รีเซต

เปิด 5 แหล่งผลิตมะพร้าวไทย จุดหมายส่งออกอยู่ที่ไหน?

เปิด 5 แหล่งผลิตมะพร้าวไทย จุดหมายส่งออกอยู่ที่ไหน?
TNN ช่อง16
7 กรกฎาคม 2563 ( 12:31 )
1.4K

วันนี้ (7 ก.ค.63) นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ย้ำว่า การที่องค์กรประชาชนเพื่อการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีจริยธรรม หรือพีต้า นำผลการวิจัยและออกมาเรียกร้องต่อต้านผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูป และมะพร้าวจากประเทศไทย กรณีนำลิงเก็บมะพร้าวเป็นการทารุณกรรมสัตว์ นั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ซึ่งที่ผ่านมาเคยเกิดประเด็นดังกล่าวขึ้นและได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจไปแล้ว โดยระบุว่า การใช้ลิงเก็บมะพร้าวเป็นเรื่องวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและวิถีชีวิตของคนไทย ส่วนการใช้ลิงเก็บมะพร้าวเพื่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมนั้นแทบจะไม่มีปรากฏให้เห็นแล้ว 


โดยในวันพรุ่งนี้ (8 ก.ค.) ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเชิญผู้ผลิตกะทิและแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว มาหารือ หลังการประชุม ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหาแนวทางชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกันกับประเทศที่มีข้อสงสัยรวมทั้งองค์กรพิทักษ์สัตว์ พร้อมทั้งมีแผนจะเชิญทูตประจำประเทศไทยในประเทศที่มีข้อสงสัยไปดูการผลิตและการเก็บมะพร้าวภาคอุตสาหกรรมว่าเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อไป 


ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากประเทศไทย ผลผลิตในปี 2562 มีประมาณ 788,000 ตัน มีโรงงานแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว 15 โรง เป็นการผลิตกะทิ 113,000 ตัน โดยผลผลิตกะทิร้อยละ 70  บริโภคภายในประเทศ ส่งออกร้อยละ 30 แต่การส่งออกมีความจำเป็นต้องนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซียเข้ามาเพิ่มเติม สำหรับผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่ส่งออกสำคัญมีอยู่ 2 ชนิดคือกะทิและมะพร้าวอ่อน โดยยอดการส่งออกกะทิของปีที่แล้ว ประมาณ 12,300 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออกสหภาพยุโรป 18% มูลค่า 2,250 ล้านบาท ในจำนวนนี้ส่งออกอังกฤษ 8 % มูลค่า 1,000 ล้านบาท


จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า แหล่งผลิตมะพร้าวส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในภาคกลาง และภาคใต้ โดยจังหวัดที่มีผลผลิตมากที่สุดอันดับแรกคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีมากถึง ร้อยละ 30 จังหวัดชุมพรร้อยละ 17 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 10 จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยละ 7 และแนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์มะพร้าวทั่วโลกในภาพรวมมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ผลิตภัณฑ์มะพร้าวนั้น ประเทศในกลุ่มอาเซียนนิยมบริโภคมากที่สุดคือ 6.59 ล้านตัน หรือ  คิดประมาณร้อยละ 58  โดยมี ฟิลิปปินส์บริโภคมากสุดร้อยละ 31  อินโดนีเซียร้อยละ 20  อินเดียร้อยละ 13 เวียดนามร้อยละ 5 ส่วน จีน ร้อยละ 4 ขณะที่ มาเลเซีย และไทยมีเพียงร้อยละ 1 ขณะที่ ประเทศในกลุ่มยุโรป บริโภค ร้อยละ 7


สำหรับรูปแบบผลิตภัณฑ์มะพร้าวที่นิยมบริโภคทั่วไปในตลาดโลก คือ มะพร้าวผล น้ำมันมะพร้าว มะพร้าวแห้ง และกะทิ

หากนับย้อนหลังไป 8 ปี ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2562 ประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกหลายพันล้านบาทต่อปี โดยในประเทศกลุ่มยุโรปมีตลาดหลัก 3 อันดับ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีร้านอาหารไทยจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวปรุงอาหารและทำขนมหวาน 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง