รีเซต

10 “Economic Shock” จากไวรัส COVID-19 ถล่มห่วงโซ่โลก

10 “Economic Shock” จากไวรัส COVID-19  ถล่มห่วงโซ่โลก
TNN ช่อง16
6 เมษายน 2563 ( 11:12 )
377

วิเคราะห์ ...10 “Economic Shock” จากไวรัส COVID-19  ถล่มห่วงโซ่โลก

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ยกระดับกลายเป็นการระบาดใหญ่ หรือ Pandemic ก็ทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นขยายตัวตามไปด้วย เนื่องจาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้อยู่เพียงแค่ภาคการขนส่ง ภาคการผลิต หรือ ซัพพลายเชน เท่านั้น แต่ได้แทรกซึมไปถึงชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป เนื่องจาก มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ส่งผลทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องตกงาน เนื่องจากธุรกิจต้องปิดตัวลงชั่วคราว หรือถาวร

จึงเป็นที่มาของคำว่า “Economic Shock”  ที่รายการหยิบยกขึ้นมาวันนี้ อาจจะอธิบายได้ฟังและเข้าใจง่ายๆว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโลกครั้งนี้ เกิดปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ (non-economic factors) และปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ (economic factors) โดยตรง 

คำว่าปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ (non-economic factors) มีอะไรบ้าง เช่น

ปรากฏการณ์การโจมตีของผู้ก่อการร้าย ในเดือนพฤศจิกายน 2558 ในกรุงปารีสและการอพยพของผู้ลี้ภัยในยุโรป ได้สร้างความความตึงเครียดทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้คาดว่าจะทำให้มีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 60 ล้านคนทั่วโลกและจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านห่วงโซ่อุปทานของโลก (global supply chain) และการเคลื่อนย้ายหมุนเวียนทั้งสินค้า/บริการ รวมถึงปัจจัยการผลิตของโลก 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ (economic factors)  โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ร่วมกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดความไม่แน่นอนและผันผวนต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าโลก รวมทั้งการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ก็กำลังสร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรเป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งของการเปลียนแปลงสำคัญของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน 

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ประมาณ 2 เดือนกว่า ทั้ง non-economic factors  และ economic factors กล่าวไปว่าเสียหาอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างชัดเจน  และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสถิตโลกใหม่ทั้ง หมด 

วันนี้ (6เม.ย.63)เศรษฐกิจ insight จึงได้รวบรวมผลกระทบทางเศรษฐกิจ “ครั้งใหญ่ๆ” เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้คุณผู้ชมได้มองเห็นภาพรวมของความเสียหายตั้งแต่วันแรกจนมาถึงวันนี้ได้ดีมากขึ้น   และวันนี้รายการหยิบยกมา 10 เหตุการณ์เท่านั้น

เริ่มต้นกันที่ เหตุการณ์ ชาวอเมริกันตกงานมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

 จำนวนผู้ว่างงานในสหรัฐอเมริกา

นี่เป็นข้อมูลของกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ  เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (นับถึงวันที่ 28 มีนาคม) มีชาวอเมริกันมากกว่า 6 ล้าน 6 แสนคนลงทะเบียนขอสวัสดิการว่างงาน ภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ โค่นสถิติเดิม เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ที่มีคนลงทะเบียนว่างงานไป 3 ล้าน 3 แสนคน ซึ่งถือเป็นตัวเลขการว่างงานที่สูงสุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 3,000 เปอร์เซนต์จากช่วงเวลาก่อนที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาด

ตัวเลขการว่างงานครั้งนี้ ถือเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติอย่างมาก ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติการว่างงานสูงสุดก่อนหน้า คือในช่วงเดือนตุลาคมปี 2525 ที่มีคนลงทะเบียนว่างงาน 695,000 คน และในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ หรือ Great Recession ที่มีคนลงทะเบียนว่างงาน 665,000 คนในเดือน มีนาคมปี 2552

ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์จาก Citi วาณิชธนกิจรายใหญ่ระดับโลก มองว่า จำนวนผู้ตกงานในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จนอาจทำให้อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ สูงกว่า 10 เปอร์เซนต์

ข้อมุูลนี้ที่หยิบยกมาเป็นเฉพาะของสหรัฐเท่านั้น เพราะสหรัฐฯ เป็นพี่ใหญ่ของโลกสหรัฐฯ ล้มโลกก็ล้มตามไปด้วย 

เหตุการณ์ต่อไป เกิดขึ้น

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์

เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (30 มีนาคม) โดยสัญญาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ที่ซื้อขายล่วงหน้าในตลาดลอนดอน ทรุดตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 18 ปี ที่ราคาประมาณ 22.58 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ สัญญาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส อินเตอร์มีเดียต ของสหรัฐฯ ดิ่งลงกว่า 5 เปอร์เซนต์ หลุดราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ไปในวันเดียวกัน

โดยการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบครั้งนี้ นักวิเคราะห์ต่างมองว่า มาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่

หนึ่ง - ภาวะความต้องการน้ำมันบริโภคน้ำมันทั่วโลกทรุด เนื่องมาจาก มาตรการจำกัดการเดินทางและมาตรการปิดเมือง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยตามการคาดการณ์ของ โกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจรายใหญ่สัญชาติสหรัฐอเมริกา ประเมินว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกน่าจะลดลงประมาณ 18 ล้าน 7 แสนบาร์เรลต่อวัน ในเดือนเมษายนนี้

สอง – การทำสงครามราคาระหว่างซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ที่เกิดขึ้นหลังจากที่รัสเซียแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปก ที่ต้องการให้ผู้ผลิตน้ำมันลดกำลังการผลิตอีก 1 ล้าน 5 แสนบาร์เรลต่อวันไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยรัสเซียยืนยันจุดยืนเดิมที่ต้องการให้ผู้ผลิตน้ำมันปรับลดกำลังการผลิตตามโควตาเดิมในขณะนี้ คือ 1 ล้าน 7 แสนบาร์เรลต่อวัน ต่อไปจนถึงสิ้นสุดไตรมาส 2 

ดาวน์โจนส์ดิ่งหนักสุดในรอบ 33 ปี

เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ดิ่งเกือบ 3,000 จุด ซึ่งนับเป็นการร่วงลงที่หนักที่สุดในรอบ 33 ปี หรือนับจากเหตุการณ์ “แบล็กมันเดย์” ในปี 2530 หรือร่วงสะสมมากกว่า 30 เปอร์เซนต์ตั้งแต่ต้นปี

โดยการร่วงลงของดาวน์โจนส์ครั้งนี้ เกิดขึ้นตอบรับการประกาศลดดอกเบี้ยฉุกเฉิน ของระบบธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด (Fed) ที่ตัดสินใจลดดอกเบี้ยฉุกเฉินลง 1 เปอร์เซนต์ สู่ระดับ 0 ถึง 0.25 เปอร์เซนต์ พร้อมออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ คิวอี (QE) เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจาก นักลงทุนต่างรู้สึกกังวลกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น

เช่นเดียวกับ เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา  ที่ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ต้องเผชิญกับวันที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ ‘แบล็กมันเดย์’ ในเดือนตุลาคมปี 2530 เช่นกัน โดยดิ่งลงประมาณ 11 เปอร์เซนต์ ก่อนปิดที่ 5,237 จุด และเป็นจุดที่ต่ำสุดนับจากปี 2555

 
 
เกาะติดข่าวที่นี่ 
website: www.TNNThailand.com  
facebook : TNNThailand 
twitter : @TNNThailand 
Line : @TNNThailand 
Youtube Official : TNNThailand

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง