รีเซต

ยูเอ็นคาด 'ประชากรโลก' แตะ 8 พันล้านคน กลางเดือนพ.ย.

ยูเอ็นคาด 'ประชากรโลก' แตะ 8 พันล้านคน กลางเดือนพ.ย.
Xinhua
11 กรกฎาคม 2565 ( 20:18 )
128
ยูเอ็นคาด 'ประชากรโลก' แตะ 8 พันล้านคน กลางเดือนพ.ย.

สหประชาชาติ, 11 ก.ค. (ซินหัว) -- วันจันทร์ (11 ก.ค.) สหประชาชาติ (UN) เปิดเผยการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกจะสูงแตะ 8 พันล้านคน ในวันที่ 15 พ.ย. นี้ โดยคาดว่าอินเดียจะแซงหน้าจีนกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในปี 2023

 

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เผยว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นเครื่องเตือนใจถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลโลกของทุกคน และเป็นช่วงเวลาแห่งการตระหนักถึงข้อผูกพันที่ยังไม่บรรลุซึ่งกันและกันรายงานแนวโน้มประชากรโลก (World Population Prospects) ประจำปี 2022 ระบุว่าอัตราการเติบโตของประชากรโลกนั้นช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 1950 โดยต่ำกว่าร้อยละ 1 ในปี 2020ประชากรโลกอาจเพิ่มขึ้นเป็นราว 8.5 พันล้านคนในปี 2030 และ 9.7 พันล้านคนในปี 2050 ก่อนจะแตะระดับสูงสุดที่ราว 1.04 หมื่นล้านคนในช่วงทศวรรษ 2080 โดยคาดว่ากลุ่มประเทศอนุภูมิภาคแอฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮารา (sub-Saharan Africa) จะครองสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจนถึงปี 2050ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่าประชากรที่จะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2050 นั้นมากกว่าครึ่งหนึ่ง จะกระจุกตัวอยู่ใน 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อียิปต์ เอธิโอเปีย อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และสหสาธารณรัฐแทนซาเนียหลิวเจิ้นหมิน รองเลขาธิการสหประชาชาติด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้การขจัดความยากจน การต่อสู้กับความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ และการเพิ่มความครอบคลุมของระบบสุขภาพและการศึกษา ดำเนินไปยากยิ่งขึ้น ทว่าทางกลับกัน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การศึกษา และความเท่าเทียมทางเพศ จะมีส่วนส่งผลให้ระดับภาวะเจริญพันธุ์ลดลงและชะลอการเติบโตของประชากรโลก[caption id="attachment_294156" align="aligncenter" width="2560"] (แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยเดินในรัฐตริปุระทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย วันที่ 1 ม.ค. 2022)[/caption]ภาวะเจริญพันธุ์ในหลายประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยปัจจุบันสองในสามของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศหรือพื้นที่ที่มีภาวะเจริญพันธุ์ชั่วชีวิตต่ำกว่า 2.1 คน ต่อผู้หญิง 1 คน ซึ่งเป็นระดับโดยประมาณที่จำเป็นต่อการเติบโตเป็นศูนย์ในระยะยาวสำหรับประชากรที่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำรายงานคาดการณ์ว่าประชากรของ 61 ประเทศหรือพื้นที่ จะลดลงร้อยละ 1 หรือมากกว่าระหว่างปี 2022-2050 เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ลดต่ำอย่างต่อเนื่องและอัตราการย้ายถิ่นฐานสูงขึ้นในบางกรณี ขณะสัดส่วนของประชากรโลกอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ในปี 2022 เป็นร้อยละ 16 ในปี 2050"ประเทศที่มีประชากรสูงอายุควรดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อปรับโครงการสาธารณะให้เข้ากับสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงความยั่งยืนของระบบประกันสังคมและระบบบำนาญ และการจัดตั้งระบบดูแลสุขภาพถ้วนหน้าและระบบดูแลระยะยาว" รายงานระบุขณะเดียวกันอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ราว 77.2 ปี ในปี 2050 ด้วยอัตราการเสียชีวิตที่ลดลง โดยอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดทั่วโลกในปี 2019 อยู่ที่ 72.8 ปี เพิ่มขึ้นเกือบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 1990อย่างไรก็ดี อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดทั่วโลกในปี 2021 ลดลงเหลือ 71 ปี เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ขณะอายุคาดเฉลี่ยในประเทศด้อยพัฒนาที่สุดนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 7 ปีทั้งนี้ วันประชากรโลก (World Population Day) ถูกกำหนดเป็นวันที่ 11 ก.ค. นับตั้งแต่ปี 1990 เพื่อปลุกจิตสำนึกในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของประชากรทั่วโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง