รีเซต

"โดรนเทพ" ปลูกป่า 40,000 ต้นต่อวัน โตแน่เพราะวิเคราะห์และตรวจสอบเสมอ

"โดรนเทพ" ปลูกป่า 40,000 ต้นต่อวัน โตแน่เพราะวิเคราะห์และตรวจสอบเสมอ
TNN ช่อง16
10 พฤษภาคม 2565 ( 14:49 )
100
"โดรนเทพ" ปลูกป่า 40,000 ต้นต่อวัน โตแน่เพราะวิเคราะห์และตรวจสอบเสมอ

การปลูกต้นไม้อาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนหรือเรื่องธรรมชาติในระยะสั้น แต่มันคือการแก้ปัญหาในระยะยาวในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า ถ้าหากเราสามารถปลูกต้นไม้เหล่านั้นให้งอกงามได้สำเร็จ โลกที่ดีตามที่ฝันก็อาจเป็นจริง ปัญหาคือ "เราไม่มีคนมากพอจะทำเรื่องเหล่านั้นได้น่ะสิ"


บริษัทสตาร์ตอัปสัญชาติออสเตรเลีย แอร์ซีส เทคโนโลยี (AirSeed Technology) ได้ทำการสร้างโดรนที่สามารถยิงเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกต้นไม้ 40,000 ต้นต่อวันออกมาได้สำเร็จ พวกเขาไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อผลกำไรของบริษัทเท่านั้น แต่ทำเพื่อโลกและป่าไม้ที่กำลังถูกตัดทำลายอยู่ในทุกวัน


ความพิเศษของ "โดรน AirSeed"

โดรนของ AirSeed มีความพิเศษตรงส่วนของระบบภายใน ที่ทางบริษัทได้ทำการเขียนระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของตัวเองขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อให้มันสามารถผสานเข้ากับตัวฝักเมล็ดที่ต้องยิงจากบนฟ้าลงมาฝังในตัวพื้นดินได้ ซึ่งด้วยกระบวนการเทคโนโลยีดังกล่าวที่ทางบริษัทได้พัฒนาขึ้น ทำให้ตัวโดรนสามารถปลูกต้นไม้ได้เร็วกว่าวิธีเดิมทั่วไปมากถึง 25 เท่า และใช้ค่าใช้จ่ายที่น้อยลงมากถึง 80%


ขอบคุณภาพจาก : https://youtu.be/UsvrkVU0Qpw

 


อย่างไรก็ตาม ฝักเมล็ดของ AirSeed เอง ก็ถือเป็นของพิเศษที่ทางบริษัทวิจัยพัฒนาขึ้นมาสำหรับเพาะพันธุ์ต้นไม้ด้วยโดรนนี้โดยเฉพาะ ซึ่งมันใช้ต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำและมีองค์ประกอบของสารอาหารเสริมมากมาย ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกตัวต้นกล้าให้เจริญเติบโตได้ แม้ว่าดินที่เพาะปลูกจะไม่เหมาะสมก็ตาม


สำหรับในด้านการทำงานของตัวโดรน โดรนของ AirSeed จะบินเพาะปลูกต้นไม้สำเร็จใน 2 ขั้นตอนเท่านั้น 

  • ขั้นตอนแรก - คือการสำรวจพื้นที่เพื่อระบุพันธุ์พืชที่จะเพาะปลูกและสร้างรูปแบบการปลูกที่เหมาะสมออกมา 

  • ขั้นตอนที่สอง - คือการนำข้อมูลจากขั้นตอนแรกมาวิเคราะห์และจัดทำแผนการบินให้แม่นยำ โดยการระบุตำแหน่งการยิงเมล็ดลงดินเป็นตำแหน่ง GPS เพื่อให้โดรนสามารถส่งเมล็ดลงไปยังพื้นที่ที่ระบุไว้อย่างถูกต้องแม่นยำได้


  • หลังจากจบ 2 ขั้นตอนในการเพาะพันธุ์เมล็ดแล้ว นักวิจัยยังใช้โดรนบินเพื่อตรวจจับและประเมินการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปด้วย โดยทำการนับยอดไม้ที่ปลูกขึ้นและคำนวณมวลชีวภาพ เพื่อติดตามและรายงานอัตราการเติบโตออกมาอย่างแม่นยำ จนในท้ายที่สุดจะได้สามารถระบุได้ว่า "โครงการปลูกป่าดังกล่าวนั้นสำเร็จจริงหรือไม่"


ขอบคุณภาพจาก : https://youtu.be/UsvrkVU0Qpw

 


แหล่งที่มา interestingengineering.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง