ถอยคนละก้าว เปิดเหตุผลการลดภาษี สหรัฐฯ-จีน

นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจแล้ว เบื้องหลังทางการเมืองก็มีอิทธิพลไม่น้อย ฝั่งสหรัฐฯ ประธานาธิบดีทรัมป์กำลังเผชิญแรงกดดันจากคะแนนนิยมที่ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อปัญหาเงินเฟ้อเรื้อรังเริ่มทำให้ประชาชนไม่พอใจ ขณะที่ฝั่งจีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กำลังอยู่ในช่วงเดินทางเยือนรัสเซียเพื่อแสดงบทบาททางการทูตในงาน “วันแห่งชัยชนะ” ซึ่งมีผู้นำประเทศกว่า 20 ประเทศเข้าร่วม ทำให้เขาไม่สามารถแสดงภาพอ่อนข้อต่อสหรัฐฯ ได้แบบเปิดเผย
นักวิเคราะห์ชี้ว่า การเจรจาครั้งนี้ถูกวางแผนอย่างรอบคอบ โดยมีการตกลงกันล่วงหน้าในรูปแบบที่ “ไม่เสียหน้า” ทั้งสอท่ามกลางความตึงเครียดจากสงครามภาษีที่ลากยาวมาหลายปี ในที่สุดสหรัฐอเมริกาและจีนก็ยอมถอยคนละก้าว ด้วยการลงนามในข้อตกลง “พักรบทางภาษี” ชั่วคราว 90 วัน ซึ่งมีผลให้ทั้งสองประเทศปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าลงรวมกันกว่า 115% โดยสหรัฐลดภาษีนำเข้าจากจีนจากระดับสูงสุด 145% เหลือเพียง 30% ส่วนจีนลดภาษีจาก 125% เหลือ 10% ทันทีที่ประกาศข้อตกลง ตลาดการเงินทั่วโลกตอบรับในเชิงบวก โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นทันที และดัชนีตลาดหุ้นในเอเชีย-ยุโรปปรับตัวขึ้นหลายจุด
การเจรจาครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นอย่างเงียบๆ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา ระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองชาติ หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจของทั้งคู่เริ่มส่งสัญญาณไม่สู้ดี โดยฝั่งจีนเผชิญกับภาวะชะลอตัวทางอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงในเดือนเมษายน ต่ำสุดในรอบเกือบหนึ่งปี ขณะที่สหรัฐเองก็ไม่รอดพ้นจากผลกระทบของต้นทุนสินค้านำเข้าที่พุ่งสูง กระทบภาคการผลิตและกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างชัดเจน
เสียงสะท้อนจากภาคธุรกิจเองก็ยิ่งเป็นแรงกดดันสำคัญ เช่น กลุ่มธุรกิจของเล่น เสื้อผ้า และเทคโนโลยีในสหรัฐ เริ่มร้องขอให้รัฐบาลยกเลิกภาษีเนื่องจากสินค้าจากจีนยังคงเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่โรงงานจีนเองก็เริ่มประสบปัญหาสต๊อกล้นคลังเนื่องจากคำสั่งซื้อจากตะวันตกชะลอตัว
งฝ่าย เช่น ฝ่ายจีนระบุว่า “ยินดีตอบรับคำขอจากสหรัฐฯ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลก” ขณะที่สหรัฐฯ อ้างว่า “จีนกลับมาร้องขอให้เปิดการค้าร่วมอีกครั้ง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในจีนกำลังมีปัญหา”
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การเจรจาครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่จีนส่งสัญญาณเชิงสัญลักษณ์ต่อเวทีโลก เมื่อสี จิ้นผิง ร่วมงานสำคัญในรัสเซีย ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการแสดงอิทธิพลทางการทูต เพื่อกดดันสหรัฐฯ ให้รู้ว่าจีนยังมีพันธมิตรอื่นในเวทีระหว่างประเทศ และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสหรัฐฯ เพียงฝ่ายเดียว
ด้านนักวิเคราะห์จาก ING และสถาบันการเงินหลายแห่งให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า การลดภาษีของทั้งสองประเทศถือเป็น “การหยุดเลือดชั่วคราว” ในสงครามการค้า แต่ยังไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ว่าข้อตกลงนี้จะนำไปสู่ความร่วมมือในระยะยาว เพราะปัญหาโครงสร้างระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยังมีอยู่มาก ทั้งในด้านเทคโนโลยี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา และบทบาทของรัฐในการควบคุมธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดการเงินและผู้ประกอบการทั่วโลก ข้อตกลงนี้ถือเป็นสัญญาณบวกที่ช่วยลดแรงกดดันในระยะสั้น และทำให้นักลงทุนเริ่มกลับมามองหาโอกาสลงทุนในตลาดที่มีความเสี่ยงน้อยลงชั่วคราว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่พึ่งพาการค้าโลกอย่างสูง