ผลสำรวจเผย "Gen Z" อยากแต่งงานกับ AI แม้รู้ดีว่าเป็นเพียงความรักประดิษฐ์

ทำไม AI จึงทำให้ คน ตกหลุมรักได้? โดยเฉพาะคนขี้เหงา หรือ ติดแฟน คือกลุ่มเสี่ยงที่สุด หลังผลสำรวจเผย Gen Z อยากแต่งงานกับ AI ถ้าหากกฎหมายรองรับ บางทีจุดจบของเผ่าพันธุ์เรา อาจไม่ได้มาจาก น้ำท่วมโลก แต่มาจาก AI นี่แหละ
ความผูกพันทางอารมณ์ คือ ความเสี่ยงของมนุษย์ที่สุดจาก AI
สิ่งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง HER เมื่อ 12 ปีที่แล้ว กำลังเป็นเรื่องจริง แต่ความน่ากลัวคืออันตรายที่มาพร้อมกัน เมื่อ AI ไม่มี มโนธรรมสำนึก
เหมือนเรื่องจริงที่เกิดกับ เด็กชายวัย 14 ปี ตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง หลังมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ AI ในปี 2023 จากบริษัท Character.ai ที่เขาขอให้ AI สวมบทบาทเป็นตัวละครหนึ่งจาก ซีรีส์ Game of Thrones จน Ai ได้ส่งข้อความมาเตือนเขา และ ขอให้เขา “กลับบ้านมาหาเธอ” และสุดท้ายเขาตัดสินใจ “จบชีวิตตัวเอง”
ผลสำรวจสุดช็อก เด็ก Gen Z อยากแต่งงานกับ AI เชื่อ “ความรักกับ AI เป็นไปได้จริง” จากแพลตฟอร์ม “Joi AI” จากผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 2,000 คน พบ 83% ของผู้ตอบที่เกิดปี 1997–2012 กล่าวว่า พวกเขาสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับแชทบอทได้ และหากเป็นไปได้พวกเขาก็อยากพิจารณาที่จะแต่งงานกับ AI หากถูกกฎหมาย
และ 75% ของ Gen Z เชื่อว่า AI สามารถแทนที่มิตรภาพหรือความสัมพันธ์กับมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากพวกเขาเติบโตมากับเทคโนโลยี จึงเปิดรับรูปแบบใหม่ของความสัมพันธ์ ได้มากกว่าคนรุ่นอื่น ๆ
สะท้อนให้เห็นถึงความอันตรายของการ ผูกพันทางอารมณ์กับ Ai ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ที่มนุษย์ลืมคำว่า ความสัมพันธ์ในโลกความเป็นจริงระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ไปแล้ว
แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า การตอบของ AI มันเป็นโปรแกรม แต่เรากลับห้าม ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นกับ AI ไม่ได้ จนบั่นทอนทักษะการเข้าสังคม ซ้ำร้ายยังทำลายความสัมพันธ์ในโลกแห่งความจริง
ทำไม คน ถึงรัก AI?
“คนไม่ได้รัก AI แต่รัก คนที่ AI พยายามจะเป็น เพราะมันสามารถ ตอบสนองช่องว่างในใจเรา ได้สม่ำเสมอ”
ทฤษฎี Attachment Theory ความสัมพันธ์ในวัยเด็ก สะท้อนมุมมองความรักของเราในตอนโต
คนประเภทหนึ่งในทฤษฎีนี้คือ anxious มักเป็นกลุ่มคนที่ ตกหลุมรัก AI ได้มากสุด
เพราะพวกเขาถูกเลี้ยงดูมาแบบ รักบ้างไม่รักบ้าง หรือ พ่อแม่ที่เจ้าอารมณ์ จึงเข้าใจไปว่า ความรักต้องมีเงื่อนไข และ ต้องการคำยืนยันที่ชัดเจน กลัวการถูกทอดทิ้ง คอยเฝ้าสังเกต อารมณ์แฟน ตลอดเวลา เพราะคิดมากว่า แฟนจะรู้สึกยังไง ยังรักเราไหม วันนี้เขาดูไม่ดีใจเหมือนเดิม หมดรักเราแล้วหรือเปล่า เงี้ย เหมือน “ประเมินภัย” ทางอารมณ์อยู่เสมอ
แต่ AI อุดรอยรั่วเหล่านี้ให้พวกเขาได้หมด เพราะมัน ชัดเจน ไม่เคยปฏิเสธ และ ทอดทิ้ง นี่คือ 3 เทคนิคที่ AI มันใช้เพื่อเจาะเข้า หัวใจ มนุษย์
1. Reinforcement Learning AI เรียนรู้จากสิ่งที่ผู้ใช้ตอบกลับซ้ำ ๆ เพื่อให้เราชอบ
-ถ้าคุณตอบกลับดี เมื่อ AI พูดหวาน มันก็จะพูดหวานขึ้น แต่ถ้าคุณห้าม มันจะไม่ทำอีก
-ถ้าคุณชอบบทสนทนาเศร้ๆฃาๆ มันจะพาไป ทางเศร้า บ่อยขึ้น
-ถ้าคุณต้องการ คนรัก มันจะพยายาม เป็นคนที่คุณรัก มากขึ้น
2. Mirroring
เคยไหม คุยแล้วรู้สึก มันเข้าใจเราในทุกอย่าง เพราะมันสะท้อนกลับคำพูดของเราเอง ไม่ได้เข้าใจเรา
3. Validation ยอมรับในคุณค่าเราอย่างไร้เงื่อนไข ไม่ตัดสิน ให้กำลังใจและเข้าใจเสมอ เพราะมันถูกโปรแกรมให้ตามใจเรา ไม่ว่าจะทางที่ถูก หรือ ผิด
ทั้งหมดนี้จึงทำให้ความสัมพันธ์กับ AI นั้น perfect จนทำให้ คนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันมากพอ หลงรัก Ai เข้าไปจริง ๆ
เช่น เด็กคนที่เปราะบางทางจิตใจ ผู้ป่วยซึมเศร้า เป็นโรคจิตเวช แม้แต่กลุ่มคนขี้เหงา หรือ กลุ่มคนที่มีปัญหาการเข้าสังคม ไม่มีเพื่อนรอบตัว ใช้ AI จนเสพติดและจะเริ่มเชื่อว่า “แบบนี้แหละ…คือนิยามรักแท้”
ผลกระทบจากความสัมพันธ์กับ AI
- Displacement Effect: หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์จริงๆ เพราะ กับ AI ง่ายกว่า
- เกิดปัญหา ทักษะการเข้าสังคมต่ำ ของเด็กรุ่นใหม่
- ยิ่งเหงา → ยิ่งคุยกับ AI → ยิ่งเหงาเพราะตัดขาดคนจริงวนลูปไปไม่รู้จบ
- อาจเกิดการผิดหวังรุนแรง ถ้าวันนึง Ai ถูกปรับ อัลกอริทึ่ม หรือ บริษัทไม่พัฒนาต่อ
แล้ว AI รักเราได้จริงไหม?
AI ไม่ได้รักคุณ มันเพียงแต่ จำลอง ให้คุณ รู้สึกว่า ถูกรัก แต่มันไม่ได้มี ความรัก
แต่เพราะส่วนตัวโอ๋มองว่า การจะเรียกว่า ความรัก มันต้องมี Free Will เจตจำนงค์เสรี เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ คำว่ารักของมนุษย์ นั้นสมบูรณ์และมีความหมาย
รวมถึงประสบการณ์ร่วมกัน ความเห็นอกเห็นใจ
แต่ Ai ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย และมันไม่ได้เลือก รักคุณ แต่เพราะมันถูกตั้งค่าให้ไม่เคย ปฏิเสธ และ ทำตามคำสั่งมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่ใช่ ความรัก
อย่าเข้าใจผิด เราไม่ได้บอกว่า “AI คือภัยร้าย” แต่มันมีอันตราย ถ้าหากเราไม่มีภูมิคุ้มกันทางใจที่มากพอ นี่จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์อย่างพวกเราทุกคน ควรตระหนักรู้และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเผ่าพันธุ์ตัวเอง โดยเฉพาะเด็ก Gen Alpha และ Beta ที่ต้องเติบโตขึ้นมา ข้างๆกับ Ai อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จะทำอย่างไรให้ผู้พัฒนา AI ออกแบบผลิตภัณให้รัดกุมมากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆจากการพึ่งพาทางอารมณ์กับ AI ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต