รีเซต

'รักควรมีสองคน' รู้ไว้! ทะเบียนสมรสสำคัญมาก ถ้าอีกคนนอกใจ

'รักควรมีสองคน' รู้ไว้! ทะเบียนสมรสสำคัญมาก ถ้าอีกคนนอกใจ
TeaC
21 มิถุนายน 2566 ( 13:35 )
785

รักควรมีสองคน แต่เมื่อภรรยาและสามี (ตัวดี) นอกใจ! จำไว้ "ทะเบียนสมรส" ไม่ใช่แค่กระดาษ แต่คือจุดจบของคนตีท้ายครัว เนื่องจากเรื่องผัว ๆ เมีย ๆ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคู่ เกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว หากภรรยา หรือสามี ดันนอกใจ กลายเป็นปัยหาครอบครัวอันดับต้น ๆ ที่ปรากฎเป็นข่าวให้เห็น โดยเฉพาะผู้ชายนอกใจ แต่งงานซ้อนทั้งที่มีภรรยาเป็นตัวเป็นตน หรือแมนแบบผิดที่ผิดทางจนทำให้ครอบครัวพังทลาย สุดท้ายเหยื่อคือ "ลูกน้อย" 

 

ทะเบียนสมรส 2566

 

อย่างกรณีตัวอย่าง สามีพังบ้านยับ หลังพยายามพาเมียน้อยมาอยู่ที่บ้านร่วมกับเมียหลวง กลายเป็นปมร้อนแรงในรายการโหนกระแส ทางช่อง 3 สนั่นโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา และพร้อมเทใจ ส่งกำลังใจให้พิธีกรหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย แทน และที่ผ่านมาปัญหาความเจ้าชู้ของชายไทยที่มีภรรยาแล้ว จบลงด้วยการหย่าร้างกับคนเคยรักสุดท้ายเป็นคนอื่น และฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก "ภรรยา" ที่มี "สามีน้อย" หรือ "สามี" มีเมียหลวงคนเดียวไม่ได้ต้องไปมี "เมียน้อย" หรือที่เรียกว่ามี "ชู้" 

 

อ่านถึงตรงนี้แล้ว หนุ่มสาวพอจะรู้แล้วใช่ไหมว่า "ทะเบียนสมรส" ไม่ใช่แค่กระดาษ แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้เพื่อฟ้องร้องให้เหล่า "ชู้" ทั้งหลายได้รับบทลงโทษของการตีท้ายครัว วันนี้ TrueID รวบรวมข้อดีของการจดทะเบียนสมรส ก่อนแต่งงานจะได้รู้ไว้ เพราะอย่าลืมไม่มีอะไรแน่นอนทั้งนั้น คนเราเปลี่ยนทุกวัน สุดท้ายพอเขาเปลี่ยนใจ ก็กลายเป็น "คนรู้จัก" หรือ "คนอื่น"

 

ทะเบียนสมรส คืออะไร? สำคัญอย่างไรฦ เมื่อรักควรมีสองคน แต่กลายเป็นสามคน

 

สำหรับทะเบียนสมรส เป็น เอกสารทางกฎหมายเพื่อยืนยันสถานะการสมรสของบุคคลสองคน ไม่ใช่สามคนนะ ให้มีสถานะเป็นสามี-ภรรยา หรือคู่ชีวิต ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย ซึ่งทำให้การกระทำบางอย่างในทางกฎหมาย เช่น การกู้ยืม การครอบครองทรัพย์สินสมรส การครอบครองสินทรัพย์ ต่อให้เป็นการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่จะมีผลผูกพันทั้งสองคนทันที

 

สาเหตุการจดทะเบียนสมรสมีหลากหลายมาก เช่น การป้องกันการสมรสซ้อน การถือสิทธิ์ในการดูแลบุตร การลดหย่อนภาษี การกู้ยืม การเบิกประกัน การเบิกสวัสดิการแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส การยินยอมให้รักษาพยาบาล สินสมรส มรดก เป็นต้น

 

ซึ่งถือเป็นหลักประกันให้สามีและภรรยาที่หากวันใดมีบุคคลที่สาม หรือเมียน้อย สามีน้อยทั้งหลายมาแย่งสินสมรส หากพบว่าได้อยู่กินกับภรรยา หรือสามีของเราอย่างเปิดเผย มีหลักฐานทั้งรูปถ่าย เช่่น สามีไปรับไปส่งเมียน้อย หรือมีความสัมพันธ์เปิดเผย หรือมีการจ่ายค่าเลี้ยง เป็นต้น เมียหลวงก็สามารถยื่นฟ้องเรียกค่าทดแทนบุคคลที่สาม (เมียน้อย) ที่มาแย่งสินสมรสได้เลย หรือจะฟ้องสามีเพื่อนำไปสู่การหย่าร้าง หรือขอแบ่งสินสมรส หรือขอค่าทดแทนก็ได้ด้วยเช่นกัน

 

 

 

เห็นไหมว่า กระดาษใบเดียวสำคัญมากต่อชีวิตคู่ที่เมียหลวง หรือสามีหลวง เอาผิดเมียน้อย สามีน้อย มือที่สามที่เข้ามาสร้างปัญหาในครอบครัวให้แตกหัก หรือคน (ตัวดี) ของเราที่ขาดจิตสำนึกที่ดี สะบั้นทำลายครอบครัวให้พังทลายได้ ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ควรรักษาไว้ป้องกันเมียหลวงและลูก อย่าปล่อยเลยผ่าน อย่ามองเป็นเรื่องยุ่งยาก หรือเสียเวลา

 

จดทะเบียนสมรสคุณสมบัติมีอะไรบ้าง?

 

ใครที่กำลังจะเตรียมแต่งงานและกำลังศึกษาการจดทะเบียนสมรส มาดูกันหน่อยว่าหากจะขอจดทะเบียนสมรสได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง 

 

  • ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงม่ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
* มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

  • ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย 

 

จดทะเบียนสมรส ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

 

  • บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

 

จดทะเบียนสมรส มี 6 ขั้นตอน 

 

เมื่อตัดสินใจจดทะเบียนสมรส และเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว มาทำความเข้าใจกับ 6 ขั้นตอนในการจดทะเบียนสมรสกันเลยดีกว่า


1. เตรียมเอกสารทั้งหมดให้พร้อม ไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนใกล้บ้าน จดทะเบียนสมรสที่ไหน โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้

 

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานของผู้ขอจดทะเบียนสมรส พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน

 

3. นายทะเบียนพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนสมรส

 

4. นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบียนสมรส

 

5. นายทะเบียนลงรายการพิมพ์ข้อความในทะเบียนสมรส และใบสำคัญสมรส เรื่องทรัพย์สินและเรื่องอื่นๆ ก่อนลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส และมอบทะเบียนสมรสให้กับคู่สามีภรรยาคนละฉบับ

 

6. นายทะเบียนเก็บรักษาทะเบียนสมรส (คร.2) ไว้

 

รู้แบบนี้แล้วกอดทะเบียนสมรสให้แน่นสุด ๆ เลยนะ ไว้งัดมาใช้เมื่อสามี (ตัวดี) นอกใจ หรือสาว ๆ คนไหนที่กำลังมีปัญหาจากรักควรมีสองคน อยู่ ๆ มาเป็นเราสามคน สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ โทร.0-2241-0737 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ "เพื่อนครอบครัว.com" ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 

 

เพราะรักควรมีสองคน นะจ๊ะ

 

ข้อมูล : สำนักบริหารการทะเบียน

 

 

คลิก! ฟังเพลงออนไลน์ เพลงรักควรมีสองคน

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง