รีเซต

29 กรกฎาคม ประวัติ วันเสือโคร่งโลก : รู้หรือไม่? เสือ 1 ตัว สำคัญต่อผืนป่าอย่างไร?

29 กรกฎาคม ประวัติ วันเสือโคร่งโลก : รู้หรือไม่? เสือ 1 ตัว สำคัญต่อผืนป่าอย่างไร?
TeaC
7 กรกฎาคม 2566 ( 14:31 )
630
29 กรกฎาคม ประวัติ วันเสือโคร่งโลก : รู้หรือไม่? เสือ 1 ตัว สำคัญต่อผืนป่าอย่างไร?

29 กรกฎาคมทุกปี นอกจากเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติแล้ว ยังเป็นวันสำคัญนั่นคือ วันเสือโคร่งโลก อีกด้วย เคยสงสัยไหมว่า เสือ 1 ตัวมีความสำคัญต่อผือป่าอย่างไร? TrueID จะพาไปหาคำตอบกัน โดยป่าจะสมบูรณ์ต้องหลากหลายสมดุล แข็งแรง ทั้งมีเหล่าผู้ล่า นักล่าขนาดใหญ่ อย่างเสือโคร่ง เสือดาว หรือเสือดำ

 

ประวัติ วันเสือโคร่งโลก

 

ซึ่งนักล่าอย่างเสือโคร่ง เดินดินกินเก้ง วัวแดง ควายป่า ส่วนเสือดาว จะปืนต้นไม้กินลิง กินค่าง แชะชนี เป็นต้น ทั้งเสือโคร่งและเสือดาว จะเลือกกินเฉพาะเหยื่ออ่อนแอ แก่หรือเจ็บ

 

หน้าที่ของเสือ หรือ tiger 

 

  • ควบคุมจำนวนประชากรสัตว์ขนาดเล็กลงมา
  • คัดเลือกและรักาาพันธุ์สัตว์ในป่าให้แข็งแรง
  • ซากที่เหลือจากการกินจะกลายเป็นอาหารให้สัตว์อื่น ๆ 

 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ของความสำคัญที่ผืนป่าของเราต้องมีเสือ นั่นคือ  ถ้ามีเสือ = มีสัตว์ป่าขนาดเล็ก = ป่าสมบูรณ์ 

 

"ยิ่งมีเสือเยอะ ยิ่งสะท้อนว่าป่านั้นสมบูรณ์และสมดุลมาก"

 

เห็นความสำคัญของเสือ เสือโคร่ง เสือดาว และเสือดำ ที่มีต่อผืนปาของไทยแล้ว มาร่วมกันอนุรักษ์ง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้เลยนั่นคือ การคัดแยกขยะพลาสิก ช่วยกันปลูกต้นไม้ รักษาสิ่งแวดล้อมเมื่อเดินทางยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้บ้านของพวกเขายังคงมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ได้

 

ประวัติ วันเสือโคร่งโลก Global Tiger Day

 

29 กรกฎาคม วันเสือโคร่งโลก Global Tiger Day ถือเป็นวันสำคัญ สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์เสือโคร่งโลก เนื่องจากการลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากมนุษย์อย่างพวกเรา ทั้งจากการทำลายป่า ล่า ฆ่า ค้า เอาชิ้นส่วนของพวกมันขาย ประดับตกแต่ง ฯลฯ จึงทำให้ในปี 2553 ประเทศในเอเชียทั้ง 13 ที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่งได้ร่วมกันลงนามในปฏิญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู ปกป้องเสือโคร่ง ผู้ชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า

 

เสือโคร่ง (tiger) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris แต่เดิมมีด้วยกันทั้งหมด 9 สายพันธุ์ด้วยกันคือ

  • เสือโคร่งไซบีเรีย
  • เสือโคร่งเบงกอล
  • เสือโคร่งอินโดจีน
  • เสือโคร่งสุมาตรา
  • เสือโคร่งจีนใต้
  • สือโคร่งมลายู
  • เสือโคร่งแคสเปียน
  • เสือโคร่งชวา
  • เสือโคร่งบาหลี

 

แต่ปัจจุบันเสือโคร่งแคสเปียน เสือโคร่งชวา และเสือโคร่งบาหลีสูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วง ปี 1980 จึงทำให้เหลือเสือโคร่งอยู่เพียง 6 สายพันธุ์ย่อยเท่านั้น สามารถพบเสือโคร่งได้ในประเทศบังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย (สุมาตรา) ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล รัสเซีย เวียดนาม และประเทศไทย

 

สำหรับประเทศไทย จากช้อมูบพบว่า มีเสือโคร่งเหลืออยู่ประมาณ 250 ตัวในธรรมชาติ  ซึ่งไทยมีความหวังจะสามารถเพิ่มประชากรของเสือโคร่งให้ได้มากถึงร้อยละ 50 ภายในปี 2565 จึงเกิดโครงการฟื้นฟูประกรเสือโคร่งขึ้นมาในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน

 

รู้แบบนี้แล้ว TrueID จะพาไปรู้จักธรรมชาติและชีวิตของ เสือโคร่ง ให้มากขึ้นกับทรูปลูกปัญญา

 

 

คลิกชม วันเสือโคร่งโลก

 

 

 

ข้อมูล : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง