รีเซต

บล.กสิกรฯ ชี้ ไทยยังไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว

บล.กสิกรฯ ชี้ ไทยยังไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว
ทันหุ้น
14 ธันวาคม 2566 ( 13:11 )
36

#ดอกเบี้ย #ทันหุ้น - บล.กสิกรไทยระบุว่า ธปท.คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องในระดับปานกลาง และปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตน่าจะสมดุลมากขึ้นในปี 2567 คาดอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเชิงอนุรักษ์นิยมตามราคาอาหารที่สูงขึ้น ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง และการอุดหนุนค่าไฟของรัฐบาลที่กำลังจะสิ้นสุดลงธปท.อาจอยู่ในกลุ่มธนาคารกลางกลุ่มสุดท้ายที่ลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากความล่าช้าในเรื่องจังหวะเวลา และปริมาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบสุดท้าย

 

Key message

อยู่บนเส้นทางการฟื้นตัว แต่ในระดับที่ช้ากว่าคาด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่บนเส้นทางของการฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวดูไม่ทั่วถึงและช้ากว่าคาด เห็นได้จาก GDP ไทยเติบโตเพียง 1.5% YoY ในไตรมาส 3 / 2566 ซึ่งไม่เพียงแต่จะอ่อนแอกว่าช่วงก่อน แต่ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้อีกด้วย ธปท.มองว่าหลังการระบาดของโควิด-19 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจถูกนำจากด้านอุปสงค์เป็นหลักเช่น การบริโภค การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออก แต่ในแง่ของอุปทาน โดยเฉพาะภาคการผลิตยังคงฟื้นตัวช้า ด้านแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คาดว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้น โดยมองเงินเฟ้อปีนี้จบปีที่ 1.3% ในปี 2566 และเพิ่มขึ้นเป็น 2.0% ในปี 2567 ตามราคาอาหารที่สูงขึ้นจากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนี โญ ราคาพลังงานที่สูงขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดในตะวันออกกลางและมาตรการอุดหนุนค่าไฟฟ้าและพลังงานของรัฐบาลที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปีหน้า สถานการณ์ทางการเงินมีความเข้มงวดขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น 200bps จากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% เป็น 2.50% แต่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารยังคงค่อนข้างผ่อนคลาย ดังนั้น ธปท.จึงเชื่อว่านโยบายการเนในปัจจุบันน่าจะมีความเหมาะสมหรือเป็นกลางในการรองรับการเติบโตทางเศษฐกิจในระยะยาว และเสถียรภาพของระบบการเงิน

 

การฟื้นตัวที่สมดุลมากขึ้นในปี 2567หากมองไปข้างหน้า ธปท.คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในระดับปานกลาง และปัจจัยขับเคลื่อนหลักมีแนวโน้มที่จะมีความสมดุลมากขึ้น ธปท.คาดว่า GDP ของประเทศไทย FY2566-67 จะเติบโตที่ 2.4% และ 3.2% (3.8% หากมีการใช้นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล) ลดลงจาก 2.8 และ 4.4 (รวมผลของนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล) ของประมาณการครั้งก่อน การบริโภคและการลงทุนภาคเอชนคาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับที่ดีประมาณ 3% ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐอาจเติบโตได้เล็กน้อยที่ประมาณ 1-2% จากความล่าช้าในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ขณะที่การส่งออกอาจได้รับแรงหนุนให้ฟื้นตัวได้ประมาณ 5% จากฐานที่ต่ำและการฟื้นตัวของการค้าโลก ด้านการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวอาจกินเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่ง ธปท.คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้ในปี 2568 โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่ 28.3 ล้านคน ในปี 2566 และ 34.5 ล้านคนในปี 2567 ลดลงเล็กน้อยจาก 28.5 ล้านคน และ 35.0 ล้านคน ในการคาดการณ์ครั้งก่อน ทั้งนี้ ธปท. คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจีนจะอยู่ที่ 3.5 ล้านคนและ 6.2 ล้านคน ในปี 2566-67 ลดลงจากสมมติฐานเดิมที่ 3.9 ล้านคนและ 7.5 ล้านคน โดยการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องที่ยวที่ค่อนข้างช้ามีสาเหตุเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลจีนที่สนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ

 

Implications and outlook

ธปท.อาจเป็นหนึ่งในธนาคารกลุ่มสุดท้ายที่จะเข้าร่วมวัฏจักรการลดอัตราดอกเบี้ย ในมุมมองของบล.กสิกรไทย นักลงทุนไม่ควรคาดหวังที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก ธปท.ในเร็วๆ นี้ หากมองในกรณีฐานของเรา เราเชื่อว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% จนถึงปี 2567 โดยเรามองเห็นโอกาสเล็กน้อยในการลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ซึ่งถ้ามีการลดจริงน่าจะเกิดได้ในช่วงปลายปี 2567 เนื่องจาก ธปท.ไม่เพียงแต่ล่าช้าในแง่ของจังหวะเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบที่ผ่านมาเท่านั้น แต่จำนวนครั้งของการปรับขึ้นก็น้อยกว่าอีกด้วย โดยธนาคารกลางบางแห่งเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปี 2564 และธนาคารกลางสำคัญๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เริ่มปรับขึ้นในช่วงกลางปี 2565 ขณะที่ ธปท.เริ่มในช่วงเดือน ส.ค. 2565 โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 489bps แต่ ธปท.ปรับขึ้น 200bps จาก 0.50% เป็น 2.50% ในเดือน ก.ย.2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เราพบว่าวัฏจักรนโยบายการเงินที่ผ่าน ธปท.มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ณ จุดสูงสุดของรอบประมาณ 3-4 ไตรมาส ก่อนที่จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ ธปท.คัดเลือกบอร์ดสายเหยี่ยวกลับสู่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง. ซึ่งอาจทำให้ กนง.มีแนวคิดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับปานกลางเพราะขึ้นดอกเบี้ยมาน้อยและอยู่ในระดับที่เรียกว่า neutral ขณะที่อาจมองธนาคารกลางอื่นขึ้นดอกเบี้ยมามากและอยู่ในระดับที่สูงเข้มงวดเกินไปจึงต้องปรับลงเร็วกกว่าไทย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง