รีเซต

ภาษาไทยวันนี้ ขอเสนอคำว่า แซบ แซ่บ สรุปแบบไหนใช้ถูก?

ภาษาไทยวันนี้ ขอเสนอคำว่า แซบ แซ่บ สรุปแบบไหนใช้ถูก?
TeaC
10 สิงหาคม 2564 ( 11:30 )
17.3K
ภาษาไทยวันนี้ ขอเสนอคำว่า แซบ แซ่บ สรุปแบบไหนใช้ถูก?

แซบ แซ่บ  สรุปคำไหนใช้ถูก! กลายเป็นประเด็นร้อนแรง เมื่อเพจเฟซบุ๊ก Maepranom หรือ "แม่ประนอม" ฟาดสอนใช้คำไทยว่า "แซบ" กับ "แซ่บ" ต้องเขียนคำไหน จากเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสภา พุทธศักราช 2554 (เล่มล่าสุด) ค้นหาคำว่า "แซ่บ" ต้องเขียนแบบนี้จึงถูกต้อง แต่ก็มีประเด็นที่หลายคนก็สงสัยเพราะคำว่า "แซบ" ไม่มีไม้เอก ก็ค้นมาจากที่เดียวกัน TrueID จะพาไปหาคำตอบของเสน่ห์ภาษาไทยกัน

 

เมื่อค้นหาข้อมูลจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ออกมากำหนดคำดังกล่าวที่ถูกต้องเขียนว่า “แซ่บ” ในพจนานุกรมฯ พ.ศ. 2554 เล่มล่าสุด ซึ่งเปลี่ยนจากในอดีต ฉบับ พ.ศ. 2542 ที่สะกดว่า "แซบ" และเพจ คำไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสะกดคำว่า "แซ่บ" ต้องสะกดอย่างไรและเปลี่ยนแปลงในฉบับไหนอย่างไร โดยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีทั้งสิ้น 4 ฉบับ ซึ่งพบว่า 3 ฉบับแรกนั้นสะกดคำว่า "แซบ" (ไม่มีไม้เอก) และมีการอัปเดตการสะกดคำว่า "แซบ" (มีไม้เอก) ในฉบับล่าสุด 

 

  • ปี 2493 สะกดว่า “แซบ” (ไม่มีไม้เอก)
  • ปี 2525 สะกดว่า “แซบ” (ไม่มีไม้เอก)
  • ปี 2542 สะกดว่า “แซบ” (ไม่มีไม้เอก)
  • ปี 2554 สะกดว่า “แซ่บ” (มีไม้เอก)

 

ดังนั้น การใช้คำว่า "แซบ" ต้องยึดตามพจนานุกรรมฉบับล่าสุด ปี 2554 สะกดคำว่า "แซ่บ" (ที่มีไม้เอก)

 

เสน่ห์ "ภาษาไทย" 

 

รวมทั้ง ในทางภาษาศาสตร์ อักขรวิธี หมายถึงกฎการเขียนในภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น วิธีสะกดคำ วิธีกำหนดวรรคตอน ในระบบการเขียนที่สัญลักษณ์แต่ละตัวแทนเสียงในภาษานั้น หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียงด้วย เช่น ตัวอักษรตัวใดใช้แทนเสียงใด ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ระบุไว้ว่า

 

อักขรวิธี น. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).

 

และจากข้อมูลเว็บไซต์มติชนได้ระบุต่อว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นภาษาพูดย่อมมาก่อนภาษาเขียน การเขียนไม่ใช่ธรรมชาติ แต่เป็นการกำหนดของมนุษย์ว่าคำใดเขียนอย่างไรจึงจะสื่อสารกันได้ มนุษย์แต่ละภาษาย่อมพูดภาษาของตนได้ แต่เมื่อจะอ่านจะเขียนต้องเรียนตามที่บรรพบุรุษกำหนด โดยเริ่มจากการอ่านสิ่งที่เขียนไว้ก่อน แล้วจึงค่อยหัดเขียนเอง

 

ทั้งนี้ ภาษาไทยใช้ตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งในที่สุดก็กลายมาเป็นพยัญชนะ 44 ตัวดังในปัจจุบัน จาก ก ถึง ฮ แต่เมื่อเป็นพยัญชนะต้นก็ออกเสียงเพียง 21 เสียง ทำให้ผู้เรียนต้องจำว่า พยัญชนะใดออกเสียงเหมือนกันบ้าง เช่น ฐ ฑ (บางตัว) ฒ ถ ท ธ ออกเสียงเหมือนกัน ส่วนพยัญชนะที่อยู่ข้างหลังพยางค์หรือที่เรียกว่าตัวสะกดนั้นก็มีเพียง 8 แม่ คือ

 

  • แม่ กง ใช้ตัว ง สะกด เช่น กาง ขาง คาง
  • แม่ กน ใช้ตัว น สะกด เช่น กาน ขาน คาน
  • แม่ กม ใช้ตัว ม สะกด เช่น กาม ขาม คาม
  • แม่ กก ใช้ตัว ก สะกด เช่น กาก ขาก คาก
  • แม่ กด ใช้ตัว ด สะกด เช่น กาด ขาด คาด
  • แม่ กบ ใช้ตัว บ สะกด เช่น กาบ ขาบ คาบ
  • แม่ เกย ใช้ตัว ย สะกด เช่น กาย ขาย คาย
  • แม่ เกอว ใช้ตัว ว สะกด เช่น กาว ขาว คาว

 

และนี่คือเสน่ห์ของภาษาไทย ทั้งอ่าน เขียน พูด ที่ชวนให้นึกถึงการเริ่มหัดเรียนหนังสือ ซึ่งครูคนแรกก็คือ แม่ ของเรานี่เอง แม่ฟาด เพราะแม่รักอยากให้ลูกทำสิ่งที่ถูกต้อง

 

สรุปสะกดคำว่า "แซบ" (มีไม้เอก) นะลูก! เชื่อแม่

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง