกแก้วโมง ที่กำลังเกาะอยู่บนยอดต้นมะพร้าว บริเวณริมคลองบางกรวย ในวัดสวนใหญ่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี  ซึ่งต้องบอกว่า เป็นภาพที่ชมยากจริงๆ เพราะปัจจุบันเราแทบจะไม่เห็นนกสายพันธุ์นี้แล้ว 






นกแก้วโม่ง (อังกฤษ: Alexandrine parakeet, Alexandrine parrot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacula eupatria) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก-กลาง โดยมีชื่อสามัญตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วชนิดนี้กลับไปยังทวีปยุโรป


นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน


นกแก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 57-58 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว จะงอยปากมีลักษณะงุ้มใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนกโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่ปรากฏดังกล่าว



นกแก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่นิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพราะพบว่าเป็นนกแก้วที่มีความสามารถในการเลียนเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันนกแก้วโม่งจัดเป็นนกที่อยู่ในบัญชีคุ้มครอง 2 ของอนุสัญญาไซเตส รวมทั้งเป็นนกที่กฎหมายให้ความคุ้มครองในแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน


นกแก้วโม่งเป็นนกที่ได้รับการนำมาเพาะพันธุ์โดยมนุษย์ประสบผลสำเร็จ ทำให้แนวทางในลดปัญหาจากลักลอบจับหรือล่านกแก้วโม่งป่า เพื่อการค้า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น




ข่าวที่เกี่ยวข้อง