รีเซต

ข้อควรระวัง หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้

ข้อควรระวัง หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้
TrueID
6 กรกฎาคม 2564 ( 15:12 )
1.1K

จากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ทำให้เกิดความเสียหาย และมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น อุบัติเหตุเพลิงไหม้มักก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม หากเพลิงไหม้ลุกลาม แพร่กระจายในวงกว้างก็จะยิ่งเป็นอันตรายร้ายแรง ดังนั้น การปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้


จึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยควบคุม และระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ควรดําเนินการดังต่อไปนี้

 

 1. ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้


 1.1 แจ้งเหตุด้วยสัญญาณเตือนภัย และแจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้คนรอบข้างทราบ


 1.2 แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่อหน่วยระงับเหตุฉุกเฉินขององค์กร โดยแจ้งข้อมูลสําคัญให้ทราบดังนี้ - ประเภทของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น เช่น เพลิงไหม้ ระเบิด สารเคมีหกรั่วไหล เป็นต้น


 - สถานที่เกิดเหตุฉุกเฉิน โดยระบุอาคารและบริเวณตําแหน่งที่เกิดเพลิงไหม้ให้ชัดเจน
 เวลาทีเกิดเหตุ
 - สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ (ถ้าทราบสาเหตุ)
 - แจ้งชื่อผู้แจ้งเหตุ สถานที่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้แจ้งเหตุ หรือหมายเลขที่สามารถ
 ติดต่อกลับได้
 - อย่าวางสายโทรศัพท์ก่อนผู้รับแจ้งเหตุ เนื่องจากผู้รับแจ้งเหตุอาจต้องการสอบถาม
 รายละเอียดเพิ่มเติม


 1.3 หยุดกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตราย


 1.4 ในกรณีเพลิงไหม้เล็กน้อย อาจใช้เครื่องดับเพลิงที่อยู่ใกล้เคียงระงับเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น หากทําได้โดยไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ควรได้รับการอบรมการใช้เครื่องดับเพลิงมาแล้ว


 1.5 หากไม่สามารถดับเพลิงในเบื้องต้นได้ ให้ปิดประตู และหนีออกจากที่เกิดเหตุทันที

 


 2. การอพยพหนีไฟ


 เมื่อได้รับทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ให้อพยพออกจากบริเวณที่เกิดเหตุทันที และเพื่อ
 ความปลอดภัย ควรปฏิบัติดังนี้


 2.1 อพยพออกจากที่เกิดเหตุทางบันได ไปตามเส้นทางหนีไฟที่ไปยังทางออกที่ใกล้ที่สุด ห้าม
 ใช้ลิฟต์


 2.2 อย่านําสิ่งของขนาดใหญ่ติดตัวไปด้วย ขณะอพยพหนีไฟ

 

 2.3 อพยพออกจากที่เกิดเหตุอย่างเป็นระเบียบ อย่าวิ่ง หรือผลักกัน


 2.4 เมื่ออพยพออกจากที่เกิดเหตุให้ไปยังจุดรวมพล (บริเวณที่ปลอดภัย) ที่กําหนดไว้ อย่ากลับ
 เข้าไปที่เกิดเหตุอีก จนกว่าจะได้รับแจ้งว่าเหตุการณ์สงบและเข้าสู่สภาวะปกติ 

 

 

3. การระงับเหตุเพลิงไหม้


 ผู้ปฏิบัติการระงับเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้


 3.1 เตรียมตัวให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิง และไปยังที่
 เกิดเหตุโดยเร็วที่สุดที่จะทําได้


 3.2 ตรวจสอบเพื่อให้ทราบประเภทของเพลิงไหม้ และประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของ
 เพลิงไหม้


 3.3 ดับเพลิงโดยใช้เครื่องดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมกับประเภทของเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น


 3.4 ในกรณีที่เพลิงไหม้เนื่องจากสารเคมีหกรั่วไหล


 - กําหนดเขตพื้นที่อันตราย กั้นแยกพื้นที่ไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้า-ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ
 - พิสูจน์ทราบว่าสารเคมีที่หกรั่วไหลเป็นสารเคมีชนิดใด โดยพิจารณาจากฉลากที่ปิดข้าง
 ภาชนะบรรจุสารเคมี
 - ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้


 1) สารดังกล่าวติดไฟ หรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดการติดไฟในบริเวณนั้นหรือไม่


 2) สารดังกล่าวเป็นสารระเหยหรือไม่


 3) สารดังกล่าวเป็นพิษหรือไม่


 4) สภาพภูมิอากาศในขณะนั้นอย่างไร เช่น ทิศทางลม, ความเร็วลม เป็นต้น


 5) อันตรายที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อสิ่งใดบ้าง เช่น คน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม


 6) อะไรที่ควรจะต้องดําเนินการ ตามลําดับก่อนและหลัง เช่น มีความจําเป็นในการ อพยพผู้คนหรือไม่ ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ใดในการระงับภัย


 7) การเข้าระงับเหตุจะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอะไรบ้าง


 8) อะไรคือแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุดในการระงับอุบัติภัย


 - จํากัดการหกรั่วไหลของสารเคมี หากทําได้โดยไม่เป็นอันตราย และอพยพผู้ไม่เกี่ยวข้อง
 ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ
 - เข้าดําเนินการระงับเหตุฉุกเฉินด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมี

 


 4. การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ


 ในกรณีที่พบผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้


 4.1 แจ้งหน่วยระงับเหตุฉุกเฉินขององค์กรให้ทราบตําแหน่ง และบริเวณที่พบผู้บาดเจ็บ เพื่อให้
 ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บสามารถเข้าช่วยเหลือได้โดยเร็ว


 4.2 อย่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยไม่ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง การช่วยเหลืออย่างไม่ถูกวิธีอาจเป็น
 อันตราย ต่อผู้บาดเจ็บได้


 4.3 อย่าเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ หากไม่จําเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณ
 กระดูกและกระดูกสันหลัง


 4.4 ทําการปฐมพยาบาลในกรณีที่จําเป็น เช่น สารเคมีเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ําสะอาด เป็นแผล
 เลือดออก มากให้ใช้ผ้าสะอาดกดที่ปากแผลเพื่อห้ามเลือด เป็นต้น

 

5. บทสรุป


 โดยทั่วไปเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ พนักงานภายในองค์กรมักจะตื่นตกใจ ทําให้เกิดความวุ่นวาย
 ทั้งในเรื่องการอพยพหนีไฟ การดับเพลิง และการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ทําให้ไม่สามารถระงับเหตุได้อย่าง
 รวดเร็ว และก่อให้ เกิดความเสียหายขึ้น ดังนั้นองค์กรควรจะมีการกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ
 เพลิงไหม้ที่ถูกต้อง และจัดให้มีการฝึกซ้อมเป็นประจํา เพื่อให้พนักงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตอบ
 โต้ภาวะฉุกเฉินมีความชํานาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการอพยพผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
 จากบริเวณที่เกิดเหตุได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ องค์กรควรจะมีการจัดระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกัน
 และระงับเหตุเพลิงไหม้ที่ดีด้วย

 

ข้อมูล : กลุ่มความปลอดภัยสารเคมี

ภาพโดย Hjörleifur Sveinbjörnsson จาก Pixabay 

ข่าวเกี่ยวข้อง : 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง