รีเซต

ช่วงโควิดคนไทยเข้าประเมิน‘โรคซึมเศร้า’ 3.5 ล้านคน กรมสุขภาพจิตเผยแนวทางช่วย

ช่วงโควิดคนไทยเข้าประเมิน‘โรคซึมเศร้า’ 3.5 ล้านคน กรมสุขภาพจิตเผยแนวทางช่วย
TNN ช่อง16
30 มิถุนายน 2565 ( 15:25 )
100
ช่วงโควิดคนไทยเข้าประเมิน‘โรคซึมเศร้า’ 3.5 ล้านคน กรมสุขภาพจิตเผยแนวทางช่วย

วันนี้ ( 30 มิ.ย. 65 )นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยสถิติประชาชนเข้าประเมินความเสี่ยง 'โรคซึมเศร้า' ในเว็บไซต์วัดใจ พบว่า ในช่วงเริ่มมีโควิดระบาดถึงปัจจุบัน มีประชาชนเข้าประเมิน กว่า 3 ล้าน 5 แสนคน พบ ผู้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 8.5 ต่างจากช่วงยังไม่มีโควิด ที่พบผู้มีความเสี่ยง ร้อยละ 3-5 เท่านั้น

 โดยปัจจุบันผู้มีความเสี่ยงซึมเศร้าส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 28-29 ปี เป็นกลุ่มช่วงทำงาน และจะเริ่มทำงาน หลายคน เครียดจากภาวะการเงิน ที่กังวลจะไม่ถูกจ้างงาน อีกปัญหาที่ตามมาคือความสัมพันธ์ เพราะโควิด ทำให้แต่ละครอบครัว ใช้ชีวิตห่างกันมากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะหายได้ หากคนข้างๆ สร้างความเข้าใจและคอยรับฟัง ให้กำลังอยู่ทุกเวลาตามที่คนกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ

โฆษกกรมสุขภาพจิต แนะวิธีแนวทางที่คนรอบข้าง จะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ คือ อันดับแรก ต้องรับฟังปัญหาจากคนกลุ่มนี้มากกว่าการพูดให้คำแนะนำ  โดยเริ่มจากการสังเกต และ เข้าไปถามก่อนปล่อยให้ระบายความรู้สึก และ ฟังจนจบจากนั้นจึงค่อยพูดให้กำลังใจ 

ส่วนคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า  นพ.วรตม์  ชี้ว่าการกินยาอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะยาจะช่วยปรับสารในสมองทุเลาอาการเท่านั้น แต่สิ่งเสริมเพิ่มจะช่วยให้อาการดีขึ้น คือ การพาตัวเองออกมาจากจากจุดที่เกิดปัญหา เช่น หากยังมีปัญหาการทะเลาะมีปากเสียงรุนแรงในครอบครัว ผู้ป่วยควรพาตัวเองออกมาจากจุดนั้น ไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมปัญหาซ้ำๆ ควรพาตัวเองออกมาอยู่ในสังคม สิ่งแวดล้อมที่สร้างความสบายใจ จะช่วยให้อาการดีขึ้นและหายโดยเร็ว

วิดีโอข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก  : กรมสุขภาพจิต

ภาพจาก  : AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง