รีเซต

แฉ 6 พฤติกรรมทุจริตโครงการ" เราเที่ยวด้วยกัน"

แฉ 6 พฤติกรรมทุจริตโครงการ" เราเที่ยวด้วยกัน"
TNN ช่อง16
15 ธันวาคม 2563 ( 13:42 )
300
แฉ 6 พฤติกรรมทุจริตโครงการ" เราเที่ยวด้วยกัน"

        หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติขยายโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" ต่อเนื่องไปจนถึง 30 เมษายน 2564 (1 ก.ค.63-30 เม.ย.64) ก็ยังมีประชาชนให้ความสนใจสมัครขอรับสิทธิเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง 

        แต่ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ในช่วงที่ผ่านมา  ได้ตรวจสอบพบพฤติกรรมที่ส่อแววทุจริตของบรรดาโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นการรู้เห็นกันระหว่างผู้ประกอบการและผู้ใช้สิทธิที่หวังจะฉวยโอกาสใช้ช่องทางนี้เพื่อหาผลประโยชน์จากความช่วยเหลือของรัฐ


        นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผย ว่า คณะทำงานตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมอุทธรณ์โครงการเราเที่ยวด้วยกัน” ที่ ประกอบด้วยคณะทำงาน จาก ธนาคารกรุงไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  พบว่าการทุจริตแบ่งออกเป็น 6 พฤติกรรม โดยมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ โรงแรม , ร้านค้า และผู้ใช้สิทธิ ได้แก่ 

1.  เข้าพักในที่พักราคาถูก เช่น  Hostel  ด้วยการเปิดให้ลูกค้าเช็คอิน แต่ไม่ได้เข้าพักจริง แต่ได้ประโยชน์จาก E-Vouchor วันธรรมดา จันทร์ - พฤหัสบดี จะได้เงินจากคูปอง 900 บาท  ส่วน ศุกร์ เสาร์และ อาทิตย์ ได้ 600 บาท/วัน  โดยไปที่ใช้สิทธิ์ที่ E-Vouchor ร้านค้า ร้านอาหาร แต่ไม่ได้เข้าพักที่ Hostel จริง

2. โรงแรมขึ้นราคาค่าห้อง และร่วมมือกับร้านอาหารรับคูปอง เป็นลักษณะของการเปิดให้มีการซื้อ-ขายสิทธิ แต่ไม่มีการเดินทาง และไม่มีการเช็คอินจริง แต่ผู้ใช้สิทธิจะส่งเลขบัตรประชาชน 4 ตัวท้าย เบอร์โทรศัพท์ รหัส OTP ให้กับโรงแรม และทางโรงแรมจะโอนเงินทอนให้กับผู้ใช้สิทธิ์ ซึ่งทางโรงแรมจะได้ส่วนต่าง 40 % ที่รัฐบาลโอนให้  กรณีนี้มักจะพบ จากผู้ใช้สิทธิ์จองตรงกับโรงแรม


3. โรงแรมลงทะเบียนร่วมโครงการ"เราเที่ยวด้วยกัน"ไว้ ยังไม่กลับมาเปิดบริการ  แต่ให้ลูกค้าใช้สิทธิ และแบ่งออกเป็นการจอง 2 รูปแบบ คือ จองผ่านโรงแรม และ จองผ่าน Online travel agent หรือ OTA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 4.  ผู้ใช้สิทธิ์ มีการใช้ E-Voucher จริงในร้านค้า แต่ราคาซื้อจริงไม่สูงเท่ายอดที่เบิก  เป็นการรู้เห็นกันระหว่างร้านค้าและผู้ใช้สิทธิ โดยให้ร้านค้าเขียนบิลเพิ่มเพื่อรับเงินเต็มเพดาน  ยกตัวอย่างเช่น  อาจจะทานอาหารแค่ 1,000 บาท แต่ให้ร้านค้าเขียนบิลเพิ่มเป็น 1,500 บาท  เพื่อรับส่วนต่าง 40% ของบิลค่าอาหาร เป็นต้น 

5. ผู้ใช้สิทธิ์เข้าพักจริงเป็นกรุ๊ปใหญ่  แต่โรงแรมจะตั้งราคาให้สูงกว่าราคาห้องพักจริง เพื่อรับเงินทอน กรณีนี้ส่วนใหญ่พบว่าผู้ใช้สิทธิ์จองตรงกับโรงแรม 

6. โรงแรมเปิดให้จองห้องพักเกินจำนวนจริง  เพื่อรับส่วนต่าง เช่น มีห้องพัก 200  ห้อง แต่เปิดให้เช็คอิน 500 ห้อง เป็นต้น 


        ผู้ว่าฯททท. ระบุว่า พฤติกรรมทั้ง  6 รูปแบบนั้นเข้าข่ายต้องสงสัยว่าจะทุจริตโครงการ โดยมีโรงแรมและที่พัก 312 โรงแรมและร้านค้า 200 กว่าร้านที่เข้าข่าย  ซึ่งขณะนี้ คณะทำงานตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมอุทธรณ์โครงการเราเที่ยวด้วยกัน อยู่ระหว่างการตรวจสอบอย่างละเอียดถึงเจตนาในการทุจริต  คาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือนจึงจะรู้ผล 

        ดังนั้น ททท.จึงจะชะลอการเปิดให้ลงทะเบียนร่วมโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" เฟส 2 ออกไปแบบไม่มีกำหนด จากเดิมทีจะเพิ่ม 1 ล้านสิทธิ์ และเปิดลงทะเบียนได้วันที่ 16 ธันวาคมนี้  อีกทั้งอาจจะมีการปรับเงื่อนไขให้กลับมาบังคับการเดินทางข้ามจังหวัดเหมือนก่อนหน้านี้ด้วย

" พฤติกรรมที่ผิดปกติคือ ปริมาณการใช้สิทธิช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะหลังจากปลดล็อคเงื่อนไขภูมิลำเนา ตัวเลขการใช้สิทธิ์ก็เพิ่มขึ้นจาก 20,000 ห้องต่อวัน เป็น 54,000 ต่อคืน ซึ่งอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เกิดการทุจริตได้ง่ายขึ้น  และยังพบด้วยว่าอาจมีการทำเป็นขบวนการ เพราะมีใช้เวลาภายใน 3 วันในการใช้สิทธิ  แม้ว่าขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ แต่ในภาพรวมยังไม่มีผลกระทบอะไร แต่ทุกคนที่มีเจตนาในการทุจริต จะต้องรับโทษสูงสุดทั้งทางแพ่งและทางอาญา" ผู้ว่า ททท. กล่าว


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง