รีเซต

เช็กด่วน! มาตรการ “ช่วยลูกหนี้” ของ 12 ธนาคาร สู้โควิด-19 ระลอกใหม่

เช็กด่วน! มาตรการ “ช่วยลูกหนี้” ของ 12 ธนาคาร  สู้โควิด-19 ระลอกใหม่
TrueID
1 มิถุนายน 2564 ( 12:15 )
9.7K
เช็กด่วน! มาตรการ “ช่วยลูกหนี้” ของ 12 ธนาคาร  สู้โควิด-19 ระลอกใหม่

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศที่ยังมีความรุนแรง  ส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิต และสภาพคล่องทางการเงินอย่างต่อเนื่องจากการระบาดครั้งแรก  ซึ่งจากที่ประชุม ครม. มีมติให้สถาบันการเงินภายใต้กำกับกระทรวงการคลัง 7 แห่ง ขยายมาตรการช่วยเหลือประชาชน เช่น การลดดอกเบี้ย พักหนี้ พักชำระหนี้ รวมไปถึงการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ วันนี้ trueID จึงได้รวบธนาคารทั้งธนาคารรัฐและพาณิชย์ ที่ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าทั้งเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อธุรกิจ SMEs และสินเชื่อต่างๆ ทั้งหมด 12 ธนาคาร ดังนี้

 

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ล่าสุด(29ม.ค.64) ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเกษตรกรรับมือปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยพักชำระหนี้ 6 เดือน – 1 ปี ให้กับเกษตรกร กลุ่มบุคคล กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) องค์กร กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์

 

 

โครงการชำระดีมีคืนสำหรับหนี้เงินกู้จัดชั้นปกติ
สำหรับลูกค้าที่มีเงินกู้ปกติ ไม่มียอดค้างชำระ หากมาชำระหนี้ที่ ธ.ก.ส. จะได้รับเงินคืน ดังนี้
- ลูกค้าเกษตรกรและบุคคล รับเงินคืน 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกิน 5,000 บาทต่อราย
- กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ยกเว้นสหกรณ์นอกภาคการเกษตรและองค์กร) รับเงินคืน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย
- สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 - 31 มี.ค. 64 ในกรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท แล้วเเต่เงื่อนไขใดจะสิ้นสุดก่อน

โครงการลดภาระหนี้ สำหรับหนี้ NPL หรือมีดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 15 เดือน
- ลูกค้าเกษตรกรและบุคคล รับเงินคืน 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง
- กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ยกเว้นสหกรณ์นอกภาคการเกษตรและองค์กร) รับเงินคืน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง
- สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 - 31 มี.ค. 64
ดูรายละเอียด 

 

 

ธนาคารออมสิน

 

"ออมสิน" แจ้งเปิดลงทะเบียนยื่นกู้สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ผ่าน "MyMo" อีกครั้ง เริ่มวันที่ 26 พ.ค. 64 นี้ 4 โมงเย็นเป็นต้นไป


นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากที่ ออมสิน ได้แจ้งปิดระบบกดรับสิทธิ์ขอกู้สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ผ่านแอป MyMo ไว้ชั่วคราว เพื่อดำเนินการอนุมัติคำขอคงค้างซึ่งมีจำนวนมากถึงกว่าแสนรายการ

 

ขณะนี้ธนาคารฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และจะเปิดให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายตามมาตรการ ซึ่งมีจำนวนกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ เข้าระบบลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์การยื่นกู้สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ผ่านแอป MyMo ได้อีกครั้ง วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป


ดูรายละเอียด

 

 

 

ธนาคารกรุงศรี

 

วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 นางกฤติยา ศรีสนิท ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรี ออโต้ ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2563 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน โดยให้การช่วยเหลือลูกค้าทั้งสิ้นกว่า 680,000 ราย

ดูรายละเอียด

 

 

ธนาคารกรุงไทย

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงและขยายวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมาตรการดังกล่าวสำหรับลูกค้าสินเชื่อบุคคลที่มีสถานการณ์ชำระหนี้เป็นปกติ หรือ ไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน ประกอบด้วย

1. สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ Home for Cash สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน (Home Easy Cash) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) พักชำระเงินต้นและชำระดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน

2. สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน

3. สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ 5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้

 

 

นอกจากนี้ ธนาคารได้ออกมาตรการฟื้นฟูธุรกิจ 2 มาตรการ ประมาณการความช่วยเหลือรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ดังนี้

1. มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. นานสูงสุด 10 ปี

โดยเปิดกว้างให้ลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ลูกค้าเดิมที่มีวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ 28 ก.พ. 64 ขอกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินเดิมที่มีอยู่กับธนาคาร สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท ลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ณ 28 ก.พ. 64 ขอกู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท (นับรวมวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินทุกแห่ง)

2. มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันให้สามารถลดภาระทางการเงินชั่วคราว ในช่วงที่รอให้ธุรกิจฟื้นตัว ด้วยวิธีการโอนทรัพย์ชําระหนี้และได้รับสิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต ในราคาต้นทุนรับโอนบวกค่าธรรมเนียม Carrying Cost 1 % และบวกค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง หักค่าเช่าที่ลูกค้าชำระมาแล้ว

ดูรายละเอียด 

 

 

 

ธนาคารยูโอบี


- พักชำระดอกเบี้ยและเงินต้น 3 รอบบัญชี
- พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย 12 รอบบัญชีสามารถติดต่อยื่นคำร้องได้ทางช่องทางของธนาคาร
ดูรายละเอียด

ธนาคารยูโอบี UOB (ปรับให้อัตโนมัติ)

บัตรเครดิต : ปรับลดผ่อนชำระขั้นต่ำเดิม 10%
- ปี 63 เหลือ 5%
- ปี 65 เหลือ 8%
- ปี 66 เหลือ 10%
บัตรกดเงินสด : ปรับลดผ่อนชำระขั้นต่ำเดิม 5%
- ปี 63-65 เหลือ 2.5%
- ปี 66 เหลือ 5%
ลงทะเบียน ปรับโครงสร้างหนี้โดยรวมหนี้ สินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท
ดูรายละเอียด 

 

 

 

 

อิออน ธนสินทรัพย์


มาตรการที่ 1 ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ
- ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 10%) เป็นดังนี้
5% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ถึง 2 ธันวาคม 2564
8% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 มกราคม 2565 ถึง 2 ธันวาคม 2565
10% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

บัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช)
- ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 3%) เป็นดังนี้
1% แต่ไม่น้อยกว่า 300 บาท* ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ถึง 2 มิถุนายน 2564

มาตรการที่ 2 พักหรือลดค่างวด (สินเชื่อทุกประเภท)
- พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนแต่สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป
- และ/หรือ ลดค่างวดสินเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ 30% - 50% เป็น- ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

มาตรการที่ 3 เปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12%
- สามารถขอเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี อัตราชำระคืนขั้นต่ำ 3% ต่อเดือน
ดูรายละเอียด

 

 

 

 

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)


ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเป็นกำลังสำคัญและเป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศ EXIM BANK จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเติมทุนและพักชำระหนี้ โดยตั้งแต่เริ่มวิกฤตโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน EXIM BANK ได้เติมทุนให้แก่ผู้ประกอบการแล้วจำนวนกว่า 2,200 ราย เป็นเม็ดเงินใหม่ที่เติมเข้าระบบเศรษฐกิจรวมกว่า 10,000 ล้านบาท และพักหนี้ให้แก่ผู้ประกอบการรวมแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท


ดูรายละเอียด 

 

 

 

ธนาคารกรุงเทพ


บัตรเครดิต
- ปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้
- รับสิทธิ์อัตโนมัติโดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
- ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563
- ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง
- สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 - 31 ธ.ค. 64

สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
ประเภทสินเชื่อเงินกู้ที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment Loan)
- ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

ประเภทสินเชื่อเงินกู้ที่มีลักษณะหมุนเวียน (Revolving Loan)
- ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้
- เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
- เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน
- หรือเลื่อนชำระเงินต้น (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน
- ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้ (Debt Consolidation)
- เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 สงครามการค้า หรือภัยธรรมชาติ

สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี
- สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เงินกู้เสริมสภาพคล่อง
- มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย
ดูรายละเอียด 

 

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย


มาตรการพักชำระหนี้เงินต้น
- ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2564

มาตรการเติมเงินใหม่ “สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash”
- กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย
- อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปีใน 2 ปีแรก
- ระยะผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
- ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
ดูรายละเอียด 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง