รีเซต

โรคกลัวความโสด อาการทางจิตที่มากกว่าความเหงา

โรคกลัวความโสด อาการทางจิตที่มากกว่าความเหงา
TNN ช่อง16
14 พฤษภาคม 2568 ( 14:17 )
9

โรคกลัวความโสด หรือ Anuptaphobia ไม่ใช่ความกลัวการอยู่ตามลำพัง แต่เป็นความกลัวอย่างรุนแรงที่จะไม่มีคู่ชีวิตให้แบ่งปันชีวิตด้วย ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสามารถเผชิญกับความผิดปกตินี้ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ มันอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตที่ร้ายแรงอื่นๆ เช่น ความวิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ และภาวะซึมเศร้ารุนแรง



โรคกลัวความโสด คืออะไร

โรคกลัวความโสด ไม่ใช่เพียงความกลัวธรรมดา แต่เป็นความกลัวที่ไร้เหตุผลและควบคุมไม่ได้ จนเข้าขั้นพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ความคิดที่จะเป็นโสดนั้นเป็นสิ่งที่รับไม่ได้และรู้สึกท่วมท้นจิตใจ การถูกเรียกว่า "คนโสดเรื้อรัง" หรือ "คนแก่โสด" อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้

ในทางจิตวิทยาจัดโรคกลัวความโสด ไว้ว่าเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง (Specific Phobia) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับเพศหญิง

โรคกลัวความโสด เกิดขึ้นจากอะไร

ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของโรคกลัวความโสด แต่คาดว่าส่วนใหญ่จะเกิดจากเหตุการณ์ที่ฝังใจในอดีต หรือ อาจจะเพราะพันธุกรรมอาจมีบทบาทหากบุคคลนั้นมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคทางจิตเวชอย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงโรคกลัวประเภทต่างๆ และโรควิตกกังวลหรือตื่นตระหนก 

หากพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญ บุคคลนั้นอาจต้องการเพียงหนึ่งหรือสองประสบการณ์ที่สะเทือนจิตใจเพื่อกระตุ้นความต้องการที่จะอยู่กับคู่ครองในความสัมพันธ์แบบโรแมนติกอย่างหมกมุ่น


อาการของโรคกลัวความโสด

อาการของโรคกลัวความโสดแสดงออกทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้แก่ 

  • นอนคนเดียวไม่หลับ 
  • ไม่มั่นใจในตัวเอง มีความรู้สึกวิตกกังวลและเครียด
  • เพ้อฝันถึงความเป็นไปไม่ได้ขั้นรุนแรง เช่น คลั่งไคล้และชอบดาราศิลปินจนเกิดเหตุ
  • โหยหาความรัก ต้องการมีความรักหรือคนมาเติมเต็มตลอดเวลา
  • ชอบแสดงความเป็นเจ้าของ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง