รีเซต

'ส.อ.ท.'ตั้งคณะอนุกรรมการฯ รับมือโควิด เล็งประชุมนัดแรก28 เม.ย.นี้

'ส.อ.ท.'ตั้งคณะอนุกรรมการฯ รับมือโควิด เล็งประชุมนัดแรก28 เม.ย.นี้
มติชน
24 เมษายน 2563 ( 07:00 )
141
1
'ส.อ.ท.'ตั้งคณะอนุกรรมการฯ รับมือโควิด เล็งประชุมนัดแรก28 เม.ย.นี้

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า​ สำหรับ มาตรการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม ทาง ส.อ.ท. ในฐานะตัวแทนภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้เสนอต่อภาครัฐไปอย่างครบถ้วนแล้ว อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อออกเป็นมาตรการช่วยเหลือที่ครอบคลุมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้

สำหรับ ส.อ.ท.ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 7 คณะ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูหลังโควิด-19 โดยมีรองประธาน ส.อ.ท. เป็นประธาน โดยจะมีการประชุมนัดแรก ในวันที่ 28 เมษายนนี้ ร่วมกับตัวแทนของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม และหน่วยงานี่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมสมอง และรับมือกับการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมครั้งใหญ่

นายเกรียงไกร กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น อาทิ อาหาร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะฝั่งทวียุปโรป ที่ขาดแคลนสิ่งของที่จำเป็นเนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตมาอยู่ที่ทวีปเอเชียเป็นส่วนใหญ่ หลังจากการระบาดสิ้นสุดลงมีแนวโน้มสูงมากที่ประเทศเหล่านี้จะตั้งฐานการผลิตในประเทศของตนเองมากขึ้น

“จีนถือเป็นอีกหนึ่งประเทศหลักที่มีการส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ ไปยังทวีปยุปโรป แต่ตอนนี้ยังติดในเรื่อของการส่งออก ทำให้จีนเริ่มเบนเข็มมาที่เอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งหลังจากนี้ต้องระวังการไหลบ่าของสินค้าจากประเทศจีนมากขึ้น ซึ่งในการประชุมร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีการหารือเกี่ยวกับปัญหานี้ด้วย เนื่องจากไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกโดยรวมถึง 70% ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับให้มีการมีผลิตของที่ต้องนำเข้าให้มากขึ้นต่อไป” นายเกรียงไกรกล่าว

นอกจากนี้ ถึงแม้จะยังไม่สามารถประเมินได้ว่าสถานการณ์จะกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติได้เมื่อไหร่ หรือจนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคออกมา คาดว่าจะใช้เวลาในการทดลองประมาณ 1 ปี ซึ่งแน่นอนว่าไวรัสดังกล่าว จะอยู่จนถึงสินปีนี้แน่นอน แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะค่อยๆดีขึ้น แต่ทุกฝ่ายต้องมีการปรับตัว ในเบื้องต้นทาง ส.อ.ท.จะจัดทำคู่มือในการปฏิงานของแต่ละอุตสาหกรรมออกมา เพื่อให้ทุกธุรกิจยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้แบบไม่สะดุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง