รีเซต

"บุหรี่ไฟฟ้า ซิกก้า" ที่ประชุมไม่เห็นชอบนำเข้า-จำหน่ายที่มีส่วนผสมกัญชา

"บุหรี่ไฟฟ้า ซิกก้า" ที่ประชุมไม่เห็นชอบนำเข้า-จำหน่ายที่มีส่วนผสมกัญชา
TNN ช่อง16
21 กรกฎาคม 2565 ( 17:10 )
337
"บุหรี่ไฟฟ้า ซิกก้า" ที่ประชุมไม่เห็นชอบนำเข้า-จำหน่ายที่มีส่วนผสมกัญชา

วันนี้( 21 ก.ค.65) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 


โดยนายอนุทิน ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ไม่เห็นชอบการนำเข้า จำหน่าย บุหรีไฟฟ้า ซึ่งรวมถึง ซิกาแรต และซิก้า ที่มีส่วนผสมของกัญชา เพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ รวมถึงวางแนวทางควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งกระทรวงสาธารรสุขเตรียมออกร่างประกาศ กฎกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การออกใบรับรอง และอัตราค่าทำเนียบ และห้ามนำเข้า ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีส่วนผสม THC และ CBD เป็นส่วนประกอบ เพื่อป้องกันการใช้ที่ไม่เหมาะสม 


เรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งดำเนินการ ควบคุมการจำหน่ายและปราบปรามการลักลอบนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้มีการแต่งตั้งนางสาว ปนัดดา วงศ์ผู้ดี เป็นโฆษกคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 


ส่วนกรณีการจำหน่ายและการสูบกัญชาของ เด็ก ป.6 ที่จังหวัดลำปาง นายอนุทิน ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข มีประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุขที่ชัดเจน ในการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งหากพบการกระทำผิด ที่โรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบไม่เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข โดยเรื่องดังกล่าวจะมีการนำเข้าเสนอในการพิจารณา ร่างพระราชบัญญติ กัญชา และกัญชง พร้อมย้ำว่า เจตนารมณ์ของกระทรวงสาธารณสุขจะต้องใช้กัญชาทางการแพทย์ ไม่สนับสนุนสันทนาการ 


สำหรับร่างพระราชบัญญติ กัญชา-กัญชง ของภูมิใจไทย ได้มีการนำเสนอต่อที่ครม.ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแปลญัตติของคณะกรรมมาธิการ โดยยืนยันว่าไม่มีข้อความใดที่เกี่ยวข้องการใช้กัญชา-กัญชงเพื่อสันทนาการ 


กรณีการปลดล็อคให้คลินิกเอกชนจัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ โมนูลพิราเวียร์ จะมีการควบคุมราคายาหรือไม่ นายอนุทิน ระบุว่า การใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาโรคโควิด-19 รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบการรักษาทั้งหมด หากมารักษาในสถานพยาบาลของรัฐ ตามสิทธิของตนเอง จะไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่คลินิกเอกชนจัดซื้อยาจากบริษัทยาเอง ซึ่งกรอบราคากลางในส่วนนี้อยู่นอกเหนืออำนาจกระทรวงสาธารณสุข เพราะเมื่อผู้ซื้อและผู้ขายตกลงการซื้อหาร่วมกัน ก็อยู่นอกเหนือการควบคุมของภาครัฐ


อย่างไรก็ตามยาต้านไวรัส เป็นยาที่ถูกขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน หากสถานพยาบาลเอกชน จะนำเข้ามาเอง จะต้องติดต่อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตยาเท่านั้น ขณะที่ประชาชนไม่สามารถซื้อยาข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้เองได้ เพราะว่าถือว่าผิดกฎหมาย และยืนยันว่า ยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ในประเทศมีเพียงพอ 


ขณะที่กรณีแพทย์ชนบท  ออกมาโพสต์ข้อความว่า คลินิกเอกชนสามารถจัดซื้อยาต้านไวรัสที่รักษาโควิด-19 ได้ถูกกว่าภาครัฐ นายอนุทินระบุว่า ไม่ทราบและไม่สนใจในข้อมูลดังกล่าวเพราะไม่ใช่หน้าที่ โดยยืนยันว่า กระทรวงสาธารณสุ จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์โดยมีขั้นตอน ซึ่งประธานชมรมแพทย์ชนบท ก็คือ ข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขก็ต้องให้ความเครพต่อดุลพินิจของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นผู้บังคับบังชา ซึ่งหากแพทย์ชนบทอยาก รู้ ต้องลาออกมาเป็นคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งใช้สิทธิ์ตามกฎหมายมาตั้งคำถาม 




ภาพจาก AFP



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง