รีเซต

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอาจมีปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใจกลาง

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอาจมีปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใจกลาง
TNN ช่อง16
15 มิถุนายน 2566 ( 12:01 )
81
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอาจมีปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใจกลาง

เมื่อปี 2022 ยานอวกาศไกอา (Gaia) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (Exoplanet) ดวงหนึ่งที่เรียกว่า ‘เอชดี 206893 ซี (HD 206893 c)’ ซึ่งมันเป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ (Gas Giant) ที่มีมวล 12.7 เท่า ของมวลดาวพฤหัสบดีที่เป็นดาวเคราะห์แก๊สในระบบสุริยะของเรา (ดาวพฤหัสบดีมีมวล 1.9 x 1027) อยู่ห่างจากโลกออกไปประมาณ 130 ล้านปีแสง และมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 30 เท่า

ดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ (Gas Giant) ที่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน 

โดยข้อมูลจากยานอวกาศไกอาช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถวิเคราะห์สเปกตรัมแสงจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงดังกล่าวได้ ซึ่งแสงสเปกตรัมบริเวณใจกลางของดาวชี้ให้เห็นบริเวณดังกล่าวมีพลังงานที่สูง อันเป็นการบ่งบอกว่าแกนกลางของมันกำลังเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันอยู่ โดยใช้ดิวทีเรียม (Deuterium) ที่เป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน (Hyfrogen) เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชัน 


สำหรับกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันเป็นกระบวนการเดียวกับที่เกิดบนดวงอาทิตย์ของเรา โดยมันคือปฏิกิริยาที่รวมธาตุเบา 2 อะตอม และทำให้เกิดธาตุใหม่ที่หนักกว่า ซึ่งดวงอาทิตย์ใช้ไฮโดรเจนเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชัน

สรุปแล้วมันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่หรือดาวแคระน้ำตาล (Brown Dwarf) กันแน่ ? 

โดยจุดที่น่าสนใจของการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงดังกล่าวคือ มันก้ำกึ่งระหว่างการเป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่กับดาวแคระน้ำตาล (Brown Dwarf) ซึ่งดาวแคระน้ำตาลหมายถึงดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งที่มีมวลไม่พอจะก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน เพราะปกติแล้วปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเกิดขึ้นแค่บนดาวฤกษ์เท่านั้น แต่ดาวเคราะห์ เอชดี 206893 ซี ซึ่งมีมวลไม่พอ แต่กลับเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันภายในแกนกลางของมัน


ดังนั้นการค้นพบนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ได้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างดาวเคราะห์ขนาดใหญ่และดาวแคระน้ำตาล ซึ่งการจำแนกประเภทของดาวจะเป็นประโยชน์ต่อการสำรวจอวกาศในอนาคต เช่น การคาดการณ์ว่าดาวดวงไหนหรือบริเวณใดในอวกาศที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่


ข้อมูลจาก space.com

ภาพจาก NASA

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง