รีเซต

ยกระดับเฝ้าระวัง! กรมควบคุมโรคยืนยันไทยยังไม่พบโรค "ฝีดาษลิง"

ยกระดับเฝ้าระวัง! กรมควบคุมโรคยืนยันไทยยังไม่พบโรค "ฝีดาษลิง"
TNN ช่อง16
23 พฤษภาคม 2565 ( 11:46 )
164
ยกระดับเฝ้าระวัง! กรมควบคุมโรคยืนยันไทยยังไม่พบโรค "ฝีดาษลิง"

วันนี้( 23พ.ค.65) นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุ ถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิง ว่า เบื้องต้นยังคงพบในต่างประเทศยังไม่พบในประเทศไทย โดยโรคดังกล่าวไม่ใช่โรคใหม่ แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้ว เกิดจากในลิงแล้วคนไปจับลิงต่อจึงทำให้เกิดการติดต่อของโรค ส่วนใหญ่โรคดังกล่าวจะพบได้ในประเทศแถบแอฟริกา ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานพบโรคนี้มาก่อน แต่สถานการณ์ของโรคที่ใกล้ไทยมากที่สุด คือ ในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ที่พบโรคฝีดาษลิงในประเทศสิงคโปร์  ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มาจากประเทศไนจีเรีย

ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยต้องจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษลิงนั้น เนื่องจากสถานการณ์โรคขณะนี้พบว่า มีการแพร่ระบาดเร็วภายใน 2-3 สัปดาห์ที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศกลุ่มยุโรป ที่มีการระบาดในหลายประเทศกว่า10 ประเทศ อีกหนึ่งความกังวล คือ ถ้าหากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วงโควิดระบาดไทยได้มีการปิดประเทศล็อคดาวน์ แต่ตอนนี้มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆมากขึ้นรวมถึงในการเปิดประเทศให้เดินทางเข้าประเทศไทยแบบสะดวกมากยิ่งขึ้น อาจจะทำใผ้การคัดกรองติดตามทำได้ยาก 

จึงมีความจำเป็นต้องยกระดับเพื่อเฝ้าระวัง คัดกรองผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาดและการตรวจจับโรคให้ได้เร็ว  เช่นการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอังกฤษสเปน โปรตุเกส โดยจะมีการ อัปเดตสถานการณ์กลุ่มประเทศมากขึ้น ข้อมูลเบื้องต้น มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงในประชาชนที่แอฟริกา ส่วนยุโรปยังไม่มีการรายงานเสียชีวิต

พร้อมย้ำจะไม่มีการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศ แต่จะมีการให้คำแนะนำกับผู้ที่เดินทางจากประเทศเสี่ยงที่ไทยเฝ้าระวัง โดยจะแจกบัตรที่มีคิวอาร์โค้ด ข้อปฏิบัติตัวหากพบว่ามีอาการ ไข้ หรือ มีตุ่ม มีผื่น โดยจะขอให้มีการแยกตัวกับคนใกล้ชิดและติดต่อเจ้าหน้าที่ 

ทั้งนี้ โรคฝีดาษลิงมีระยะการฟักตัวนานคือ 2-3 สัปดาห์ คือตั้งเริ่มสัมผัสและมีอาการ อาการที่พบ เช่น มีผื่นมีตุ่มน้ำ ซึ่งอาจจะคัดกรองขั้นแรกที่สนามบินค่อนข้างที่จะยาก อาการยังไม่แสดง แต่จะพบอีกทีคือ ผู้ติดเชื้อมีอาการเป็นแผล ตุ่ม ตามร่างกาย  

เบื้องต้น กลไก ในการแพร่โรคติดต่อยังไม่ชัดเจน ต้องรอรวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกก่อน แต่จากข้อมูลที่มีการรายงาน  คือ เป็นการ ติดต่อสัมผัสใกล้ชิดไม่ว่าจะจากสัตว์ที่ป่วยหรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อ เช่น บริเวณผื่น ตุ่มหนอง แต่อาการจะ ม่รุนแรงเท่ากับโรคฝีดาษ ก่อนหน้านี้ซึ่งโรคฝีดาษ ได้หมดการแพร่ระบาดไปแล้ว 

ทั้งนี้ ลิงไม่ได้เป็นพาหะของโรค แต่เป็นแหล่งโรคจากลิงสู่คน และตอนนี้กลายเป็นการติดต่อจากคนสู่คน จึงทำให้ต้องยกระดับการเฝ้าระวัง ซึ่งตอนนี้ยังคงพบโรคฝีดาษลิงในกลุ่มลิงจากแอฟริกา ลิงไทยยังไม่พบการรายงาน

โดยตอนนี้ได้มีการประชุม สั่งการ กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของกรมควบคุมโรค ในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากในการเฝ้าระวัง





ภาพจาก AFP/รอยเตอร์


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง