รีเซต

Tech behind the scene เส้นทางสายโปรดักซ์ตัวพ่อ ! จากนักพัฒนาสู่ผู้บริหารใน 2 ปี

Tech behind the scene เส้นทางสายโปรดักซ์ตัวพ่อ ! จากนักพัฒนาสู่ผู้บริหารใน 2 ปี
TNN ช่อง16
12 สิงหาคม 2566 ( 14:48 )
99

CPO vs Head of Product หน้าที่แตกต่างกันยังไง ?


หัวหน้าทีมฝ่ายผลิตภัณฑ์ (Head of Product) จะดูผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม เน้นวางแผนงาน (Roadmap) เป็นหลัก ส่วนผู้นำการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ (Chief of Product Officer) จะดูเรื่องการเงิน (Financial) ภารกิจ (Mission) และวิสัยทัศน์ (Vision) ของบริษัท เพื่อให้หัวหน้าทีม หรือผู้จัดการนำไปต่อยอดในการสร้างผลิตภัณฑ์ได้ 


ผู้นำการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ (Chief of Product Officer) ต้องวางแผนตั้งแต่ทิศทางของบริษัท ความต้องการให้ตัวผลิตภัณฑ์เติบโตไปในทิศทางใด ต้องการขยายตลาดด้วยผลิตภัณฑ์เดิมหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการวิเคราะห์ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นด้วย โดยอาศัยการมองภาพกว้าง กำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง ทั้งปัจจุบันและอนาคต ส่วนหัวหน้าทีมฝ่ายผลิตภัณฑ์ (Head of Product) อาจต้องดูผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย


สิ่งที่ทำให้รู้สึกดีในวันที่เป็นผู้นำการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ (Chief of Product Officer) คือ ความยินดีร่วมกับทีมที่สร้างผลิตภัณฑ์ออกมาแล้วมีคุณค่ากับผู้ใช้งานจริง การมีทีมทำให้ขยายตัวได้เร็วขึ้นกว่าการทำงานเพียงคนเดียว 


3 คุณสมบัติหลักที่ Product Manager ต้องมี


ทักษะที่มองหา ทักษะแรก คือ ต้องมีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ทั้งกับลูกค้า ฟรีแลนซ์ (Freelance) และคนภายในองค์กร ซึ่งการเอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้รู้ว่าคนนั้นกำลังประสบปัญหาอะไร และลองหาวิธีแก้ปัญหาในแบบของตัวเอง ทักษะต่อมา คือ การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Management) โดยแนวคิดของการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Management) คือ การรักษาสมดุลของทั้งผู้ใช้ (User) ธุรกิจ (Business) และเทคโนโลยี (Teach) ทักษะที่ 3 คือ การมีความรู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น บริษัท Fastwork เป็นธุรกิจที่คล้ายคลึงกับอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) แต่เป็นรูปแบบบริการ ผู้สมัครควรมีความรู้เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เพื่อที่จะสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว 


ผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) ต้องเข้าใจกลยุทธ์ทางธุรกิจ และทิศทางของบริษัทค่อนข้างมาก รวมถึงการรักษาความลับของบริษัทด้วยจึงจำเป็นต้องมี 3 ทักษะดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีเรื่องพื้นฐานอื่น ๆ  เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้านการออกแบบ หรือด้านธุรกิจเป็นพื้นฐานอยู่แล้วก็จะได้เปรียบมากขึ้น


หากอยากเป็นผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) อาจลองเริ่มต้นจากการศึกษาและก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยของตนเอง (Safe Zone) โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พร้อม 100% หากถึงวันที่โอกาสมาถึงแล้ว และเราเตรียมตัวมาแล้วในระดับหนึ่ง ก็ควรที่จะคว้าโอกาสนั้นเอาไว้


ฟรีแลนซ์ Product Manager ปังหรือแป้กในเมืองไทย


การเติบโตของตลาดผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) ยังมีการเติบโตที่ดีอยู่ โดยในหลาย ๆ บริษัทยังมีการเปิดรับเป็นจำนวนมาก ทั้งตำแหน่งผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) หรือในบางบริษัทจะเรียกว่าผู้ควบคุมแผนงาน (Product Owner) ซึ่งเชื่อว่าในบริษัทจำนวนมากมีความพยายามปั้นจากบทบาทหัวหน้า (Head) หรือผู้อำนวยการฝ่ายผลิต (Director of Product) ให้เติบโตขึ้นไปสู่การเป็นผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) ดังนั้นบริษัทใหม่ ๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นหากอยากประสบความสำเร็จในการเข้าใจลูกค้า การมีผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) เป็นกุญแจหนึ่งที่จะพาไปสู่ความสำเร็จได้


ทั้งนี้จากการทำวิจัยพบว่า ตำแหน่งผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) ของคนไทยอาจยังไม่สามารถทำเป็นฟรีแลนซ์ได้เต็มที่มากนัก ซึ่งในทางกลับกันจะพบความนิยมนี้ในฝั่งยุโรปหรือสหรัฐอเมริกามากกว่า โดยผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) จะเป็นผู้เขียนการรับสมัครงาน (Recruiment) เรื่องราว (Story) การวิจัยเกี่ยวผู้ใช้ (User Research) หรือการวางแผนงาน (Roadmap) ให้ เป็นต้น 


การมีผู้จัดการด้านผลิตภัณฑ์ (Product Manager) ในองค์กรถือเป็นความได้เปรียบ เนื่องจากจะมีผู้ที่คอยให้ความสำคัญกับลูกค้า เพราะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเป็นที่ยอมรับของลูกค้า อีกทั้งยังมีคนช่วยวางกลยุทธล่วงหน้า มีผู้นำการวิจัยทั้งฝั่งของการตลาดและฝั่งผู้ใช้งาน ซึ่งบริษัทไหนที่มีตำแหน่งนี้จะแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ และการเป็นผู้รู้จริง ทำให้สรรค์สร้างรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบกว่าบริษัทที่ไม่มีตำแหน่งนี้


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง