นักวิทย์รัสเซียพบ 'จุลินทรีย์ในอาร์กติก' หนุนปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, 1 มี.ค. (ซินหัว) -- สถาบันคูร์ชาตอฟ (Kurchatov Institute) ของรัสเซีย รายงานว่าคณะนักวิทยาศาสตร์ของรัสเซียค้นพบความหลากหลายและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในทะเลแบเรนตส์ (Barents Sea) เพิ่มขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอบอุ่นขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้อาร์กติกกลายเป็นแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์คณะนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ตัวอย่างดินที่เก็บระหว่างการสำรวจหมู่เกาะหลายแห่งในอาร์กติกเมื่อปีก่อน และค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และความหลากหลายของชุมชนจุลินทรีย์ในดินจากทะเลแบเรนตส์ผลการศึกษาพบว่ายิ่งอาร์กติกมีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นขึ้น ดินก็ยิ่งร้อนขึ้นอย่างชัดเจน นำสู่การเพิ่มขึ้นของความหลากหลายและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน โดยกิจกรรมของชุมชนจุลินทรีย์ได้เร่งการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งนำสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศทั้งนี้ ระบบนิเวศขั้วโลกเหนืออาจเปลี่ยนจากกแหล่งดูดซับและปกป้องสารอินทรีย์คาร์บอนกลายเป็นแหล่งกำเนิดสารอินทรีย์คาร์บอนแทน หากมีพัฒนาการเพิ่มเติม