รีเซต

"เช็คเงินเยียวยา" ม.39 ติดโควิดได้เงินชดเชยวันละ 80 บาท ม.40 ได้เงิน 200-300 บาท ต้องทำอย่างไร

"เช็คเงินเยียวยา" ม.39 ติดโควิดได้เงินชดเชยวันละ 80 บาท ม.40 ได้เงิน 200-300 บาท ต้องทำอย่างไร
Ingonn
23 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:38 )
18.1K
1
"เช็คเงินเยียวยา" ม.39 ติดโควิดได้เงินชดเชยวันละ 80 บาท ม.40 ได้เงิน 200-300 บาท ต้องทำอย่างไร

ในช่วงที่เข้าสู่ “โควิดระดับ 4” เนื่องจากโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” หรือ “โอไมครอน” ระบาดหนัก ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น สำนักงานประกันสังคม จึงเปิดวิธียื่นรับเงินเยียวยาประกันสังคม ชดเชยกรณีติดเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตน โดย ม.39 จะได้เงินชดเชยวันละ 80 บาท ส่วน ม.40 ได้ 200-300 บาท จะมีวิธีคิดอย่างไร และยื่นเรื่องขอเงินชดเชยได้ที่นี่ไหน ไปดูกัน


มาตรา 39 ติดโควิด ได้เงินเยียวยาวันละ 80 บาท

มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ   


เมื่อ ม.39 ติดโควิดจะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดย คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

 

โดยจะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

วิธีคำนวณเงินเยียวยา

โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นแพทย์วินิจฉัยให้เป็นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วันต่อปีปฏิทิน สูตรการคำนวณให้ใช้ฐานค่าจ้าง 4,800 ÷ 30 วัน จะได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 160 × 50% = 80 บาท 

 

มาตรา 40 ติดโควิด ได้เงินเยียวยา 200-300 บาท ตามทางเลือก

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39  โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ 

 

เมื่อ ม.40 ติดโควิด จะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3 พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ 

 

วิธีคำนวณเงินเยียวยา

ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 จะมี 3 ทางเลือก โดยทางเลือกที่ 1 และ ทางเลือกที่ 2 คือ ผู้ป่วยในนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไปได้ค่าชดเชยวันละ 300 บาท ได้ ถ้าไม่นอนโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จ่ายค่าชดเชยวันละ 200 บาท ทั้งหมดรวมกันแล้วปีละ ไม่เกิน  30 วัน / ปี 


ทางเลือกที่ 3 ผู้ป่วยในนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไปได้ค่าชดเชยวันละ 300 บาท ได้ ถ้าไม่นอนโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จ่ายค่าชดเชยวันละ 200 บาท ทั้งหมดรวมกันปีละไม่เกิน 90 วัน /ปี 

 

เอกสารที่ต้องใช้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม

  1. ใบรับรองแพทย์
  2. แบบฟอร์ม สปส 2-0.1
  3. สำเนาบัตรประชาชน
  4. สำเนาบัญชีธนาคาร


ขั้นตอนการขอรับเงินเยียวยา ประกันสังคม หากติดโควิด

เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับผู้ประกันตนที่ที่มีการใช้สิทธิ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข

 

การจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะโอนเข้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ 4 ธนาคาร คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร , ธนาคารกรุงไทย,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารออมสิน (ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ)

 

ข้อมูล สำนักงานประกันสังคม

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง