รีเซต

ทีมแพทย์สหรัฐฯ ใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ทีมแพทย์สหรัฐฯ ใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด
TNN ช่อง16
25 เมษายน 2567 ( 14:38 )
35

ทีมแพทย์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังทดลองใช้หุ่นยนต์ตัวใหม่ เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ซึ่งอาจจะเป็นตัวช่วยให้สามารถทำการตรวจคัดกรองได้แม่นยำ และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้มากขึ้น


โดยทีมแพทย์จากศูนย์การแพทย์ มิลส์-เพนนินซูลา (Mills-Peninsula) ในเมืองเบอร์ลินเกม (Burlingame) รัฐแคลิฟอร์เนีย กำลังทดลองใช้หุ่นยนต์ส่องกล้องตรวจหลอดลม (Bronchoscopy) เพื่อช่วยในการวินิจฉัย


หุ่นยนต์ตัวใหม่นี้ ช่วยให้แพทย์สามารถสร้างแผนที่เสมือนจริง จากผล CT สแกน ขณะที่ตรวจคัดกรอง พร้อมทั้งให้มุมมองแบบเรียลไทม์ของปอดในขณะที่สอดสายสวนเข้าไปในท่อหายใจ 


โดย ดร. อเล็กซานเดอร์ ไซเดอร์ (Dr. Alexander Zider) แพทย์ระบบทางเดินหายใจที่ศูนย์การแพทย์แห่งนี้ ได้ทดลองใช้หุ่นยนต์แบบใหม่กับผู้ป่วย 3 รายจนถึงขณะนี้ ซึ่งเขาหวังว่าความสามารถของหุ่นยนต์ในการค้นหาชิ้นเนื้อ และการทำเครื่องหมายก้อนเนื้อที่เข้าถึงยาก จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย และลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้


นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังช่วยให้แพทย์มองเห็นระยะห่างระหว่างการใช้เข็มในการตรวจชิ้นเนื้อได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ทำให้ปอดรั่ว (lung collapse) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในการตรวจวินิจฉัย 


ทั้งนี้มีข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute) ที่คาดการณ์ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดในสหรัฐอเมริกาในปี 2024 ไว้ที่ประมาณ 125,000 คน และมะเร็งปอดยังคิดเป็น “ประมาณ 1 ใน 5 ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งหมด” ตามรายงานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society)


เช่นเดียวกับมะเร็งส่วนใหญ่ การที่ตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ดังนั้นทีมแพทย์จึงหวังว่าการใช้งานหุ่นยนต์นี้ จะช่วยให้ทีมแพทย์สามารถตรวจคัดกรอง พบสัญญาณอันตราย เช่น ก้อนเนื้อในปอด สามารถทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้นด้วย


ขัอมูลจาก reutersconnect

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง