รีเซต

ผลวิจัย ม.รังสิต ชี้คนกรุงเทพฯ ในพื้นที่สาธารณะ ตลาด ทางเดินเท้า เกินครึ่ง 'กระเป๋าแฟบ'

ผลวิจัย ม.รังสิต ชี้คนกรุงเทพฯ ในพื้นที่สาธารณะ ตลาด ทางเดินเท้า เกินครึ่ง 'กระเป๋าแฟบ'
มติชน
18 พฤษภาคม 2565 ( 16:50 )
42
ผลวิจัย ม.รังสิต ชี้คนกรุงเทพฯ ในพื้นที่สาธารณะ ตลาด ทางเดินเท้า เกินครึ่ง 'กระเป๋าแฟบ'
 
ข่าววันนี้ 18 พฤษภาคม รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยผ่านเพจ ‘โฟกัสเลือกตั้งผู้ว่า กทม. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต’ ว่า ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงโรงเรียนและมหาวิทยาลัยปิดเทอม ทั้งยังเป็นช่วงที่ผู้คนยังกังวลเรื่องโควิด รวมทั้งมาตรการของรัฐบาลที่สั่งห้ามทำกิจกรรมทั้งทางธุรกิจการค้าและทางสังคมบางอย่าง คำถามสำคัญคือ หากท่านออกจากบ้านไปสู่ท้องถนนของกรุงเทพฯ ในช่วงกลางวัน ราวสายๆ จนถึงยามเย็น ท่านจะเห็นใครยืนเดินนั่งที่ฟุตบาท ป้ายรถเมล์ หน้าตลาดสด หน้าห้างสรรพสินค้า บ้าง
 
 
จากข้อมูลงานวิจัยของนายภาณุพัฒน์ เหลือพร้อม นางสาวพิมพ์ณัฐชยา โรจนโยทิน นางสาวฐรดา สิรปวเรศ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ที่ได้วิจัยเรื่อง “ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565” เจาะลึกเขตดอนเมือง เขตพระนคร และเขตจอมทอง ตามลำดับ ซึ่งเก็บแบบสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุ 18 ปีขึ้นไป เขตละ 400 คน รวม 1,200 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 16 เมษายน ถึง 8 พฤษภาคม 2565 พบว่า
 
.
1. คนกรุงเทพฯ มี 5.52 ล้านคน ในพื้นที่ฟุตบาท/ตลาด/พื้นที่สาธารณะ ท่านจะเห็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (52% ต่อ 46%) ที่เหลืออีก 2% ท่านจะเห็นเพศทางเลือก
 
2. ท่านจะเห็นคน Gen Y (อายุ 26-42 ปี) ในพื้นที่ฟุตบาท/ตลาด/พื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ มากที่สุดราวครึ่งหนึ่งของคนที่ท่านได้พบเห็น รองลงมาท่านจะเห็นคน Gen Z (อายุ 18-25 ปี) ถึงทุกๆ 1 ใน 4 คน ส่วนคน Gen X (อายุ 43-57 ปี) ท่านจะพบทุกๆ 1 ใน 5 คน แต่คน Gen Baby Boomer ขึ้นไป (อายุ 58 ปีขึ้นไป) ท่านจะพบเห็นได้น้อยมาก
 
3. ท่านจะเห็นคนกรุงเทพฯ ในพื้นที่ฟุตบาท/ตลาด/พื้นที่สาธารณะ ที่มีเงินอยู่ในกระเป๋าแฟบและกระเป๋าแฟบที่สุด (รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท) ก็ราวครึ่งของคนทั้งหมด ส่วนคนที่พอจะอยู่กินได้เต็มอิ่ม (รายได้ต่อเดือนสูงกว่า 40,000 บาท ขึ้นไป) นั้นมีเพียงน้อยนิดราวเพียง 5% เท่านั้น
 
4. สรุป กรุงเทพฯ เมืองมหานครที่คนส่วนใหญ่มีเงินแบบกระเป๋าแฟบ
 
 
รายละเอียดข้อมูล (1,200 คน) ดังนี้
 
ด้านเพศ ชาย 554 คน 46.2% หญิง 618 คน 51.5% เพศทางเลือก 28 คน 2.3%
 
ด้านอายุ Gen Z (อายุ 18-25 ปี มี 5.5 แสนคน) 300 คน 25.0% Gen Y (อายุ 26-42 ปี มี 1.32 ล้านคน) 572 คน 47.6% Gen X (อายุ 43-57 ปี มี 1.27 ล้าน) 247 คน 20.6% Gen Baby Boomer ขึ้นไป (อายุ 58 ปีขึ้นไป มี 1.23 ล้านคน) 81 คน 6.8%
 
ด้านรายได้ รายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 มี 86 คน 7.1% รายได้ 10,001-20,000 มี 498 คน 41.5% รายได้ 20,001-30,000 มี 404 คน 33.7% รายได้ 30,001-40,000 มี 130 คน 13% รายได้ตั้งแต่ 40,001 ขึ้นไป มี 56 คน 4.7%
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง