รีเซต

10 ปี เที่ยวบิน MH370 หายปริศนา มีเทคโนโลยีอะไรค้นหาความจริงนี้ได้อีกครั้งบ้าง ?

10 ปี เที่ยวบิน MH370 หายปริศนา มีเทคโนโลยีอะไรค้นหาความจริงนี้ได้อีกครั้งบ้าง ?
TNN ช่อง16
12 มีนาคม 2567 ( 17:21 )
32
10 ปี เที่ยวบิน MH370 หายปริศนา มีเทคโนโลยีอะไรค้นหาความจริงนี้ได้อีกครั้งบ้าง ?

ในวันที่ 8 มีนาคม 2014 เที่ยวบินที่ MH370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ออกจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ มุ่งหน้าสู่กรุงปักกิ่งในประเทศจีน พร้อมกับผู้โดยสาร 239 ชีวิต หลังจากนั้นก็ขาดการติดต่อเมื่อบินได้เพียง 60 นาที เท่านั้น โดยมาพร้อมปริศนาเส้นทางการบินที่บินตัดมาเลเซียข้ามไปฝั่งทะเลอันดามัน จากเส้นทางปกติที่ควรมุ่งตรงไปปักกิ่ง และจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะพบซากเครื่องบินหรือหลักฐานอุบัติเหตุใด ๆ เพิ่มเติม


การค้นหาเที่ยวบิน MH370 อีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยีที่ดีกว่า

ในระหว่างปี 2014 - 2015 มีความพยายามกำหนดขอบเขตการค้นหา ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย (University of Western Australia: UWA) ได้ใช้ข้อมูลกระแสน้ำจากเก็บข้อมูลตามหลักสมุทรศาสตร์ (Oceanographic drift) คาดการณ์จุดที่ชิ้นส่วนเครื่องบินกระจายตัว ซึ่งสามารถค้นหาพบได้เป็นจำนวนหนึ่ง แต่ว่าจุดตกหลัก (Main crash site) กลับไม่สามารถค้นหาได้ เนื่องจากกระแสน้ำในมหาสมุทรอินเดียที่รุนแรง รวมถึงระดับความลึกที่มากจนเทคโนโลยีการสำรวจใต้น้ำในขณะนั้นไม่สามารถไปต่อได้


โดยหนึ่งในผู้นำการค้นหาในขณะนั้น คือบริษัทโอเชี่ยน อินฟินิตี (Ocean Infinity) ผู้เชี่ยวชาญหุ่นยนต์ทางทะเลที่อยู่ในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยเมื่อไม่นานนี้ว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ซากจากการตกยังคงจมอยู่อย่างสมบูรณ์ใต้ท้องทะเล โดยกำหนดจุดค้นหาใหม่ไปทางใต้จากบริเวณค้นหาเดิมในมหาสมุทรอินเดียอีก 50 กิโลเมตร (ระหว่างละติจูด 36 องศาใต้ กับ 33 องศาใต้ ใต้เส้นที่ 7 ซึ่งเป็นเส้นขอบเขตคาดการณ์สำหรับค้นหาดั้งเดิม)  


โอเชี่ยน อินฟินิตี เชื่อว่า ด้วยโดรนดำน้ำหรือยานใต้น้ำไร้คนขับ (Autonomous Underwater Vehicle: AUV) ที่ทันสมัยขึ้น จะสามารถทนความลึกบริเวณจุดค้นหาใหม่ที่ระดับ 4,000 เมตร ได้ และยังเชื่อด้วยว่าบริเวณนั้นที่มีอุณหภูมิใต้น้ำลึกเพียง 1 - 2 องศาเซลเซียส (°C) และมีกระแสน้ำสงบนิ่ง จะยังคงรักษาสภาพซากเครื่องบินไว้ได้เป็นอย่างดี


ความลับของสัญญาณวิทยุสู่เทคโนโลยีใหม่ในการหาเที่ยวบิน MH370

ในขณะเดียวกัน บีบีซี ดอกคิวเมนทารี (BBC Documentary) ได้เผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับการสูญหายของเที่ยวบิน MH370 ที่สัมภาษณ์อดีตวิศวกรการบิน (Aerospace engineer) ที่มีชื่อว่าริชาร์ด ก็อดฟรีย์ (Richard Godfrey) ซึ่งอ้างว่า เขาค้นพบหลักฐานเส้นทางบินที่ถูกซุกซ่อนในฐานข้อมูลสัญญาณวิทยุด้วย


โดยสัญญาณวิทยุดังกล่าวเรียกว่า WSPR (Weak Signal Propagation Reporter) ซึ่งเดิมทีเอาไว้ใช้เป็นระบบทดสอบความเข้มสัญญาณความถี่คลื่นวิทยุที่ส่งสัญญาณแบบอ่อนกระจายไปทั่วโลกโดยตัวปล่อยสัญญาณนับพันทุก ๆ 2 - 3 นาที ซึ่งก็อดฟรีย์พบว่า สัญญาณ WSPR เกิดความปั่นป่วน (Disturbance) เป็นเส้นทางกว่า 130 จุด ซึ่งสามารถใช้หลักคำนวณคลื่นและพบเส้นทางของการบิน MH370 ในมหาสมุทรอินเดีย 


อย่างไรก็ตาม หลักการนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ แต่ศาสตราจารย์ ไซมอน แมสเคลล์ (Simon Maskell) จากสาขาระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) เชื่อว่าสิ่งที่ก็อดฟรีย์พูดนั้นเป็นความจริง และการสร้างระบบคำนวณเส้นทางความปั่นป่วนสัญญาณ WSPR ไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าจะทำให้เป็นจริงได้


ทั้งนี้ ทางรัฐบาลมาเลเซียประกาศว่าพร้อมค้นหาเครื่องบินเที่ยวบิน MH370 อีกครั้งเมื่อมีข้อมูลที่แน่ชัดมากพอ ซึ่งริชาร์ด ก็อดฟรีย์ (Richard Godfrey) เชื่อว่าความจริงได้เข้ามาใกล้มากพอแล้ว โดยกล่าวว่า “I'm absolutely convinced it will only take one more search and we will find MH370. - ผมขอให้เชื่อหมดใจเลยว่าอีกแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เราก็จะเจอ MH370 ที่ตามหา” 


ข้อมูลจาก The ConversationUNILAD

ภาพจาก Wikicommons

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง