รีเซต

เขื่อน คืออะไร? รู้จัก! เขื่อนในประเทศไทย

เขื่อน คืออะไร? รู้จัก! เขื่อนในประเทศไทย
TeaC
3 พฤษภาคม 2565 ( 14:38 )
1.7K

ข่าววันนี้ รู้หรือไม่? เขื่อน เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่สำหรับกั้นทางน้ำ เพื่อใช้ในการเก็บกักน้ำและยังช่วยป้องกันอุทกภัยรวมถึงผลิตไฟฟ้าได้ด้วย ลักษณะของเขื่อนในส่วนบนจะประกอบไปด้วยส่วนที่เรียกว่า "ทางน้ำล้น" สำหรับให้น้ำที่สูงกว่าระดับที่ต้องการไหลผ่านมาที่ฝั่งปลายน้ำ มากกว่าครึ่งหนึ่งของแม่น้ำสายหลักทั่วโลกจะมีเขื่อนกั้นไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง 

 

เขื่อน คืออะไร?

รู้จัก! เขื่อนในประเทศไทย

 

วันนี้ TrueID จะพาไปรู้จักเขื่อนในประเทศไทย ซึ่งลักษณะของเขื่อนนั้น

 

1. เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

สำหรับเขื่อนภูมิพล เดิมชื่อ "เขื่อนยันฮี" เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ในประเทศไทย ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้ง ตั้งอยู่บนแม่น้ำปิงที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดียได้ระบุประวัติเขื่อนภูมิพลไว้ว่า แนวคิดสร้างเขื่อนแห่งนี้เกิดจากการที่ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประธาน เดินทางไปดูงานชลประทานที่สหรัฐ และเห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำปิง หม่อมหลวงชูชาติเสนอความเป็นไปได้ต่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเมื่อปี พ.ศ. 2492 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการสำรวจศึกษาโครงการ จนได้ข้อสรุปว่าที่เหมาะสมคือ บริเวณตำบลยันฮี จังหวัดตาก เมื่อหน่วยงานของสหรัฐรับรองว่าสภาพพื้นที่ดังสามารถสร้างเขื่อนได้ รัฐบาลเริ่มทุ่มงบประมาณตัดถนนจากถนนพหลโยธินเข้ามาถึงบริเวณที่ก่อสร้าง และเริ่มกระบวนการเจรจากู้เงินจากธนาคารโลก

 

โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2496 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า เขื่อนยันฮี การเวนคืนเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2499 การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อพ.ศ. 2500 โดยว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาจากสหรัฐ และมีบริษัทอื่นจาก 14 ประเทศร่วมเป็นที่ปรึกษา รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อัญเชิญพระนามาภิไธยมาเป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2501 ศิลาฤกษ์วางเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 การก่อสร้างแล้วเสร็จและทำรัฐพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507

 


2. เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จากการค้นหาข้อมูลพบว่า เขื่อนรัชชประภา มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”

 

โดย เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ส่วนใหญ่ติดอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมด เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลัง การผลิต 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ขณะที่ ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 

 

3. เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

มาต่อกันที่ เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้น บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่นับเป็น เขื่อนแห่งที่ 8 ในจำนวน 17 แห่ง ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างขึ้นเพื่อ อำนวยประโยชน์ทางด้านต่างๆ ตลอดจนช่วยพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร และส่งเสริมให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี แต่ละปีจะมีนักทัศนาจรหลั่งไหลเข้าไปเที่ยวชมอย่างมากมาย นับเป็นสถานที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง

 

4. เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก

เขื่อนขุนด่านปราการชล ชื่อเดิมเรียกว่า เขื่อนคลองท่าด่าน เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายกกั้นแม่น้ำนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้ง และควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่การเกษตรในหน้าฝน โดยสร้างครอบฝายท่าด่านเดิม

 

ที่ราบลุ่มนครนายกมีระดับน้ำใต้ดินมีการลดระดับหรือพื้นที่ลาดเทค่อนข้างมาก ทำให้น้ำไหลบ่ารุนแรงในช่วงฤดูฝน ส่วนบริเวณพื้นที่ชลประทานนครนายก เป็นพื้นที่ราบกว้างขวางมีระดับน้ำใต้ดินต่ำจึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งส่วนในฤดูฝนกลับเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่มีความลาดเอียงน้อยทำให้น้ำระบายออกยากน้ำจึงท่วมขังเป็นเวลานาน การสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำนครนายกตอนบนจึงเป็นการชะลอกระแสน้ำไม่ให้ไหลอย่างรุนแรงในช่วงฤดูฝนโดยจะกักเก็บน้ำไว้ และในทางกลับกัน จะสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในฤดูแล้งได้แทนที่จะต้องเผชิญกับภัยแล้ง


5. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี

สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว

 

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

 

6. เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี

หลังจากเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา  นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส. อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ได้โพสต์ข้อความเตือนประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี ให้เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลันที่อาจจะเกิดในอีก 7 วัน จากการระบายน้ำออกจากเขื่อนทับเสลา 

 

ทั้งนี้ เขื่อนทับเสลา อุทัยธานี เป็นเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ กั้นลำห้วยทับเสลา ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงาม มีภูเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลัง บริเวณตอนใต้ของเขื่อนมีสภาพเป็นป่าเต็งรังและสวนป่าปลูก คนในท้องถิ่นนิยมมาพักผ่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยชมทัศนียภาพเหนือเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นลำห้วยทับเสลา ที่จะได้ชมทะเลสาบในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนซึ่งมีฉากหลังเป็นทิวเขาทอดตัวสลับซับซ้อนดูสวยงามยิ่งนัก โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่นี่จะคลาคล่ำไปด้วยคนในท้องถิ่นที่นิยมเดินทางเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจ และภายในบริเวณเขื่อนยังมีร้านค้าสวัสดิการคอยบริการอาหารเครื่องดื่ม

 

โดยตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุทัยธานี ที่สายเที่ยวเดินทางไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีตของอุทัยธานี ผ่านพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานีความหนาวและสวนดอกไม้ ที่ไม่ต้องไปไกล บ้านแก่นมะกรูด อุทัยธานีไปอุทัย กินอะไรดี

 

7. เขื่อนกะทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

จากปมร้อนดราม่าหนัก กรณีอดีตพระกาโตะ หรือ "นายพงศกร จันทร์แก้ว" ได้ออกมายอมรับว่ามีความสัมพันธ์กับสีกาสาวในรถยนต์ส่วนตัว หลังพาหญิงเที่ยวเขื่อนแห่งหนึ่งใน จ.นครศรีธรรมราช จนทำให้โลกออนไลน์มีการค้นหาสถานที่ดังกล่าว โดยเขื่อนที่โซเชียลพูดถึงคือ "เขื่อนทูน" "เขื่อนกะทูน" หรือ "อ่างเก็บน้ำกะทูน" สถานที่ท่องเที่ยวที่ถูกขนามนามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้"

 

ทั้งนี้ "เขื่อนกะทูน" หรือ "อ่างเก็บน้ำกะทูน" ตั้งอยู่ที่ ต.กะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช เขื่อนแห่งนี้เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ที่พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของชาวบ้าน ซึ่งต้องประสบเหตุการณ์สูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ไปกับอุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2531 จึงทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาพิบัติภัยจากธรรมชาติ

 

โดย "เขื่อนกะทูน" มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน มีพื้นที่กว่า 12,500 ไร่ บริเวณสันอ่างเก็บนํ้าจะมีขนาดกว้าง สร้างเป็นถนนให้สามารถขับรถยนต์ชมวิวได้ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแนวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ และต่างขนามนามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้" เพราะมีบรรยากาศและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้ง ยังเป็นอ่างเก็บน้ำแห่งนี้มีทิวทัศน์ที่งดงาม มองเห็นทิวเขาที่เรียงตัวกันเป็นแนวยาวทั้ง 4 ด้านโอบล้อมบริเวณอ่างเก็บน้ำ ทอดตัวยาวไปถึง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี อีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของเขื่อนที่สำคัญ คือ เพื่อกักเก็บน้ำ โดยเก็บน้ำจากช่วงฤดูน้ำหลากและปล่อยน้ำใช้ในการเกษตรกรรม อุปโภคบริโภคในช่วงขาดแคลนน้ำ เขื่อนยังคงใช้สำหรับป้องกันน้ำท่วมฉับพลันในฤดูที่น้ำไหลหลากอีกทางหนึ่ง โดยเขื่อนจะทำหน้าที่ชะลอความเร็วของน้ำ ให้น้ำไหลผ่านได้เฉพาะตามปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันเขื่อนมีหน้าที่หลักอีกด้านคือการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งในประเทศไทยมาจากการปั่นไฟจากเขื่อน นอกจากนี้เขื่อนบางแห่งใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ เช่น การล่องเรือ หรือการตกปลา

 

 

ข้อมูล : ททท., วิกิพีเดีย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง