รีเซต

จุรินทร์ นำอบรม'อี-คอมเมิร์ซ' 650 คน รุกปั้นเศรษฐกิจการค้าก้าวไกลด้วยดิจิทัล

จุรินทร์ นำอบรม'อี-คอมเมิร์ซ' 650 คน รุกปั้นเศรษฐกิจการค้าก้าวไกลด้วยดิจิทัล
มติชน
30 สิงหาคม 2563 ( 15:59 )
86

พิจิตรทันสมัย! จุรินทร์ นำอบรมอี-คอมเมิร์ซ 650 คน รุกปั้นเศรษฐกิจการค้าให้รอดด้วยดิจิทัล

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางวรรณภรณ์ เกตุทัต ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจิตร เปิดการอบรมอี-คอมเมิร์ซ”เศรษฐกิจทันสมัยการค้าก้าวไกลไปกับดิจิทัล” ที่ โรงแรม มีพรสวรรค์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ตําบล ท่าหลวง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีนายจุรินทร์ เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมมีทั้งเยาวชนสายอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจ และประชาชนกว่า 650 คน

 

นายจุรินทร์ กล่าวว่า โลกเปลี่ยนไปเยอะโดยเฉพาะเศรษฐกิจเปลี่ยนจากภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ มาเป็นเศรษฐกิจที่ติดลบ รวมถึง สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐยังมีแนวโน้มพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบไปตามสถานการณ์ จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศในโลกและสถานการณ์โควิด-19มีผลกระทบกระเทือนทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศของเรา ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์มีวิสัยทัศน์ ที่จะให้ภาคการผลิตภาคบริการ โดยหน่วยงานที่สำคัญคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” โดยมียุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” โดยเราต้องทำอย่างน้อย 1.ต้องปรับรูปแบบการผลิตไปสนองความต้องการตลาดให้มากขึ้น ต้องคิดด้วยว่าผลิตไปแล้วจะมีใครซื้อ 2.รูปแบบการตลาดต้องเปลี่ยนจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ เพิ่มช่องทางให้มากขึ้น

 

” และการใช้รูปแบบดั้งเดิม ต้องปรับรูปแบบเป็นเคาน์เตอร์เทรด การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันถ้าเงินไม่มีมากพอเอาของมาแลกของ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดขึ้นมาโดยให้พาณิชย์จังหวัด 76 จังหวัด ผู้ขายมาพบกับผู้ซื้อ ให้พาณิชย์จังหวัดทำหน้าที่เป็นเซลล์แมนจังหวัด ได้ประสบความสำเร็จและสามารถแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจังหวัดโดยความร่วมมือของเซลล์แมนจังหวัดและภาคเอกชนภาคอื่นๆทำยอดได้ 3,244 ล้านบาท เช่น ข้าวหอมมะลิร้อยเอ็ดแลกกับมังคุดที่นครศรีธรรมราช พริกไทยจันทบุรีแลกกับข้าวพิมาย ข้าวโพดจังหวัดตากแลกไข่ไก่ฉะเชิงเทรา เป็นต้น “นายจุรินทร์กล่าว และว่า 3.รูปแบบเกษตรพันธสัญญา คอนแทรคฟาร์มมิ่งให้เซ็นสัญญา และซื่อสัตย์ต่อกันทั้งสองฝ่าย และ 4.การค้าออนไลน์ ที่จะกลายเป็นวิถีใหม่ทางการค้าในยุค New Normal หลังโควิดก็เชื่อว่าการค้าออนไลน์จะเป็นรูปแบบที่จะต้องใช้กันต่อไปเพราะกลายเป็นความคุ้นชินหรือความสะดวก ใครที่ไม่รู้เรื่องออนไลน์ ก็จะตามยุคไม่ทัน

 

“รู้สึกดีใจที่ทุกท่านให้ความสนใจในการอบรมการค้ายุคใหม่อี-คอมเมิร์ซ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้อบรม 300 คนตอนนี้มีผู้เข้าร่วมถึง 600 คน โดยไม่กี่วันมานี้ผมได้มีการเปิดอบรมการค้าออนไลน์ให้กับ 7 มหาวิทยาลัยภาคเหนือ มีน้องๆเข้าร่วม 1,500 คนเพื่อปั้นให้เป็นซีอีโอเจนซี (CEO GenZ) ต่อไปในอนาคต คาดว่าจะได้รับความสนใจไปทั่วภาคทั่วประเทศเราจะสร้างซีอีโอเจนซีให้ได้ไม่น้อยกว่า 12,000 คน ภายในหนึ่งปี”นายจุรินทร์กล่าว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง