รีเซต

9 อาการป่วย จากการ 'เรียนออนไลน์' ยุค New normal

9 อาการป่วย จากการ 'เรียนออนไลน์' ยุค New normal
TrueID
10 มิถุนายน 2564 ( 11:46 )
4.9K

จากข่าวผลสำรวจพบเด็กเรียนออนไลน์ผ่านมือถือมากสุด 50.9% หวั่นกระทบสุขภาพ ชี้คอมพิวเตอร์-แท็บเล็ตต้นทุนสูง ลูกหลายคนยิ่งเป็นอุปสรรค การเรียนออนไลน์มีทั้งข้อดี และข้อเสีย วันนี้ trueID ได้รวมอาการป่วยของการเรียนออนไลน์มาให้ผู้ปกครองได้รู้จัก และหาวิธีรับมือกัน

 

 

อาการป่วยจากการ 'เรียนออนไลน์'

 

1.โรคออฟฟิศซินโดรม

 

ในอนาคตโรคออฟฟิศซินโดรมจะไม่ได้มีแค่ผู้ใหญ่ ถ้าเด็กจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง จะเกิดผลเสียต่อสายตา ที่แย่ไปกว่านั้นคือ เกิดความ “เกร็ง” ส่งผลเสียต่อเนื่องไปยังกล้ามเนื้อคอและหลังตามมาได้ อาจจะต้องมีการขยับบ้างอย่างน้อยๆ ต้อง 30 นาทีต่อครั้ง

 

2.โรคอ้วน

 

โรคอ้วนในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆเกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม คือการกินมากกว่าที่ใช้ไปและวิถีชีวิตแบบนั่งๆนอนๆ (Sedentary Lifestyle) ไม่ว่าเป็นการเล่นวิดีโอเกม ดูทีวี เล่นไอแพดเป็นเวลานานโดยขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้เด็กบางคนอาจมีปัญหาทางจิตใจ เช่น อาการซึมเศร้า ทำให้กินมากเกินไป

 

“เด็กอ้วนขึ้น” อาจจะเป็นเพราะเด็กอยู่บ้านมากขึ้นเลยไม่ได้ดูแลในเรื่องของโภชนาการอาหาร และผู้ปกครองเกิดความกังวลใจหากจะพาเด็กมาพบหมอตามนัดในช่วงสถานการณ์โควิด-19

 

การรักษา ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย การรักษาจะมีประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความใส่ใจของพ่อแม่ในการให้เด็กกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกาย นอกจากนี้การนำเด็กมารักษาแต่เนิ่นๆตั้งแต่ยังเล็กจะได้ประสิทธิผลกว่ารักษาในช่วงวัยรุ่นเพราะเด็กยังอยู่ในการควบคุมดูแลของพ่อแม่อย่างใกล้ชิด

 

 

 

 

3.โรคเกี่ยวกับสายตา

 

แน่นอนล่ะอันดับต้นๆที่จะส่งผลกระทบคือ “ดวงตา”  เวลาที่เราต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จะมีอาการตาพร่ามัวหรือปวดตา  บางคนอาจมีอาการน้ำตาไหล ปวดศีรษะ และตาแดงร่วมด้วย นั่นเป็นสิ่งที่เตือนว่าเราใช้คอมพิวเตอร์และมือถือนานเกินไป  เราควรพักสายอย่างน้อยทุกๆ หนึ่งชั่วโมงด้วยการนั่งหลับตาซักพัก หรือ มองไปทางอื่นให้ไกลๆเพื่อปรับโพกัสของสายตาสักพักแล้วค่อยกลับมามองหน้าจออีกครั้ง

 

การรักษา อาจจำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมหยอดตาบ่อยๆ หรือยาหยอดตาชนิดที่ยับยั้งการคั่งของเลือดบริเวณตา

 

 

 

 

4.โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรือ Carpal Tunnel Syndrome (CTS)

 

อาการของโรคนี้คือจะปวดร้าวบริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ บางคนอาจมีอาการชาร่วมด้วย กำมือแน่นๆไม่ได้ หยิบจับของแล้วทำร่วงหล่นตลอด สาเหตุของโรคนี้เกิดจากท่าทางการวางมือขณะที่เราจับเมาส์ และแป้นคีย์บอร์ดด้วยความเคยชิน ทำให้เกิดอาการข้อมืออักเสบขึ้นและมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ตามมา

 

การรักษา ปรับการใช้ข้อมือในการทำงานและชีวิตประจำวัน โดยการปรับอุปกรณ์การทำงานให้ถูกตามหลักสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงการใช้งานมือในลักษณะเกร็งนานๆ ในงานที่ต้องใช้ข้อมือกระดกขึ้น งอข้อมือนานๆ รวมถึงงานที่มีการสั่นกระแทกจนทำให้ความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้นด้วย

 

5.โรคอดทนรอไม่ได้

 

อาการของโรคนี้จะเกิดกับคนที่ชอบเล่นอินเตอร์เน็ต เวลาที่หน้าเว็บไซต์โหลดช้า หรือการดาวน์โหลดต้องใช้เวลานาน จะทำให้ผู้ใช้หงุดหงิด กระวนกระวาย ใจร้อน ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ อาจทำให้เป็นโรคประสาทได้เหมือนกัน 

 

การรักษา ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้มาก หรือหากิจกรรมอื่นๆ ทำระหว่างการนั่งรอโหลดหน้าเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดงานต่างๆ เช่น การเล่นเกม หรืออ่านหนังสือควบไปด้วย เพราะถ้าควบคุมอารมณ์ไม่ได้ งานก็จะไม่เดิน เพื่อนร่วมงานก็อาจจะหนีหน้าเอาได้

 

6.อาการปวดหลัง

 

อาการปวดหลังมักเกิดจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน รวมถึงเก้าอี้ที่นั่งเวลาใช้คอมพิวเตอร์ด้วย น้องๆหลายคนชอบนั่งไขว่ห้างเวลาใช้คอมพิวเตอร์รู้หรือไม่ว่าการนั่งท่านี้ทำให้ปวดหลังเอามากๆ  ถ้าไม่อยากปวดหลัง เราต้องนั่งในท่าที่ถูกต้องในการใช้คอมพิวเตอร์ค่ะ คือนั่งหลังตรง เก้าอี้ได้มาตราฐานและความสูงของเก้าคือการที่เรานั่งลงไปแล้วสายตาเราอยู่ระดับเดียวกับหน้าจอ

 

7.อาการปวดหัว 

 

อาการปวดหัวส่วนมากมักเกิดจากปัญหาอาการปวดตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มจากการดูแลดวงตาของเราก่อน อย่าลืมปรับแสงหน้าจอให้สว่างพอเหมาะ อย่าเพ่ง/จ้องหน้าจอนานเกินไปปรับตัวหนังสือให้มีขนาดพอดี พักสายตาบ้างเมื่อดวงตาอ่อนล้า โดยการมองไปยังทิศทางอื่นที่สายตาสามารถโพกัสได้ไกลเพื่อปรับจุดโพกัสสายตา

 

8.โรคนอนไม่หลับ

 

นอกจากปัญหาของอาการปวดหัวและปัยหาอื่นๆแล้ว ปัญหาการนอนไม่หลับจากการใช้คอมพิวเตอร์ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนเป็นอยู่แต่อาจจะไม่รู้ตัว มีผลการวิจัยพบว่าความสว่างของหน้าจอมีผลต่อการนอนไม่หลับจริง แล้วไม่ใช่แค่การใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตต่างๆ ด้วย

 

เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการนอนหลับและเวลาตื่นของมนุษย์ จากการศึกษาของนักวิจัยพบว่า การที่เราสัมผัสกับแสงของหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำให้จำนวนของเมลาโทนินลดลง นอกจากนี้การใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงกลางคืนยังทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว และยังทำให้นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนแปลงด้วยค่ะ นี่คือสาเหตุที่ทำให้เรานอนไม่หลับนั่นเอง

 

9.โรคภูมิแพ้

 

สำหรับโรคนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดน พบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิวเตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานมีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีในบริเวณที่ทำงาน หรือที่อยู่อาศัยจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

 

การรักษา โรคนี้คงยากสักหน่อยสำหรับผู้ที่อยู่ในบ้าน หรือออฟฟิศที่มีพื้นที่จำกัด แต่อาจจะเปิดพัดลมเป่าจอคอมพิวเตอร์ไปด้วยในระหว่างที่ใช้ จัดห้องให้อากาศถ่ายเทสะดวกที่สุดก็น่าจะพอหลีกเลี่ยงได้บ้าง หรือหาต้นกระบองเพชรต้นเล็กๆ มาวางไว้ใกล้ๆ เพราะต้นกระบองเพชรจะช่วยดูดรังสีได้

 

 

ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มาก และกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในการเรียนแบบออนไลน์ แต่โทษของการใช้งานเป็นเวลามากเกินไปโดยไม่ระมัดระวัง ก็อาจก่อให้เกิดโทษและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของน้องๆเองได้ ดังนั้น ควรดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต

 

 

ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข

รูปภาพโดย mohamed hassan ฟอร์ม PxHere

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวม หลักสูตร น่าเรียน กศน. ออนไลน์ ปี 2564

ใส่ชุดนักเรียน เรียนออนไลน์แล้วมีระเบียบ? มีวิธีทำเองได้ไม่ต้องซื้อชุดใหม่

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง