รีเซต

ไขข้อข้องใจ "คลินิกแก้หนี้" คืออะไร? ช่วยคนมีหนี้เสียอย่างไร?

ไขข้อข้องใจ "คลินิกแก้หนี้" คืออะไร? ช่วยคนมีหนี้เสียอย่างไร?
TrueID
12 ตุลาคม 2565 ( 11:23 )
737

ข่าววันนี้ "คลินิกแก้หนี้" เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้ค้างชำระอยู่กับธนาคารเจ้าหนี้ให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้เบ็ดเสร็จครบวงจรในที่เดียว 

ไขข้อข้องใจ "คลินิกแก้หนี้" คืออะไร? ช่วยคนมีหนี้เสียอย่างไร?

โครงการคลินิกแก้หนี้สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกในการแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างกว้างขวางและครบวงจรอย่างแท้จริง โดยได้ขยายขอบเขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว 

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อให้มีโอกาสแก้ปัญหาหนี้ ควบคู่กับการส่งเสริมเรียนรู้การวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้แก่ลูกหนี้และประชาชนที่สนใจ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว

 

หลักการในการดำเนินการ

  1. เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายราย เพื่อดำเนินการให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกรายได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน
  2. ส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินที่ดี ด้วยการอบรมให้ความรู้ทางการเงินแก่ลูกหนี้
  3. ลูกหนี้สมัครใจเข้าโครงการ
  4. ลูกหนี้ไม่ก่อหนี้ใหม่ในช่วงเวลาที่กำหนด
  5. อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระเอื้อต่อการแก้ไขหนี้

 

ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ

 

 

ธนาคาร

1BAYธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
2BBLธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3CIMBธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
4ICBCธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
5KBANKธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6KKธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
7LHธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน)
8SCBธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
9TBANKธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
10Thai Creditธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
11TISCOธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
12UOBธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
13TMBธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
14CITIธนาคารซิตี้แบงค์ เอ็น.เอ.
15BOCธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
16KTBธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
17GSBธนาคารออมสิน

 

Non-bank ที่เข้าร่วมโครงการ

 

ชื่อผลิตภัณฑ์

ชื่อบริษัท

1จี แคปปิตอลบริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
2เจ มันนี่บริษัท เจ ฟินเทค จำกัด
3บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวันบริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
4ซัมมิท แคปปิตอลบริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด
5สินเชื่อซิตี้คอร์ปบริษัท ซิตี้คอร์ปลิสซิ่ง จากัด
6บัตรเทสโก้บริษัท เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
7นครหลวง แคปปิตอลบริษัท นครหลวง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
8บัตรเครดิตกรุงศรีอยุธยาบริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
9พรอมิสบริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
10เมืองไทย แคปปิตอลบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
11แมคคาเล กรุ๊พบริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)
12ศักดิ์สยามลิสซิ่งบริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
13กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
14บัตรอิออนบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
15ยูเมะพลัสบริษัท อีซี่ บาย จำกัด มหาชน
16เอเซียเสริมกิจลีสซิ่งบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
17สินเชื่อ ไอทีทีพีบริษัท ไอทีทีพี จำกัด
18เอ มันนี่บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)

 

มีบัตรเครติดแล้วเป็นหนี้ มีผลทางกฎหมายอย่างไร

 

ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay

 

++++++++++++++++++++

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง