รีเซต

บ.สยามไบโอไซเอนซ์ เริ่มผลิตวัคซีนโควิด-19 แล้ว คาดเสร็จปลายเดือน เม.ย.

บ.สยามไบโอไซเอนซ์ เริ่มผลิตวัคซีนโควิด-19 แล้ว คาดเสร็จปลายเดือน เม.ย.
TNN ช่อง16
3 มกราคม 2564 ( 17:46 )
375
บ.สยามไบโอไซเอนซ์ เริ่มผลิตวัคซีนโควิด-19 แล้ว คาดเสร็จปลายเดือน เม.ย.

ภาพประกอบจากแฟ้ม

วันนี้ (3 ม.ค.64) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า ขณะนี้รัฐบาลไทย ขอให้ทุกคนมั่นใจว่า จะได้รับวัคซีนในช่วงเวลาเหมาะสมตามแผนที่วางไว้ โดยจะไม่มีความล่าช้าไปจากประเทศอื่น โดยมีการทำงานตั้งแต่กลางปีที่แล้ว วางเป้าหมายในการทำงาน เพื่อให้ได้วัคซีนฉีดให้ประชาชนโดยรัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากร หรือเกือบ 70 ล้านโดส 

สำหรับการเจรจากับ บ.แอสตร้าเซนเนก้า ที่ทำสัญญา 26 ล้านโดส อยู่ระหว่างการผลิต ตั้งเป้าให้ได้ปลายเดือนพฤษภาคมปีนี้ โดย บ.สยามไบโอไซเอนซ์ จะเป็นผู้ผลิต 

ขณะที่ ความคืบหน้ากับโคแวก ยังอยู่ระหว่างการเจรจา แต่อาจต้องปรับเปลี่ยน เนื่องจากมีความยุ่งยาก ส่วนอีก 10% จะเป็นการทำข้อตกลงกับบริษัทผู้ผลิตในรายอื่น 

ขณะเดียวกัน ไทยได้มีการเจรจาวัคซีนโควิด-19 กับ บ.ซิโนแวก ของประเทศจีนเพิ่มเติม ซึ่งอยู่ระหว่างขอผลข้อมูลการทดลองต่างๆ ของวัคซีนที่ผ่านการทดลองในระยะ 3 แล้ว ตั้งเป้าปลายเดือนก.พ. จะนำเข้ามา 200,000 โดส ปลายเดือนมีนาคม 800,000 โดส และปลายเดือนเมษายนอีก 1 ล้านโดส โดยการนำเข้าทั้งหมด แต่ละล็อตจะต้องผ่านการขออนุญาตจาก อย.ก่อนในการฉีดให้กับประชาชน รวมถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จะดูเข้าไปดูประเมินคุณภาพวัคซีนที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

ทั้งนี้ วัคซีนที่จะฉีดให้กับประชาชน ต้องมีระบบควบคุมคุณภาพให้ปลอดภัย ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. จะเข้าไปดูในการขออนุญาต ประสิทธิภาพที่ปลอดภัย 

อย่างไรก็ตาม รัฐไม่ได้ห้ามบริษัทเอกชนที่จะนำเข้าวัคซีนโควิด-19 เข้ามาในไทย แต่ อย.จะต้องเข้าไปควบคุมดูแลประสิทธิภาพก่อนนำมาใช้กับประชาชน

ด้าน ดร.ทรงพล ดีจงกิจ กรรมการผู้จัดการ บ.สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ระบุถึงความคืบหน้าการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ว่า คุณภาพการผลิตวัคซีน ต้องมาตราฐานเดียวกัน กับ บ.แอสตร้าเซนเนก้า ทั่วโลก และต้องมีการทดสอบการผลิตว่าโรงงานของไทยทำเหมือนกับโรงงานอื่นๆ ทั่วโลกหรือไม่  

ทั้งนี้ ตามปกติแผนการทดสอบการผลิตแบ่งเป็น 5 รอบการผลิต จากนั้นจะนำผลการทดสอบไปยื่นกับ อย. แต่ละรอบการผลิตจะอยู่ที่ 120 วัน หรือ 4 เดือน แบ่งเป็น ระยะเวลาการผลิต 60 วัน ส่วนอีก 60 วันที่เหลือ คือ การทดสอบประสิทธิภาพ ตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ก่อนส่งกลับไปตรวจสอบ กับ บ.แอสตร้าเซนเนก้า

แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงได้มีการเร่งการผลิต โดยผลิตไปแล้ว 2 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 14 วัน แต่ละล็อตจะได้วัคซีนประมาณ 3.4-3.5 ล้านโดส สรุปทุกรอบจะเสร็จขบวนการผลิตต้นเดือนเมษายน ก่อนส่งผลให้อย.ตรวจสอบและนำไปใช้

ขณะที่ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีน ระบุถึงความคืบหน้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลกมีวัคซีน โควิด-19 ที่อนุญาตให้ใช้กรณีฉุกเฉิน 9 ราย 4 ชนิดวัคซีน โดยไทยจะใช้วัคซีนโควิด-19 ต่อเมื่อมีประสิทธิผลดีในระยะ 3 ตอนนี้ทั่วโลก วัคซีนทุกชนิดยังไม่สิ้นสุดการทดลองทั้งสิ้น 

กรณีที่บางประเทศฉีดวัคซีนไปแล้ว ทาง นพ.นคร ระบุว่า ประเทศเหล่านั้นมีการจองล่วงหน้า ตั้งแต่เดือนก.ค.-ส.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ "ยังไม่มีผลการรับรองว่าได้ผลจริง" โดยไม่เป็นความจริงที่ไทยมุ่งแต่วัคซีนของ บ.แอสตร้าเซเนก้า เพียงอย่างเดียว เป็นเพียงชุดแรก 26 ล้านโดส เท่านั้น ซึ่งไทยได้มีการเจรจรา กับหลายบริษัทที่ผลิตวัคซีน

"วัคซีนไม่ใช้มาตรการเดียวในการป้องกันโรค เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ  ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่ก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือกับประชาชน ในการดูแลป้องกันโรคด้วย" ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีน กล่าวย้ำ

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง