หนุ่มโชว์ "มือ" งอนิ้วไม่ได้ เพราะไร้ "ข้อต่อ" ตรงกลาง ความผิดปกติหายากยิ่ง
หนุ่มโชว์ "มือ" - ลองจินตนาการว่า หากคุณไม่มีข้อต่อกลางนิ้วมือ ชีวิตน่าจะยุ่งยากขึ้นหลายเท่า การใช้มือแบบปกติ เช่น เขียน และแม้แต่การ พิมพ์ดีด บนแป้นพิมพ์ แทบจะไม่สามารถทำได้เลย ทว่าบนโลกนี้มีคนเกิดมาพร้อมความผิดปกติและใช้ชีวิตอยู่ทั่วไป
เมื่อไม่นานนี้ ผู้ใช้ เรดดิต ในนาม JayFayad (เจย์ฟายัด) โพสต์ภาพถ่ายมือตัวเองซึ่งนิ้วมือทั้งห้าไม่มีข้อต่อตรงกลาง จึงไม่สามารถงอนิ้วมือได้เหมือนคนอื่นๆ
ความผิดปกติเป็นโรคทางพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า symphalangism ซึ่งหายากยิ่ง จนน้อยคนจะรู้จัก ทำให้โพสต์ของ JayFayad กลายเป็นไวรัลทันที ด้วยยอดถูกใจทะลุ 60,000 คน พร้อมคอมเมนต์คำถามมากมายว่า เจ้าตัวใช้ชีวิตอย่างไร
"ผมสามารถจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่เวลาพิมพ์ดีดหรือเขียนบางครั้งยากมากๆ ขวดโหลแตงกวาดอง ผมต้องเปิด 1-2 ครั้ง แต่สิ่งที่ไม่สะดวกที่สุดคือเวลาปากกาและดินสอหลุดจากมือผม ทั้งหมดเป็นเพราะว่าผมไม่สามารถจับปากกาให้แน่นได้ แต่นิ้วของผมดูจะทรงตัวได้ดี" JayFayad กล่าว
"ผมไม่รู้หรอกว่า มือธรรมดาเป็นอย่างไร ดังนั้น สำหรับผมแล้ว มือผมเป็นมือดูปกติสมบูรณ์ ผมไม่รู้สึกถูกจำกัดอย่างแน่นอน เนื่องจากผมเคยไม่มีทางเลือกอื่น ส่วนการใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องยาก" JayFayad กล่าว
อย่างไรก็ตาม JayFayad บอกว่า บางครั้งรู้สึกไม่ดีเนื่องจากมือเป็นแบบนี้ กีฬาบางประเภทเลี่ยงได้เป็นการดีที่สุด
"ผมเคยแม้กระทั่งเบสบอล ทว่าตอนอายุ 7 หรือ 8 ชวบ โค้ชคนหนึ่งตะโกนบอกผมหลายครั้งมาก ให้ผมจับไม้เบสบอล "แบบปกติ" แต่ผมทำไม่ได้ โค้ชจึงโกรธมากและพยายามดันนิ้วทั้งมือผมลงมา เพื่อจะได้จับไม้เบสบอลให้กระชับ แต่แลกมาด้วยความเจ็บปวด ส่วนอเมริกันฟุตบอลและฮอกกีเป็นกีฬาที่เหมาะกับผมเช่นกัน" JayFayad กล่าว
นอกจากนี้ ผู้ใช้เรดดิตหลายคนที่มีนิ้วไร้ข้อต่อตรงกลางเข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วย ขณะที่ JayFayad ประหลาดใจเพราะแน่ใจว่าความผิดปกตินี้เกี่ยวกับครอบครัว
"นี่คือ ความผิดปกติที่เป็นกรรมพันธุ์ (genetic predisposition) จากฝั่งพ่อผม ย่าผมและพี่น้องของย่า 4 คน จาก 8 คน มีความผิดปกตินี้ ซึ่งถูกส่งต่อมาที่พ่อผม แต่พี่น้องพ่อไม่มี แล้วส่งต่อมาที่ผม ส่วนน้องสาวของผมทุกอย่างปกติดี ผมคิดว่าโอกาสคือ 50/50 แต่จริงๆ ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย" JayFayad กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
รู้จัก "โรคชราในเด็ก" โรคหายากพบ 1 ต่อ 8 ล้านคน พร้อมวิธีสังเกต-วิธีป้องกัน