รีเซต

นับถอยหลัง 7 วันโค้งสุดท้ายยื่นภาษี ก่อนสิ้นสุดผ่อนปรน 30 มิ.ย.64

นับถอยหลัง 7 วันโค้งสุดท้ายยื่นภาษี ก่อนสิ้นสุดผ่อนปรน 30 มิ.ย.64
TNN Wealth
23 มิถุนายน 2564 ( 09:38 )
101

ใครยังไม่ยื่นภาษีรีบเลย!! นับถอยหลังอีก 7 วันโค้งสุดท้ายในการยื่นภาษี ก่อนจะสิ้นสุดมาตรากรผ่อนปรนในวันที่ 30 มิ.ย.64นี้

 

โค้งสุดท้ายแล้วของการยืดระยะเวลาให้กับประชาชนในการยื่นแบบรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 63 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในวันที่ 30 มิถนายนที่จะถึงนี้ จากเดิมที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้จะต้องยื่นเสียภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.จนถึงวันที่ 31 มี.ค. ของทุกปี โดยนำเอารายได้ทั้งหมดในปีก่อนหน้ามาคำนวณ และเสียภาษีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งล่าสุดหากนับเวลาถอยหลังของการผ่อนปรนก็เหลือเวลาอยู่อีกเพียง 7 วัน

 

แต่เราสามารถนำค่าใช้จ่าย ไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย ได้แก่

 

1. การลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

 

- ลดหย่อนภาษีส่วนตัว ลดหย่อนได้60,000 บาททันที โดยไม่มีเงื่อนไข

 

- ลดหย่อนภาษีคู่สมรส ลดหย่อนได้60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้

 

- ลดหย่อนภาษีบุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท เฉพาะบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังเรียนอยู่ แต่ในกรณีลูกคนที่ 2 ขึ้นไปและเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท

 

- ลดหย่อนภาษีบิดามารดา ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยใช้สิทธิ์ซ้ำระหว่างพี่น้องไม่ได้

 

- ลดหย่อนภาษีผู้พิการ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุอยู่ในบัตรคนพิการเท่านั้น

 

- ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000บาท โดยครอบคลุมทั้งค่าฝากครรภ์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล

 

 

2. เบี้ยประกันประกอบด้วย

 

- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทโดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

 

- เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้อง ไม่เกิน 100,000 บาท

 

- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ ของคู่สมรส มาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้

 

- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15%ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ย ประกันชีวิต และเมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

 

 


3.กองทุนประกอบด้วย

 

- กองทุนประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,850 บาท (จากเดิมไม่เกิน 9,000 บาท)

 

- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ

 

- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ(กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับ กองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ

 

- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปีแต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

 

- กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษๆ (SSFX) ลดหย่อนได้สูงสุด 200,000บาท (ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30มิถุนายน 2563) โดยไม่ต้องรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ

 

- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 13,200 ต่อปี แต่ไม่เกิน500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ

 

 


4. เงินบริจาคประกอบด้วย

 

- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

 

- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬาพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

 

- เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

 

 


5. มาตรการรัฐประกอบด้วย

 

- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

 

- มาตรการช้อปดีมีคืน สามารถลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 สำหรับการซื้อสินค้าและบริการ ผ่านผู้ประกอบการที่จดทะเบียน ตามจำนวนที่มีการจ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 30,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม-31 ธันวาคม2563 (สินค้าที่ไม่เข้าร่วม ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, ยาสูบ, สลากกินแบ่งรัฐบาล, น้ำมัน, ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบิน)

 

- ลดหย่อนภาษีโครงการบ้านหลังแรกผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกระหว่างวันที่ 13ตุลาคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2559ในราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท ก็ยังใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสูงสุดปีละไม่เกิน 120,000 บาทได้ โดยจะใช้ได้จนถึงปีภาษี 2563 (ขึ้นอยู่กับปีที่ซื้อบ้าน)

 

 


วิธีตรวจสอบสิทธิลดหย่อนก่อน ยื่นภาษี 2564


1. เข้าเว็บไซต์ กรมสรรพากร https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php

 

2. เลือก My Tax Account (บริการตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ทางภาษี)

 

3. คลิกเข้าระบบ กรอกหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านเดียวกับระบบ e-Filing

 

4. เลือกรายการลดหย่อนสำหรับข้อมลที่แสดงบนระบบ MY Tax Account เป็นข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับจากหน่วยงานภายนอก หากพบว่าไม่ถูกต้อง ผู้เสียภาษีสามารถติดต่อไปยังหน่วยงานที่ส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากร

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง