รีเซต

นาทีประวัติศาสตร์ “อินเดีย” ทดสอบมิสไซล์เร็วที่สุดในโลกได้สำเร็จ !

นาทีประวัติศาสตร์ “อินเดีย” ทดสอบมิสไซล์เร็วที่สุดในโลกได้สำเร็จ !
TNN ช่อง16
30 พฤศจิกายน 2566 ( 13:54 )
61
นาทีประวัติศาสตร์ “อินเดีย” ทดสอบมิสไซล์เร็วที่สุดในโลกได้สำเร็จ !

กองทัพเรืออินเดีย (Indian Navy) ประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงขีปนาวุธแบบใหม่ล่าสุดของกองทัพที่พัฒนาร่วมกับรัสเซีย โดยยิงทดสอบบนเรือพิฆาตลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรืออินเดียเช่นกัน


ข้อมูลขีปนาวุธแบบใหม่ล่าสุดของกองทัพเรืออินเดีย

บราห์มอส (BrahMos) เป็นขีปนาวุธแบบร่อน (Cruise Missile) แบบใหม่ล่าสุด ซึ่งมีความเร็วเหนือเสียงอยู่ที่ประมาณ 3 มัค หรือ 3,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งมีการรายงานข่าวว่าเป็นขีปนาวุธแบบร่อนที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน ระบบนำวิถีในตัวจรวด หรือ homing system แบบ active radar ที่ทำงานร่วมกับระบบนำวิถีด้วยดาวเทียม


BrahMos เป็นขีปนาวุธแบบร่อนที่มีการทำงานแบบ 2 ระยะ ระยะแรกคือตัวเร่ง หรือบูสเตอร์ (Booster) ทำหน้าที่เร่งความเร็วตัวจรวดจากตัวฐานยิงโดยใช้เชื้อเพลิงแข็ง (Solid-fuel) อีกระยะเป็นตัวจรวดหลักที่ใช้เครื่องยนต์แบบแรมเจ็ต (Ramjet) หรือเครื่องเจ็ตอัดอากาศที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว (Fluid-fuel) โดยส่วนหัวมีการติดตั้งหัวรบขนาด 200 กิโลกรัม เอาไว้


การใช้งานขีปนาวุธแบบใหม่ล่าสุดของกองทัพเรืออินเดีย

การทดสอบการยิง BrahMos เกิดขึ้นบนเรือพิฆาตที่มีชื่อว่าไอเอ็นเอส อิมผาล (INS Imphal) ที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงของรัฐมณีปุระ รัฐทางตะวันออกของประเทศอินเดีย เป็นเรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีแบบล่องหนลำที่ 3 ในชั้นวิศาขาปัฏฏนัม (Visakhapatnam-class) มีระวางขับน้ำอยู่ที่ 7,400 ตัน ขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์กังหันแก๊สผสม (COGAG) ที่มีทั้งของอินเดีย (Bergen/GRSE KVM) และจากยูเครน (Zorya M36E)


ตัวเรือพิฆาตรองรับการยิง BrahMos สูงสุด 16 ชุด โดย BrahMos มีราคาตามรายงานข่าวในสื่อต่างประเทศประมาณลูกละ 3 -5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ105 - 175 ล้านบาท สามารถเลือกรูปแบบการใช้งานได้ทั้งขีปนาวุธที่ทำลายภาคพื้น (Land-attack missile) หรือขีปนาวุธต่อต้านยานผิวน้ำ (Anti-ship missile) และยังรองรับกายิงบารัก (Barak) จรวดต่อต้านอากาศยานที่พัฒนาร่วมกับอิสราเอลสูงสุด 32 ชุด โดย INS Imphal เริ่มต่อเรือตั้งแต่ปี 2019 และจะเข้าประจำการภายในสิ้นปี 2023 นี้



ที่มาข้อมูล Defence-blogWikipedia 

ที่มารูปภาพ Western Naval Command (Indian Navy)




ข่าวที่เกี่ยวข้อง