รีเซต

ธุรกิจก่อสร้าง-อสังหา เลิกกิจการ พ.ย. พุ่ง เดือนสูญทุนในระบบ 462%

ธุรกิจก่อสร้าง-อสังหา เลิกกิจการ พ.ย. พุ่ง เดือนสูญทุนในระบบ 462%
มติชน
23 ธันวาคม 2564 ( 13:43 )
69
ธุรกิจก่อสร้าง-อสังหา เลิกกิจการ พ.ย. พุ่ง เดือนสูญทุนในระบบ 462%

นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ยอดธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนพฤศจิกายน 2565 มีจำนวน 5,642 ราย เพิ่มขึ้น2% จากเดือนตุลาคม 2564 และเพิ่มขึ้น 26% เทียบเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 16,983.40 ล้านบาท ลดลง 23% จากตุลาคม 2564 แต่เพิ่มขึ้น 9% เทียบเดือนพฤศจิกายน 2563 ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 566 ราย รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 287 ราย และอันดับ 3 คือ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสาร195 ราย แบ่งตามช่วงทุนมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มี 4,081 ราย คิดเป็น 72.34%

 

นางโสรดา กล่าวต่อว่า ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 2,892 ราย เพิ่มขึ้น 46% จากเดือนตุลาคม 2564 และเพิ่มขึ้น 18% เทียบเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่าทุนจดทะเบียน 109,271.11 ล้านบาท ลดลง 47% จากเดือนตุลาคม 2564 แต่เพิ่มขึ้น 462% เทียบเดือนพฤศจิกายน 2563 ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 204 ราย รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 148 ราย และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 77 ราย แบ่งตามช่วงทุนมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 2,060 ราย คิดเป็น 71.23% ทำให้ ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนพฤศจิกายน 2564 มีจำนวน 811,224 ราย มูลค่าทุน 19.23 ล้านล้านบาท

 

นางโสรดา กล่าวต่อว่า การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนพฤศจิกายน 2564 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจ 68 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ24 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 44 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุน 7,002 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น 15 ราย เงินลงทุน 3,516 ล้านบาทรองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 13 ราย เงินลงทุน 497 ล้านบาท และสิงคโปร์ 10 ราย เงินลงทุน 1,183 ล้านบาท

 

สำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือนพฤศจิกายน 2564 ตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกเพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาให้บริการ ซึ่งการบริการ e-Service เป็นการบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดย 11 เดือนแรก2564 มีจำนวนขอรับข้อมูล 2,763,222 ราย ผ่านช่องทาง Self Pick up จำนวน 1,135,573 ราย EMS จำนวน 504,811 ราย , Delivery จำนวน 8,874 ราย และการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (E-จำนวน 1,113,964 ราย และรองรับการให้บริการหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและสมาคมการค้า หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ การขอรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากผ่านทาง www.dbd.go.th แล้ว สามารถขอรับบริการผ่านทาง Application DBD e- Service ได้ทั้งระบบ Android และ iOS

 

สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2564 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ 7,597 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน 171,020 ล้านบาท โดยทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็น 81.71% มูลค่า 139,747 ล้านบาท รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่นเครื่องจักร สินค้าคงคลัง 18.28% มูลค่า 31,262 ล้านบาท กิจการ มีการจดทะเบียน 0.01% มูลค่า 11 ล้านบาท ไม้ยืนต้น คิดเป็น 0.00005% มูลค่า 0.083 ล้านบาท)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง