รีเซต

หุ่นยนต์ตู้กับข้าว ! ทำอาหาร 120 เมนู สด ๆ ได้ในไม่กี่นาที ใช้งานจริงแล้วในเยอรมนี

หุ่นยนต์ตู้กับข้าว ! ทำอาหาร 120 เมนู สด ๆ ได้ในไม่กี่นาที ใช้งานจริงแล้วในเยอรมนี
TNN ช่อง16
23 ตุลาคม 2567 ( 12:57 )
27

กู๊ดไบตซ์ (GoodBytz) บริษัทหุ่นยนต์ในเยอรมนี เปิดตัวหุ่นยนต์ตู้กับข้าวที่สามารถเตรียมอาหารกว่า 120 รายการ แบบปรุงสดได้ในไม่กี่นาที เพื่อเป็นสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน (Tübingen’s University Hospital) ทางตอนใต้ของประเทศ


สเปกหุ่นยนต์ตู้กับข้าวในเยอรมนี

หุ่นยนต์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นตู้ทรงสี่เหลี่ยมที่มีตู้ส่วนย่อยหลายส่วนเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการประกอบอาหาร ได้แก่ ส่วนเก็บวัตถุดิบ ส่วนทำอาหาร ส่วนตกแต่งอาหาร ส่วนจัดส่งอาหาร และยังเลือกเสริมเครื่องล้างจานและเครื่องกรองอากาศได้ ใช้พื้นที่ติดตั้งสูงสุด 13.6 ตารางเมตร และใช้แขนกลที่ติดตั้งส่วนบนตู้ยื่นลงมาจับอาหารส่งต่อระหว่างแต่ละส่วน


หุ่นยนต์ของ GoodBytz ใช้ระบบไฟฟ้าทั่วไปแบบเดียวกับที่ใช้เสียบกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าปกติ และมีท่อต่อระบบประปาสำหรับล้างวัตถุดิบและประกอบอาหาร รองรับการทำอาหารพร้อมกัน 8 รายการ ทำอาหารต่อเนื่องสูงสุดได้วันละ 3,000 รายการ 


ทั้งนี้ หุ่นยนต์ยังไม่สามารถเตรียมวัตถุดิบได้เอง ดังนั้น ผู้ที่จะนำหุ่นยนต์ GoodBytz ไปติดตั้งจึงต้องจัดเตรียมวัตถุดิบให้พร้อม เช่น การหั่นผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ที่ต้องการ โดยมีตู้เย็นสำหรับใส่วัตถุดิบสูงสุด 72 ชั้น จดจำรายการอาหารได้สูงสุด 120 รายการ ซึ่งสามารถจัดการตั้งแต่แหล่งที่มาวัตถุดิบ ไปจนถึงรายการอาหาร และวิธีการปรุง ได้เองทั้งหมด


หุ่นยนต์จะรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านหน้าจอสัมผัส หุ่นยนต์จะใช้แขนกลดึงวัตถุดิบไปกระกอบอาหารตามสูตรทำอาหารที่เตรียมไว้ล่วงหน้า โดยในสถานีทำอาหารมีส่วนของหม้อและเตาให้ความร้อน รองรับการทำอาหารทั้งรูปแบบต้ม ผัด แกง ทอด เช่น ซุป โจ๊ก ข้าวผัด เมนูเส้นอุด้ง พาสตา (Pasta) แกงกะหรี่ ไข่คน เป็นต้น ซึ่งนับตั้งแต่หยิบวัตถุดิบ จนถึงกระบวนการส่งถึงมือผู้ใช้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น


หุ่นยนต์ช่วยคุมต้นทุนอาหารได้

โดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน ได้นำหุ่นยนต์ GoodBytz ไปติดตั้งจริงแล้ว เพื่อให้บริการแก่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ที่ต่างต้องการอาหารที่ปรุงสดไม่ใช่ของแช่แข็ง และแก้ปัญหาในอดีต ที่พบปัญหาขาดแคลนแรงงานในส่วนครัว รวมถึงมีค่าจ้างสูง โดยเฉพาะในกะการทำงานช่วงกลางดึก ซึ่งนอกเหนือเวลาทำงานปกติสำหรับบุคลากรทั่วไป ยกเว้นในโรงพยาบาลที่ทำงานตลอดเวลา


ทั้งนี้ GoodBytz เคลมว่าหุ่นยนต์สามารถลดต้นทุนการผลิตอาหารสดลงได้สูงสุดถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานเพื่อทำอาหารในอดีตที่ผ่านมา โดยราคาอาหารต่อจานจากหุ่นยนต์ GoodBytz อยู่ที่ระหว่าง 6 - 9 ยูโร (Euro) หรือประมาณ 220 - 330 บาท และเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 



ข้อมูล Public Radio of Armania (Reuters), GoodBytz

ภาพ GoodBytz


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง